2 ต.ค.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า Zhang V และคณะ จาก Albert Einstein College of Medicine and Montefiore Medical Center ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ด้านโรคความดันโลหิตสูง เมื่อสิงหาคม 2023 โดยทำการศึกษากลุ่มที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 45,398 คน (ตั้งแต่มีนาคม 2020 ถึงสิงหาคม 2022) และกลุ่มที่เป็นไข้หวัดใหญ่จำนวน 13,864 คน (ตั้งแต่มกราคม 2018 ถึงสิงหาคม 2022) โดยทั้งสองกลุ่มประชากรนั้นไม่เคยมีประวัติโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน
จากการติดตามผลหลังจากติดเชื้อไป 6 เดือน พบว่า กลุ่มที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่ป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น มีถึง 20.6% ที่พบว่าเกิดโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มที่ติดเชื้อแต่ไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล พบว่าเป็นความดันโลหิตสูงราว 11%
หากเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่แล้ว พบว่า กลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 จนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้นจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงมากกว่าถึง 2.23 เท่า และกลุ่มติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มที่เป็นไข้หวัดใหญ่ถึง 1.52 เท่า ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ การติดเชื้อแต่ละครั้งย่อมมีความเสี่ยงที่จะป่วย ป่วยรุนแรง เสียชีวิต และเสี่ยงต่อภาวะ Long COVID หรือโรคเรื้อรัง ทั้งเบาหวาน ความดันสูง ตามมา
ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุดการใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างออกไปใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ก็ควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ การคัดกรองเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ก็เป็นเรื่องที่ควรทำ Transition period เช่นนี้ ยาวนานเป็นปีๆ อาศัยหลักวิชาการที่ถูกต้องเป็นเข็มทิศในการใช้ชีวิต ขันติ มีสติ ไม่ประมาท รู้เท่าทันสถานการณ์ ใส่ใจสุขภาพ คือคาถาปกป้องให้เรามีสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต
อ้างอิง Incidence of New-Onset Hypertension Post–COVID-19: Comparison With Influenza. Hypertension. 21 August 2023.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก