ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สังคมรู้จักคำว่า “น่านแซนบ็อกซ์” ซึ่งเป็นโครงการต้องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน ให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งรูปแบบของการจัดการนี้ เป็นในแนวทาง “การบริหารพื้นที่รูปแบบพิเศษ” ซึ่งตัวโครงการขับเคลื่อนโดยธนาคารกสิกรไทย และบัณฑูร ล่้ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของน่าน ไม่ได้ทำเพื่อเชิงอนุรักษ์อย่างเดียว แต่เป้าหมายสำคัญยังอยู่ที่การทำให้คนน่าน โดยเฉพาะผู้เป็นเกษตรกร สามารถยังชีพอยู่ได้อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการระดมทุกศาสตร์ที่จะมาพัฒนาน่าน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวน่านให้ดีขึ้นกว่าเดิม การผลักดันนี้ทำให้เกิดคำว่า”รักษ์ป่าน่าน” ที่ครอบคลุมความหมายการพัฒนาจังหวัดน่านไว้ทุกด้าน
และนับเป็นครั้งแรกที่ มูลนิธิกสิกรไทย องค์การสาธารณกุศล ของธนาคารกสิกรไทย ได้เชื่อมต่อการทำงานของมูลนิธิฯ เข้ากับโครงการน่านแซนด์บ็อกซ์ โดยจับมือร่วมกับวิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติ ร่วมฟื้นฟูตำรายาล้านนาโบราณจากใบลานอายุหลายร้อยปีเพื่อต่อยอดยกระดับสูการวิจัยและพัฒนายาจากพืชในระดับสากล
โดยเมื่อเร็วๆนี้ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการมูลนิธิกสิกร์ไทย และ พระชยานั้นทมุนี รองศาสตราจารย์ คร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิซาการและวิจัย ซึ่งพันธกิจครั้งนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูตำรายาล้านนาโบราณ เพื่อนำไปต่อยอดยกระดับสูการวิจัยและพัฒนายาจากพืชในระดับสากล ทั้งนี้ นอกจากประโยชน์ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาล้านนาโบราณอันมีค่ายิ่งแล้วยังเป็นประโยชน์ในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าพืชยาในจังหวัดน่านอีกด้วย โดยหลังจากที่จะได้มีการรวบรวม คัดสรรและปริวรรตตำราพืชยาที่ถูกบันทึกผ่านการจารีกลงในใบลาน เป็นภาษาล้านนาโบราณและเก็บรักษาไว้ในวัดอันเป็นศูนย์กลางการศึกษา และวิทยาการในสมัยก่อนให้เป็นภาษากลาง ที่มีการตรวจสอบยื่นยันความถูกต้องทางวิชาการเรียบร้อยแล้ว ทางโครงการจะมีการคัดเลือกตำรับพืชยาล้านนา ที่มีศักยภาพไปวิจัยและพัฒนาต่อยอดด้วยการประยุกต์ใข้องค์ความรู้ทางแพทย์และเภสัชกรรมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและยอมรับตามมาตรฐานการพัฒนายาจากพืชในระดับสากล
ความร่วมมือครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการน่านแซนด์บอกซ์ในการยกระดับคุณค่าและมูลค่าของพืชยาใต้ป่าน่านเพื่อสร้างรายได้ให้ชาวบ้านจ้งหวัดน่านควบคู่ไปกับการฟื้นคืนป่าตันน้ำน่าน อันเป็นทรัพยากรที่มีค่า เป็นป่าตันน้ำอันตับ 1ของประเทศ
ในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาที่เป็นพืชของป่าน่าน ทำให้ในเวลาต่อมา มูลนิธิกสิกรไทย ได้จับมือมหาวิทยาลัยขอนแก่นพัฒนายาจากพืช โดยนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการมูลนิธิกสิกรไทย ได้เซ็นเอ็มโอยู กับรองศาสตราจารย์นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยเพื่อการคืนป่าตันน้ำจังหวัดน่าน โดยมุ่งเน้นการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมยาและผลิตภัณฑ์สงเสริมสุขภาพจากพืชยาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและความปลอดภัย ด้วยการผนึกกำลังจากคณะแพทยศาสตร์คณะเภสัชศาสตร์สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะมนุษย์และการเสริมสร้างสุขภาพ และสถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในห่วงโซการพัฒนายาจากพืชเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและการยอมรับตามมาตรฐานการพัฒนายาจากพืชยา ในระดับสากลความร่วมมือนี้เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการน่านแซนด์บอกซ์เป็นการยกระดับคุณค่าและมูลค่าของพืชยาใต้ป่าน่าน เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรควบคู่ไปกับการฟื้นคืนป่าตันน้ำน่าน อันเป็นทรัพยากรที่มีค่าเป็นป่าตันน้ำอันดับ 1 ของประเทศ
ก่อนหน้านี้ เพจ “เรียนรู้รักษ์ป่าน่าน”ยังได้โพสต์ข้อความ ชวนรู้จัก “หญ้ายา” สมุนไพรใต้พื้นป่าที่มาจากน่านโดยตรงโดยแจกแจง“หญ้ายา” (Yaya) ‘ หมายถึงอะไร ว่า “หญ้ายา ” ไม่ใช่ชื่อเฉพาะเจาะจงของพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง’ แต่เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของ ‘พืชที่มีสรรพคุณทางยา’ หลากหลายชนิด ดังนั้น หญ้ายา อาจเป็นต้นหญ้า เป็นไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม ไม้เถา หรือไม้ยืนต้นก็ได้ ซึ่งสรรพคุณทางยาก็จะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช เช่น รางจืด มีสรรพคุณลดไข้ ขมิ้นชันใช้แก้ปวด ดังนั้น หญ้ายา จึงอาจไม่ได้มีสรรพคุณตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่นำมาสกัดนั่นเอง
.
หญ้ายา จึงเป็นการต่อยอดจากภูมิปัญญาโบราณ ของชาวน่านในการใช้พืชรักษาโรคที่มีมายาวนานกว่า 700 ปี และเกิดจากการลองผิดลองถูกของบรรพบุรุษชาวน่าน ตลอดจนการจดบันทึกความสามารถในการรักษาโรคของพืชพรรณต่าง ๆ ด้วยความที่น่านมีป่าเขาลำเนาไพรอุดมสมบูรณ์ ชาวน่านจึงมีวิถีชีวิตที่ผูกพันธุ์กับพืชนานาชนิดมาตั้งแต่อดีต จากการลองถูกลองผิดจนค้นพบสรรพคุณที่แตกต่าง จนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่มีการศึกษาพัฒนาเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ศึกษาชนิดของพืช ชนิดของยา วิธีการปลูก และทำการวิจัยจนสามารถสกัดตัวยาจากหญ้ายาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรืออาจจะมากกว่ายาที่เกิดจากการสังเคราะห์สารเคมีเลยทีเดียว
.
นอกจากนี้ ในความเป็นหญ้ายา ก็ไม่ใช่ว่าจะเหมารวมว่าต้นอะไรก็เป็นหญ้ายาได้ เพราะพืชที่จะเป็นหญ้ายาจำเป็นต้องตรงตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ คือ เติบโตด้วยดินดี มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยน้ำดี ใสสะอาด ของจังหวัดน่านเท่านั้น เป็นการต่อยอดจากตำรับยาโบราณ มีการใช้เภสัชนวัตกรรมในการผลิต และที่สำคัญมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ
.
อีกด้านหนึ่งคำว่า “หญ้ายา” ยังมีที่มาจากคำว่า ‘เย่าเฉา’ (藥草 — Yàocǎo) ในภาษาจีน ที่แปลว่าหญ้าที่มีฤทธิ์ทางยา ซึ่งไม่เหมือนกับสมุนไพรไทย อาจเป็นได้ทั้ง พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เรานำมาบริโภคแล้วรักษาโรคได้ เป็นองค์ความรู้ที่สืบทอดกันมายาวนาน ส่วน “หญ้ายา” ของน่านเป็นการนำองค์ความรู้เรื่องพืชสมุนไพรเหล่านั้นมาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อศึกษา เพาะพันธุ์และสกัดตัวยาที่ออกฤทธิ์มาทำเป็นยาแผนปัจจุบันที่มีคุณภาพสูง
อาจกล่าวได้ว่า “หญ้ายา” ถือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาล้ำค่าของชาวไทย ที่ถูกนำมาต่อยอดไม่ให้เลือนหายด้วยโครงการ “น่านแซนด์บ็อกซ์” (Nan Sandbox) โดยการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารกสิกรไทย ซึ่งขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่กำลังพัฒนาภูมิปัญญาเหล่านี้ให้ก้าวไกลในระดับประเทศและระดับสากล เพื่อเพิ่มมูลค่าให้พืชพรรณของไทย และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยทุกคน
.
แม้ในตอนนี้ผลิตภัณฑ์จาก “หญ้ายา” จะอยู่ในช่วงทดลอง แต่หลังจากนี้เราก็น่าจะได้ยินชื่อของยาแผนปัจจุบันที่มาจาก “หญ้ายา” มากขึ้น และถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์รวมถึงส่งออกสู่ตลาดโลกอย่างแน่นอน ส่วนจะมียาชนิดไหนบ้าง ก็รอติดตามกันต่อไป
สำหรับ มูลนิธิกสิกรไทย ก่อนหน้านี้ ได้ดำเนินงานช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เด็ก สตรี คนพิการ และผู้สูงอายุ ในสังคมไทย ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลในชนบทและชุมชนเมือง ด้านการสาธารณสุข การศึกษา และคุณภาพชีวิต 8 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการ “อาหารกลางวัน” 2. โครงการ “ห้องสมุดธนาคารความรู้”3. โครงการ “รถนักเรียนไทย”4. โครงการ “แคมป์รักเด็กไทย”5. โครงการ “เมตตาธรรม”6. โครงการ “ตรวจสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน”7. โครงการ “ข้าวไทยเพื่อคนไทย”8. โครงการ “น้ำดื่มสะอาดเพื่อเด็กไทย”
ส่วนโครงการพัฒนายาจากตำรับโบราณของน่าน ถือว่าเป็นครั้งแรกของมูลนิธิฯในการสนับสนุนนพัฒนาวัตกรรมด้านยาของประเทศ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เศรษฐา' เยี่ยมให้กำลังใจผู้บำบัดยาเสพติด จ.น่าน
'เศรษฐา' เยี่ยมผู้บำบัดยาเสพติด จ.น่าน ให้กำลังใจสู้ บอกอาจลำบากหน่อย แต่ดีกว่าติดยา
สสส. สานพลังเทศบาลเมืองน่าน UDC ม.แม้โจ้ หนุน 'จ.น่าน' เป็นจังหวัดแรก ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้นโยบาย 'เมืองสุขภาพดี' หรือ blue zone ของกระทรวงสาธารณสุข ชู 'ชุมชนน้ำล้อม เทศบาลเมืองน่าน' ต้นแบบเมืองที่เป็นมิตรเพื่อผู้สูงอายุและทุกคน จัดทีมช่างชุมชนออกแบบ ปรับปรุงบ้านคนสูงอายุ คนพิการ ที่อยู่เพียงลำพัง
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ และผศ.ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (UDC) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบและปรับปรุงบ้านพักของผู้สูงอายุตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน ในพื้นที่ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุและทุกคน
นายกฯ จ่อลงพื้นที่ตรวจราชการจ.น่าน ติดตามการเจรจาแก้หนี้นอกระบบ 23 ธ.ค. นี้
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตรียมลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดน่าน
พลิกโฉมพิพิธภัณฑ์น่าน เพิ่มความทันสมัย
ล่าสุด กรมศิลปากรชวนไปยลโฉมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เพื่อชมห้องจัดแสดงนิทรรศการโฉมใหม่ หลังดำเนินโครงการปรับปรุงการจัดแสดงและพื้นที่ภายในอาคาร เพื่อพัฒนาให้มีความทันสมัยรองรับการใช้บริการ และส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ