หลังจากองค์การยูเนสโก ประกาศให้ เมืองโบราณศรีเทพ เป็นเมืองมรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย ในฐานะที่เป็น เมืองโบราณที่แสดงให้เห็นถึงการ ก่อตัวขึ้นจากชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักเมื่อ 2,500-1,500 ปีมาแล้ว และแสดงถึงความเป็นเมืองสำคัญในเส้นทางเครือข่ายทางการค้าและวัฒนธรรมสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาในการเลือกสรรชัยภูมิที่ตั้งอันเป็นจุดเชื่อมโยงผสมผสานการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนสินค้าภายในและระหว่างภูมิภาค ที่มีพัฒนามาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมทวารวดี และวัฒนธรรมเขมรโบราณ ซึ่งเปรียบเสมือนประตูเชื่อมต่อระหว่างดินแดนด้านตะวันออกของที่ราบลุ่มภาคกลางกับดินแดนที่ราบสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมืองโบราณศรีเทพเจริญรุ่งเรืองอยู่ราว 700 ปี จึงค่อย ๆ ลดความสำคัญลงไปเมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ในห้วงเวลาเดียวกับการล่มสลายของอาณาจักรเขมร พร้อมกับการเกิดศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองใหม่ขึ้นทางตอนเหนือของลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่สุโขทัย และในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เมืองโบราณศรีเทพลดบทบาทความสำคัญลง จนกระทั่งถูกทิ้งร้างในที่สุด
จาดความโดดเด่น ของเมืองโบราณศรีเทพ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยได้เตรียมการเสนอให้ขึ้นเป็นเมืองมรดกโลกตั้งแต่ พ.ศ.2562 เป็นต้นมา จนได้รับการพิจารณาจากองค์การยูเนสโก ประกาศให้เมืองมรดกโลกแห่งที่7 ของไทยในปี พ.ศ.2566
แต่ก่อนที่จะมีการเสนอชื่อเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลกไทยได้มีการขุดค้น สำรวจเมืองโบราณแห่งนี้มาเป็นเวลานานแล้ว โดยนำเครื่องมือที่ทันสมัย และใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมาช่วยการทำงาน การสำรวจยังดำเนินต่อเนื่องจนถึงปี 2566 โดยมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาสำรวจ
หนึ่งในนั้นก็คือ นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมศึกษาก้อนอิฐโบราณเพื่อผลิตอิฐสูตรโบราณสำหรับการบูรณะโบราณสถานครราชสีมา
ดร.วุฒิไกร บุษยาพร นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนกล่าวว่า เมืองโบราณศรีเทพมีจุดเด่นที่มีความคาบเกี่ยวระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งเมื่อประมาณเดือน มีนาคม 2566 คณะนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันฯ พร้อมด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยศิลปากร และหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กรมศิลปากรได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งขุดสำรวจเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์และได้พบปัญหาในบูรณะโบราณสถานที่เพิ่งขึ้นทะเบียนมรดกโลกนี้
“อิฐโบราณศรีเทพเหมือนอิฐโบราณทั่วไป คือเป็นอิฐดินเผาผสมแกลบแต่ในการบูรณะเราใช้อิฐยุคปัจจุบันไปใช้ ซึ่งพบว่าก่อปัญหาต่อโบราณสถานเนื่องจากมีการใช้ปูนซีเมนต์เป็นยาแนว และปูนซีเมนต์นี้ไปขวางเส้นทางการระบายความร้อนและความชื้นจึงเก็บความชื้นไว้ทำให้วัตถุที่นำไปซ่อมแซมเกิดการผุกร่อนไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลให้อิฐของเก่าในโบราณสถานเสียหายไปด้วยขณะที่อิฐโบราณจะใช้ยาแนวที่มีส่วนผสมของปูนหมักและดินสอพองซึ่งมีสมบัติในการส่งผ่านความร้อนและความชื้นได้ดีแต่เรายังไม่พบสูตรการผลิตอิฐโบราณและยาแนวโบราณของเมืองโบราณศรีเทพ” ดร.วุฒิไกร กล่าว ระบุ
ทั้งนี้ ดร.วุฒิไกร และทีมวิจัยวางแผนในการใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์อิฐโบราณและจะเริ่มศึกษาอิฐของเจดีย์รายที่อยู่ถัดจาก “เขาคลังนอก” โบราณสถานขนาดใหญ่ของเมืองโบราณศรีเทพซึ่งเจดีย์ดังกล่าวมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์รายที่รอบๆ และอยู่ในมีทิศที่ชี้ตรงไปเขาถมอรัตน์ “โดยจะถอดสูตรอิฐโบราณเพื่อผลิตขึ้นใหม่”ให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุดและมีสมบัติในการส่งผ่านความร้อนและความชื้นที่ใกล้เคียงของเดิมหรือดีกว่าเดิมตั้งเป้าใช้ดินเหนียวด่านเกวียนของ จ.นครราชสีมา สำหรับผลิตอิฐสูตรโบราณเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ชุมชนด่านเกวียนด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยติด TOP 8 ประเทศร่ำรวยมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ผลสำเร็จการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทย ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งมั่นยกระดับศักยภาพของคนไทยและทุนทาง
ยูเนสโก ขึ้นทะเบียน แกนกลางปักกิ่ง (Central Axis) เป็นมรดกโลก
ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียนแกนกลางปักกิ่ง (Central Axis) เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ โดยแกนกลางปักกิ่งมีความยาว 7.8 กิโลเมตร
ฉลอง 'ภูพระบาท' เป็นมรดกโลก รัฐบาลเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรี
นายกฯ เชิญชวนทุกคนร่วมแสดงความยินดี และเฉลิมฉลองที่ภูพระบาท จ. อุดรธานีได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ โดยรัฐบาลเปิดให้เข้าชมภูพระบาทฟรี ตั้งแต่วันนี้ 28 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม 2567 พร้อมเดินหน้าผลักดันให้เกิดแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่อย่างต่อเนื่อง
ยก ‘ภูพระบาท’ เป็นมรดกโลก
คนไทยได้เฮ! อีก ยูเนสโกขึ้นทะเบียน "ภูพระบาท" จ.อุดรธานี