เสริมแกร่ง’พระวิทยากร’ เผยแผ่ธรรมะยุคใหม่

พระธรรมวิทยากรมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเผยแผ่พัฒนาจิตใจประชาชนด้วยหลักธรรมคำสอนที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เพื่อน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นำสู่ความไม่ประมาทและพบความสุข หากพระธรรมวิทยากรทำหน้าที่มีประสิทธิภาพ จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับพระพุทธศาสนา และเป็นที่พึ่งของประชาชน

กรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสถาบันส่งเสริมและเผยแพร่การพระศาสนาแห่งประเทศไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะพระธรรมวิทยากรในการเผยแผ่ธรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีพระธรรมวิทยากรจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 161 รูป เข้าร่วมอบรม  ครั้งที่ 1   ระหว่างวันที่ 19 – 21 ก.ย. 2566 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 22 – 24 ก.ย.  ณ วัดบรมสถล เขตสาทร กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์ เดินหน้าพัฒนาสมรรถนะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์

นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า  พระธรรมวิทยากร เป็นกลุ่มพระสงฆ์ที่มีบทบาทและพลังสำคัญต่อการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นกลไกขับเคลื่อนเครือข่ายขยายผลความดี บ่มเพาะเสริมสร้างคุณธรรมให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน ให้เกิดคนดี สังคมดี โดยพระธรรมวิทยากรของกรมการศาสนา เป็นผู้เผยแผ่หลักธรรมในกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โครงการพลังบวรในมิติศาสนา และกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น

สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งสองครั้งมีการถวายความรู้และเสริมสร้างทักษะและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำองค์ความรู้ไปขยายผลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งเปิดโอกาสให้พระธรรมวิทยากรได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยจัดทำหลักสูตรการอบรมถวายความรู้และทักษะด้านต่างๆ ให้แด่พระธรรมวิทยากร อาทิ “พุทธธรรม soft power” “เทคนิคการถ่ายภาพและการสร้าง content ในการเผยแผ่” “นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” “จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น” “การสื่อสารสร้างแรงดึงดูดใจเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” เป็นต้น

นายชัยพล กล่าวต่อว่า พระธรรมวิทยากรจากทั่วประเทศสามารถนำความรู้ไปปรับใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และประชาชน ให้มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถประยุกต์วิธีการได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การนำธรรมะเข้าสู่สถานศึกษาด้วยเครือข่ายธรรมะอารมณ์ดี ที่ทำให้การฟังธรรมะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ชวนให้ติดตาม ตลอดจนการใช้สื่อโซเชียลคอนเทนท์ธรรมะสร้างสรรค์ที่ย่อยง่าย สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่ได้อย่างทั่วถึง เกิดการซึมซับด้วยตนเอง และนำไปสู่การนำธรรมะมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

“ การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ยังเป็นเวทีสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เสริมสร้างเครือข่ายพระธรรมวิทยากรของกรมการศาสนา เพื่อดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โครงการพลังบวรในมิติศาสนา กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน โดยกรมได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็นสื่อกลางในการปลูกฝังให้เยาวชนมีความรู้คู่คุณธรรม และมีคุณลักษณะที่ดี อีกทั้งมุ่งมั่นขยายโอกาสธรรมศึกษาให้เยาวชนได้เรียนรู้และปฏิบัติสู่ความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงทางสังคม”นายชัยพล กล่าว

ทั้งนี้ พระธรรมวิทยากรที่ผ่านการอบรมถวายความรู้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ได้รับวุฒิบัตรจากสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและพร้อมเป็นพระธรรมวิทยากรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมเด็จพระมหาธีราจารย์' สั่งการด่วน! ให้ 'เจ้าคุณเสียดายแดด' ช่วยน้ำท่วมหนองคาย

พระปัญญาวชิรโมลี (นพพร ธีรปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม หรือ โรงเรียนเสียดายแดด

เปิดประเพณี'กวนอาซูรอ'ชายแดนใต้

ทุกศาสนาของโลก พุทธ คริสต์ อิสลาม สืบทอดมายาวนานจนทุกวันนี้ เพราะเปิดทางให้ผู้ศรัทธาและผู้สนใจศึกษาได้เรียนรู้และนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ศาสนาอิสลามในคัมภีร์อัลกุลอารหลักคำสอนให้คำนึงถึงการแบ่งปัน โดยมีการส่งต่อวัฒนธรรมทางศาสนา

เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ

หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก

เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลพระพันปีหลวง

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล และจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยทำความสะอาดบริเวณลานวัด อุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ และปลูกต้นไม้ผลและไม้ประ

สร้าง'ศาสนทายาท' สานพระราชปณิธานในหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทรงสนพระทัยศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงสั่งสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระไตรปิฎก ทรงมีพระราชประสงค์ส่งเสริมการเรียนการสอนพระบาลีเพื่อให้เข้าถึงพระไตรปิฎก

ศน.จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ 3 ภาษา ถวายพระราชกุศล

26 ก.ค.2567 - เวลา 10.00 น. ที่มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย จ.นครปฐม พระธรรมวชิราจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร