20 ก.ย.2566 - นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก มรดกโลกอยุธยา 2 : มีเนื้อหาดังนี้
ความเข้าใจผิดพลาดในโลกโซเชียล มั่วๆ
เรื่องสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรณีมรดกโลกอยุธยาแล้วไปหยิบยกเอามรดกโลก 4 แห่งที่ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวอาคารสถาน มาเปรียบเทียบกับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นมรดกโลกประเภท “เมืองประวัติศาสตร์และบริวาร” มันผิดฝาผิดตัวกัน
เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด เตลิดเปิดเปิงไปกันใหญ่เพราะมีผู้แชร์ข้อความไปจำนวนมาก ยากจะแก้ไขได้ กล่าวคือ
1. ปราสาทฮิเมจิในเมืองฮิเมจิ อายุ กว่า 600 ปี (มรดกโลก) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟฟ้าชิงกันเซ็น สถานีฮิเมจิ เพียง 1,200 เมตร
2. วัดฮิกาชิ ฮงกันจิ อายุกว่า 400 ปี (มรดกโลก) ในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟฟ้าชิงกันเซ็น สถานีเกียวโต เพียง 600 เมตร
3. โคลอสเซียม อายุกว่า 1,900 ปี (มรดกโลก) ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ซึ่งห่างจากสถานี รถไฟความเร็วสูง Roma Termini เพียง 1,230 เมตร
4. พระราชวังแวร์ซาย อายุกว่า 400 ปี (มรดกโลก) ในเมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟ RER สถานี Versailles Château Rive Gauche เพียง 1,300 เมตร
สถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารเฉพาะทั้ง 4 แห่งนี้มันคนละอย่าง คนละประเภทกับอยุธยา จึงเปรียบเทียบไม่ได้ ทั้งขนาดและความสำคัญ
อาคารเหล่านี้แต่เดิมอยู่ในเมือง ในชุมชน
แต่มรดกโลกอยุธยามันคือเมืองระดับมหานคร/ราชธานี
ดังนั้นในทะเบียนมรดกโลกจึงเขียนว่า “Ayutthaya Historic city” ขอบเขตของมรดกโลกแห่งนี้จึงมีพิกัดดาวเทียมเป็นละติจูดและลองจิจูด
การบริหารจัดการมรดกโลกจึงแบ่งออกเป็น 3 โซน
1.โซนสำคัญสูงสุด คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เนื้อที่จากเดิม 1810 ไร่ และขยายเพิ่มเป็น 3000 ไร่ คงเหลืออีก 1000 ไร่ เป็นสถานที่ราชการ ตลาดเช่า และหน่วยงานราชการอื่นๆ
2. โซนกันชน คือส่วนที่ห่อหุ้มโซนที่ 1 ซึ่งน่าจะหมายถึงนอกเกาะเมืองหรือไกลกว่านั้น เพราะวัดสำคัญนอกเกาะเมืองอยุธยามีฐานะเป็นมรดกโลกสำคัญ เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ วัดพนัญเชิง เป็นต้น รวมถึงเขตที่เรียกว่า”อโยธยา” และสถานีรถไฟอยุธยา
3. โซนบริหารจัดการ มีขอบเขต ขนาดกว้างใหญ่ตามตำแหน่งดาวเทียมที่ระบุเป็นพิกัด ห่อหุ้ม 2 โซนข้างต้น
ดังนั้นการยกตัวอย่างมรดกโลกที่ประกาศเฉพาะตัวอาคารมาใช้กับมรดกโลกอยุธยาที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์และบริวารจึงเป็นเรื่องที่ผู้เขียนไม่มีความรู้เรื่องมรดกโลกดีพอ ดังนั้นจะหาความรับผิดชอบได้อย่างไร จริงไหม
สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงจึงมีผลกระทบและผ่ากลางมรดกโลกอยุธยา เพียงแต่ยูเนสโก ถ้าจะเตือนคงต้องใช้มาตรการตามอนุสัญญาฯด้วยการแขวนให้อยุธยาเป็นมรดกโลกอันตราย
เหนื่อยครับ !
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวบาบ๋าอันดามันเตรียมฉลอง 'เคบายา' ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ในเวทีประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จะมีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ณ นครอซุนซิออน ประเทศปารากวัย หรือตรงวันที่ 4 ธ.ค.นี้ ของไทย
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้วธ.จัดฉลองยิ่งใหญ่ 6-8 ธ.ค.ที่เอ็มควอเทียร์
4 ธ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The nineteenth session of the Intergovernmental Committee for the
'เทพมนตรี' ชำแหละ ตั้ง JTC แนวเดียวยุคทักษิณ ไทยยอมรับแผนที่แนบท้าย MOU44 หายนะ!
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ JTC จาก MOU44 มีเนื้อหาดังนี้
ไทยติด TOP 8 ประเทศร่ำรวยมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ผลสำเร็จการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทย ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งมั่นยกระดับศักยภาพของคนไทยและทุนทาง