จากสถิติเมื่อเดือนมกราคม ปี 2566 ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบมากขึ้นเป็น 92% ในขณะที่การผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศลดลงเหลือ 8% ส่งผลให้ราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศผันผวนตามราคาตลาดโลก และเกษตรกรภายในประเทศไทยประสบปัญหาเชื้อเพลิงที่ใช้ทำการเกษตรมีราคาแพง ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นตามไปด้วย
ประเด็นปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจนกระทบเศรษฐกิจทั่วโลกดังกล่าว ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ออกแบบ “O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล “และเป็นผลงานที่ชนะเลิศ การประกวดรางวัล James Dyson Award ประจำปี 2566 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายการประกวด เพื่อให้คนรุ่นใหม่ ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องเป็นวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ
สำหรับ เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันไบโอดีเซลภายใต้ชื่อ O-GA จะเป็นโซลูชันที่นำเสนอเชื้อเพลิงในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ให้แก่ชุมชนที่ห่างไกลในประเทศไทย การทำงานของ O-GA (โอก้า) ซึ่งเป็นเครื่องจักรแบบ All-In-One ที่ทำหน้าที่เพาะเลี้ยงสาหร่าย สกัดสาหร่ายเป็นน้ำมันไบโอดีเซล และเป็นเครื่องจ่ายน้ำมันแก่ผู้ใช้ ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการนำหัวเชื้อสาหร่ายไปเพาะเลี้ยงในหลอดเลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อสาหร่ายเติบโตและเพิ่มปริมาณจนมีจำนวนมากเพียงพอแล้วสาหร่ายจะถูกนำไปเข้าสู่ระบบการสกัด และกระบวนการทางเคมี เพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล หลังจากนั้นน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้จะถูกเก็บในถังเก็บและแจกจ่ายแก่ผู้ใช้ผ่านหัวจ่ายต่อไป
ทีมออกแบบ O-GA ประกอบด้วยสมาชิก 4 คน ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย คือ ต้องการนำความรู้ด้านการออกแบบมาช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรชาวไทยให้สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงในราคาที่สามารถจับต้องได้ เป็นการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมภายในประเทศอย่างยั่งยืน
สรวิศ อุปฌาย์ หนึ่งในสมาชิกทีมผู้ออกแบบ O-GA กล่าวว่า พวกเราดีใจมากที่ผลงานในห้องเรียนของทีมได้รับรางวัลชนะเลิศ และสามารถนำเสนอในระดับนานาชาติได้ ทำให้เห็นว่าคนไทยก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ไม่แพ้ใคร
ทีมผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ James Dyson Award ระดับชาติจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 220,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาผลงานต่อไป สรวิศ กล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการพัฒนาผลงานด้วยว่า จะนำรางวัลที่ได้ไปต่อยอดผลงาน โดยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมและชีววิทยา เพื่อพัฒนาให้ O-GA เป็นทางเลือกพลังงานใหม่สำหรับเกษตรกรไทยที่สามารถใช้ได้จริง
โดยหลังจากได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับประเทศแล้ว O-GA จะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัล James Dyson Award ในระดับนานาชาติซึ่งจะประกาศผู้เข้ารอบภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2566 นี้
ส่วนรางวัลรางวัลรองชนะเลิศ James Dyson Award ประเทศไทย Radiostent ผลงานออกแบบของ นรินทร์เดช เจริญสมบัติ และธนบูรณ์ นินารถสาวพันธุ์ สองนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัย โตเกียว แต่ส่งผลงานในนามประเทศไทย ที่มาของผลงาน มองว่า การรักษาเนื้องอกในสมองเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล ผนวกกับการที่โรงพยาบาลในประเทศไทยยังขาดแคลนอุปกรณ์การรักษาโรคเนื้องอกในสมองอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมองที่รับการรักษาด้วยวิธีการเคมีบำบัดต้องเดินทางเข้ามาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครเพื่อรับการรักษา ส่งผลให้นวัตกรรมที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้นจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในวงการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
Radiostent เป็นโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมที่ผสานรวมการรักษาเนื้องอกด้วยการฝังแร่กัมมันตรังสีแบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีการใส่ขดลวดในเส้นเลือด ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือกที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ นอกจากนั้นการฝังตัว Radiostent ในบริเวณเนื้องอกทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามารับการรักษาเคมีบำบัดบ่อยครั้ง อีกทั้งการรักษาเนื้องอกด้วย Radiostent จะเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาแบบเคมีบำบัดอีกด้วย
ที่ผ่านมาการประกวด James Dyson Award ที่สนับสนุนให้วิศวกรใช้ความรู้ในการค้นหาหนทางที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของชาวโลกให้ดีขึ้นผ่านเทคโนโลยี ในคอนเซปต์ที่แปลกใหม่ และได้สนับสนุนเงินรางวัลแก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 โครงการ
ผู้สนใจเข้าร่วมประกวดโครงการJames Dyson Award สามารถยื่นใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขันผ่านทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของรางวัล James Dyson
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลงถนน!? I ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567
แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร
25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ
ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night at The Museum
กลับมาอีกครั้งสำหรับบิ๊กอีเว้นท์ของคนรักพิพิธภัณฑ์ เมื่อกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน
เปิดตัว CryBunny กับ CryTeddy ใจกลางกรุง
เหล่านักสะสมและสาวกอาร์ตทอยห้ามพลาด Molly Factory Studio ร่วมกับ สยามพารากอน และสยามเซ็นเตอร์ สร้างปรากฏการณ์เหนือความคาดหมาย ตอกย้ำการเป็นโกลบอลเดสติเนชั่นที่ครองใจลูกค้าเป็น #1 Top of Mind จับมือเนรมิตพื้นที่แห่งความสบายใจ
ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2
เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์