สิ้น'นายหนังเคล้าน้อย' ศิลปินแห่งชาติ

สิ้น’นายหนังเคล้าน้อย’ ศิลปินแห่งชาติ เสาหลักวงการศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้

25 ก.ย.2566 – นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า วงการศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้สุดเศร้า เมื่อได้รับแจ้งว่า นายเคล้า โรจนเมธากุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง) พุทธศักราช 2555 ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2566 สิริอายุรวม 81 ปี ซึ่งทางญาติได้แจ้งว่าจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันที่ 25 กันยายน 2566 ประชาชนทั่วไปรดน้ำศพ เวลา 14.00-16.00 น. พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เวลา 16.00 น. และในเวลา 19.30 น. เป็นพิธีสวดอภิธรรมศพ ณ แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านปักษ์ใต้ บ้านคลองเสียด หมู่ 6 ตำบลปกาศัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และพิธีเก็บศพไว้ กำหนดสวดอภิธรรมศพอีกครั้ง ในวันที่ 6-8 ตุลาคม 2566 ๖ และพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566

อธิบดี สวธ. เปิดเผยอีกว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ ตลอดจนเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน แล้ว ในยามที่ศิลปินฯ เสียชีวิต สวธ. และคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม ยังให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการฌาปนกิจศพ คือ มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท ค่าเครื่องเคารพศพ 3,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท อีกด้วย

ประวัติโดยสังเขป นายเคล้า โรจนเมธากุล หรือ หนังเคล้าน้อย เกิดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2485 ณ ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาชื่อ ‘สีชุม’ มารดาชื่อ ‘เทียน’ มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาจากการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ สมรสกับนางฉลวย หรือ “โนราฉลวย” ศิลปินโนราแห่งจังหวัดกระบี่ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เลขที่ 66 หมู่ที่ 6 ตำปกาสัย อำเภอแเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีบุตรและธิดารวมกัน 3 คน ท่านได้รับการฝึกฝนหนังตลุงจากหนังสีชุมผู้เป็นบิดา และหนังใหม่หรือปู่ใหม่เป็นครูหนังฝึกสอนให้เข้าใจการแสดงหนัง รวมทั้งติดตามหนังสีชุมเดินทางไปแสดงหนังในท้องถิ่นต่าง ๆ บางครั้งแสดงหนังแทนบิดา ได้ฝึกฝนกับนายหนังคณะต่าง ๆ เช่นหนังจันทร์แก้ว หนังประทินและหนังแคล้ว เมื่อมีประสบการณ์มากพอจึงประกอบพิธีครอบมือกับหนังจันทร์แก้ว บัวขวัญ

จากนั้นก็ได้เล่นหนังตะลุงให้ครบสามวัด สามบ้านตามธรรมเนียมของหนังตะลุงใหญ่ หนังเคล้าน้อย เริ่มการแสดงเป็นอาชีพ เมื่อปี พ.ศ. 2502 และมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในช่วงปี 2507 -2521 มีขันหมากว่าจ้างงานการแสดง เดือนละ 20 – 30 คืน หนังเคล้าน้อย มีความเป็นเลิศในการขับบทกลอนสดโดยไม่มีการร่างบทกลอนและเจรจารูปหนัง และเป็นยอดในการเชิดรูปหนัง เคยชนะในการแข่งขันเชิดรูปพระอิศวรทรงโค ของกรมประชาสัมพันธ์ เสน่ห์ของหนังเคล้าน้อย คือการนำเสนอนิยาย ที่สร้างความเพลิดเพลิน มีคติธรรมสอนใจ โดยเฉพาะเรื่องจักรๆวงศ์ๆ กว่า 40 เรื่อง

นอกจากนี้ ยังมีตัวตลกประจำโรง คือ สีแก้ว และยอดทอง ที่เป็นที่ชื่นชอบและเป็นสัญลักษณ์ของหนังเคล้าน้อย ด้วยความสามารถในการแสดงหนังตะลุง จึงได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนังตะลุงชั้นครู มีผู้มาสมัครเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก ผลงานของนายหนังเคล้าน้อย เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ ทำให้ได้รับพระราชทานโล่ เข็มประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง) พุทธศักราช 2555 โดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นเกียรติประวัติแก่ตนเอง ครอบครัวและวงการศิลปะการแสดงของภาคใต้ 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. ปุ๋ง ชวนเที่ยวงาน‘อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา’ ครั้งแรกเปิดตัวโลโก้-เพลง Thailand Best Local Food

2 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

สวธ.จัดมหกรรมขับร้องประสานเสียงเฉลิมพระเกียรติ ‘ร่มพระบารมี’ อย่างยิ่งใหญ่ 17-19 ก.ค.นี้

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม จัดงานคอนเสิร์ต Thailand Choral Festival 2567 มหกรรมขับร้องประสานเสียงเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา "ร่มพระบารมี"

รมว.ปุ๋ง ลุย Soft Power ผลักดันอุตสาหกรรมเกมไทยสู่สากล ชวนคอสเพลย์แสดงพลัง CAF2024

18 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกมให้เป็น Soft Power ที่สามารถสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย

'ครูสลา - โอม ค็อกเทล - แม็ก เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ

ครูสลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) พร้อมด้วย โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล (Cocktail) และ แม็ก-ธิติวัฒน์ รองทอง นักร้องนำและมือเบสวง เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์ (The Darkest Romance) ได้รับรางวัล "เพชรในเพลง" ประจำปี 2567

สวธ.เทิดพระเกียรติ ‘พระพันปีหลวง’ ต่อยอดผ้าไทยในงาน EM DISTRICT SENSE OF THAI เผยแพร่พระอัจฉริยภาพเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

วันที่ 16 ก.ค.2567 นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) สนับสนุนการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ EM DISTRICT