มอบรางวัลผู้ชนะเลิศเวทีประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2023) ภายใต้โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเป็นที่เรียบร้อย ปีนี้มีนิสิตนักศึกษา ผู้ประกอบการ และนักออกแบบสิ่งทอสนใจส่งผลงานเข้าชิงชัยมากถึง 63 ผลงาน มีผู้คว้ารางวัล 24 ผลงาน โดย วราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานมอบรางวัลฯ
วราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. กล่าวว่า กิจกรรมการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา Cultural Textile Awards 2023 จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอไทย และนักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่ โดยนำแนวคิดจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ 3 (Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023) มาเป็นหัวข้อประกวดให้ผู้เข้าประกวดสามารถพัฒนารูปแบบการสร้างสรรค์ลายผ้าไทยให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาผ้าไทยสู่ความยั่งยืน เน้นให้สามารถนำองค์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้จริง สร้างรายได้ให้เกิดแก่ชุมชนกลุ่มที่ทอผ้า และผู้ประกอบการด้านผ้าไทย รวมถึงเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจสร้างงานสร้างอาชีพของนิสิต นักศึกษา ประชาชนที่สนใจในอนาคต
“ การประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลครั้งนี้จะเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมเรื่องผ้าไทยมาต่อยอดสู่สากล สร้างคุณค่าทางจิตใจและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติต่อไป ขอบคุณคณะกรรมการโครงการฯ ผู้เชี่ยวชาญผ้าไทย และวิทยากรที่มีส่วนร่วมทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งผู้เข้าประกวดที่ให้ความสนใจร่วมส่งผลงานตั้งแต่รอบแรก หวังว่าจะได้ชื่นชมผลงานสร้างสรรค์การออกแบบผ้าไทย ในรูปแบบที่ทันสมัย แต่ยังคงเอกลักษณ์ผ้าทอไทยที่งดงามในการประกวดปีต่อไป “ รองอธิบดี สวธ. กล่าว
สำหรับผู้ชนะเลิศการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2023) ประเภทผ้าไหม ได้แก่ ผลงาน“ลายไทย ลายเทศ” โดยนายจักรวรรดิวัตร ปรีจำรัส จ.กาฬสินธุ์ มีแรงบันดาลใจออกแบบจากไทยและต่างชาติมีการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นเวลานานมา ทำให้เกิดงานศิลปะผสมผสานระหว่างไทยและต่างประเทศ เช่น สถาปัตยกรรม ลวดลายต่างๆ ที่อยู่ในจิตรกรรม รวมไปถึงลายผ้าด้วย เกิดเป็นลายไทยผสมลายเทศ ใช้เทคนิคทอผ้าแบบผ้ายกผสมการจก ใช้ครั่งย้อมเส้นพุ่ง เส้นยืนและเส้นจก ส่วนเส้นยกย้อมด้วยเปลือกต้นพะยอม ต้นไม้ประจำ จ.กาฬสินธุ์ ส่วนรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน ”ล่องโขง” โดยนางสาวตะวัน แพนแหล้ จ.กาฬสินธุ์ และรองอันดับ 2 ผลงาน ”เพ่งพินิจ” โดยนายธีรภัทร์ เพ็งพินิจ จ.สุรินทร์
ประเภทผ้าฝ้าย ชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน Fusion of Otherness”สารพัดลักษณ์” โดย นายศักดิ์สิทธิ์ ภัทรประกฤต จ.นนทบุรี มีแรงบันดาลใจนำเอาความหลากหลายของความงามในการทอผ้าใช้สร้างสรรค์เป็นภาพสะท้อนของกระบวนการหลอมรวมทางวัฒนธรรม โดยอาศัยรูปแบบการหยิบยืมจากภูมิปัญญาที่หลากหลายมาสร้างให้เกิดรูปแบบของการรวมกันตามลักษณะผ้าขาวม้า ถือเป็นสัญญะของวัฒนธรรมร่วมเป็นความหลากหลาย เกิดจากการนำเอาวัฒนธรรมนอกเข้ามาต่อยอด เพื่อให้เหมาะสมและเข้ากับวิถีชีวิตที่ต่างกัน ถือเป็นการยกระดับให้เห็นถึงศักยภาพความเป็นไปได้อื่นของผ้าขาวม้าไทยในมิติสากล ใช้เทคนิคกการทอด้วยโครงสร้างแบบ Twill ทำให้ผ้ามีผิวสัมผัสที่แน่น แข็งแรง คงรูปได้ดี เหมาะสำหรับการใช้งานได้หลากหลาย ซ้อนด้วยมิติในผืนผ้าด้วยการมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน เป็นลายผ้าขาวม้า ถือเป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ออกแบบ และการสลับกระสวยเพื่อให้เกิดรูปแบบผ้าขาวม้าร่วมสมัย วัสดุที่ใช้คราม ประดู่ ต้นตองโคบ เพกา ส่วนรองอันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน ”สุดสะแนนในแดนแอปพาเลเชีย” โดยนายวิฑูรย์ ไตรรัตน์วงศ์ จ.ขอนแก่น และรองอันดับ 2 ผลงาน ”อีต่อง -ปิล็อก” โดยนางสาวปาณีกาญจน์ โหตระไวศยะ จ.ปทุมธานี
ประเภทสิ่งทอสร้างสรรค์ รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ ”Unconditional love” โดยนางสาวณัฐนิชา
ธรรมวาริน กรุงเทพฯ มีแรงบันดาลใจออกแบบ คือ ความรักเป็นสิ่งสวยงาม ไม่จำกัดเพศ การนำความรัก LGBTQ+ มาสร้างผลงานชิ้นนี้ สื่อถึงความรักที่ผู้ชายไม่จำเป็นต้องแต่งงานและสร้างครอบครัวกับผู้หญิงเสมอไปนักออกแบบต้องการนำเสนออีกมุมมองของความรักที่น่าประทับใจสื่อถึงตัวตนข้ามวัฒนธรรมอันสวยงาม ใช้เทคนิคทอด้วย Flat Knit Machine สร้างลวดลายโดยเส้นใยธรรมชาติทอสลับเอ็นใส วัสดุที่ใช้เป็นเส้นไหมย้อมด้วยฝาง ใบมะม่วงและใบมะขาม เส้นฝ้ายย้อมด้วยหินโมคคัลลาน ดินแดงและยางกล้วย ส่วนรองอันดับ 1 ผลงานชื่อ ”สู่เมืองกรุง” โดยนางสาวซัมมีย๊ะ ฮะกือลิง จ.นราธิวาส และรองอันดับ 2 ผลงานชื่อ ”ดวงพิทักษ์” โดยเปมิกา เพียเฮียง จ.ลพบุรี
ทั้งนี้ นักออกแบบที่ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลประเภทต่าง ๆ ได้ที่ http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=7281&filename=index
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก
“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ
ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี
จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567 โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ประกาศเกณฑ์รับเงินอุดหนุนงานวัฒนธรรมปี68
28 ก.ย. 2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายทางวัฒนธรรม
เปิดงาน'ไทยฟรุ้ง ปรุงไทย' ดึงชุมชนร่วมรักษามรดกภูมิปัญญา
ยิ่งใหญ่กับการเปิดงาน“ไทยฟุ้ง ปรุงไทย” (Thai Taste Thai Fest 2024) โดย นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรม
'ประเพณี12เดือน' ภาพถ่ายทันสมัย เปิดมุมมองใหม่
มุมมองใหม่ๆ ที่เปิดเผยความงดงามของประเพณีไทยและบอกเล่าวิถีชีวิตผ่านเลนส์กว่า 200 ภาพ ในนิทรรศการภาพถ่าย“ประเพณี 12 เดือน ร้อยมุมมองวิถีไทย” ไม่เพียงสะท้อนถึงความเป็นไทยที่น่าภาคภูมิใจเท่านั้น แต่ยังพัฒนาวงการถ่ายภาพของประเทศไทย เห็นได้จากที่มี
เปิดบ้าน'เกริก ยุ้นพันธ์'ศิลปินแห่งชาติ ผู้สร้างพิพิธภัณฑ์เด็กเมืองอยุธยา
ถนนอู่ทอง ใน ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นถนนที่เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ วัดพนมยงค์ วัดศาลาปูนวรวิหาร วัดตึก วัดเชิงท่า ภายในถนนเส้นนี้มีบ้านที่จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์