15 ก.ย.2566- สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กระทรวงสาธารณสุข , กระทรวงแรงงาน , สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ จัดเวทีสนทนานโยบายสาธารณะ (Policy Dialogue) ครั้งที่ 4 ในหัวข้อเรื่อง “เมื่อไทยเข้าสู่สังคมเด็กเกิดน้อย : ปัญหาและทางออก” ผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ
จากที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้วีดีโอคอล ชี้แจงถึงนโยบายการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกัลปัญหาสังคมผู้สูงอายุและอัตราเด็กเกิดใหม่ที่น้อยลง ช่วงหนึ่งว่า ใน 12-13 เรื่องที่ได้นำเสนอและจะประกาศเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข คือ ปัญหาเด็กแรกเกิด ปัญหาการดูแลเด็กเล็ก โดยเฉพาะการให้นมบุตรอย่างน้อยตั้งแต่ 0-6 เดือน ซึ่งปัญหาที่พบคือ โครงสร้างประชากรของคนไทยขณะนี้เกิดการบิดเบี้ยว ประชากรเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ขณะที่อัตราการเกิดใหม่น้อยมาก โดยอัตราเกิดที่เหมาะสมคือ 2.1 คนต่อประชากร 100,000 คน แต่ปัจจุบันพบว่าอัตราเกิดอยู่ที่ 1.6 คนต่อประชากร 100,000 คน หมายความว่าใน 1 ปีมีจำนวนการเกิดที่น้อยกว่า 50,000-60,000 คน ดังนั้นจากความคิดที่ว่าลูกมากจะยากจน ต้องเอาออกจากสมองคนไทย ทำให้คนไทยไม่ยอดมีบุตร โดยเฉพาะคนที่พื้นฐานการศึกษาที่ดี หรือกลุ่มคนที่มีฐานเศรษฐกิจรองรับ จึงเป็นปัญหาต่อการพัฒนาและการแข่งขันระดับประเทศ หากไม่เพิ่มฐานประชากร ในฐานะกระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ จึงอยากจะผลักดันเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ
นางวรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ขยายถึงโครงสร้างประชากร ปัญหา โอกาส ที่บ่งชี้ผลกระทบหากเด็กเกิดน้อยว่า เนื่องจากโครงสร้างประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลง ในปี2566 ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ แต่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสังคมสำหรับผู้สูงอายุ แต่ในความจริงเป็นสังคมสำหรับทุกช่วงวัย เพียงแต่สัดส่วนประชากรแต่ละช่วงวัยเปลี่ยนไป แบ่งเป็นผู้สูงวัย 20% วัยเด็กจำนวน 16% และวัยแรงงาน 63% แต่ในอีก 10 ปีข้างหน้าไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด จะมีผู้สูงอายุมากถึง 28% วัยแรงงานจะลดลงเหลือเพียง 57% และวัยเด็ก 14% และในอีก 7 ปีข้างหน้าผู้สูงอายุอาจจะเพิ่มจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประเทศ และวัยเด็กที่เกิดขึ้นลดลงเหลือเพียง 12% ในเชิงพื้นที่ยังพบว่าอัตราการเจริญพันธุ์รวมยอด(TFR ) กำหนดอยู่ที่ 1.6 คน แต่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำสุด
วรวรรณ กล่าวต่อว่า จากโครงสร้างประชากรดังกล่าว ปัจจุบันมีจำนวนประชากรไทยประมาณ 66 ล้านคน เมื่อเทียบการเกิดของเด็กในพ.ศ. 2508 มีอัตราเกิดอยู่ที่ปีละ 6 คน แต่ตอนนี้อัตราเกิดอยู่ที่ปีละ 1 คนกว่า และได้มีการคาดประมาณการไว้ว่าเด็กประถมวัยจะลดจำนวนลง โดยในปีพ.ศ. 2566 มีเด็กประถมวัย 0-6 ปี จำนวน 4.3 ล้านคน แต่ในปีพ.ศ. 2583 จะเหลือเพียง 3.1 ล้านคน ในขณะที่ปีพ.ศ. 2564 อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดประมาณ 2,700 คน คิดเป็น 5.2 คนต่อทารกแรกเกิดมีชีพ 1,000 คน หรือตายก่อนวัยอันควรด้วยอุบัติเหตุและจมน้ำกว่า 1,200 คน อีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ ขนาดครอบครัว เพราะขนาดครอบครัวที่มีเพียงสามี-ภรรยา และไม่มีลูกเพิ่มขึ้น 20% ส่วนครอบครัวแบบพ่อแม่-ลูกลดลงเหลือ 52% และเด็กที่อยู่ในครัวเรือนยากจนมีถึง 3.5 แสนคน ทางด้านโภชนาการที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนได้รับนมแม่อยู่ที่ 28.6% จึงทำให้เด็กโตสมวัยตั้งแต่ 0-5 ปีมีเพียง 73% เท่านั้น
ส่วนสถานที่เอื้ออำนวยต่อการดูแลเด็ก พบว่าสถานรับเลี้ยงเด็กที่เป็นศูนย์เด็กเล็กอายุ 0-2 ปี ยังคงมีเพียงแค่การนำร่องแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนสถานรับเลี้ยงเด็กตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไปมีประมาณ 52,000 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพียง 76%
ความท้าทายต่อการแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อย วรวรรณ แสดงความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เพราะการมีบุตรสำหรับคน Gen X และ Y คือเป้าหมายในชีวิตลำดับท้าย ทั้งนี้การกำหนดนโยบายการมีบุตร อาจจะต้องศึกษานโยบายในประเทศ ที่เคยมีการกำหนดนโยบายแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาทิ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สเปน และญี่ปุ่น อีกส่วนที่ท้าทายมากคือ การคลังของประเทศ ที่จัดเก็บภาษีรายได้น้อยลงเนื่องจากวัยแรงงานในอนาคตลดลง
ควรปัญหามองเด็กเกิดน้อยให้เป็นโอกาส วรวรรณ กล่าวว่า ในเรื่องงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกที่ลดลงเนื่องจากจำนวนเด็กเกิดลดลง สามารถนำไปบริหารการศึกษาในด้านอื่นๆได้ เป็นไปได้ว่าแรงงานอาจจะน้อยลง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทำงานด้วยนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาปรับใช้ และเป็นโอกาสที่จะรักษาจำนวนประชากรในระดับที่เหมาะสม ต่อการพัฒนาประเทศ ลดปัญหาการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ด้านนางสาวอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ผลกระทบเด็กเกิดน้อย ในเชิงภาพรวมของสังคม นอกจากในสังคมจะมีคำว่าเด็กเกิดน้อย ยังมีคำว่าเด็กด้อยคุณภาพ เนื่องจากเด็กที่เกิดในสภาวะของครอบครัวที่ไม่พร้อม การเลี้ยงดูไม่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้ได้มีการดำเนินการส่งเสริมเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด โดยมีผู้ลงทะเบียนประมาณ 3.2 ล้านคน ผู็ที่ได้รับเงินอุดหนุนอยู่ 2.3 ล้านคน โดยเป็นครอบครัวที่รายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมสำหรับคุณแม่วัยใส โครงการส่งเสริมการให้นมบุตรต่างๆ แต่ทางออกของปัญหาเด็กเกิดน้อยนี้ต้องร่วมมือกัน ไม่ใช่ปัญหาของคนใดคนหนึ่ง โดยได้มีการหารือการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดแบบถ้วนหน้า ซึ่งได้รับการลงมติไปเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว จึงคิดว่าอาจจะเป็นอีกแรงจูงในการมีลูก คลายความกังวลเรื่องภาระการเลี้ยงลูก
เด็กเกิดน้อย ผลกระทบต่อแรงงานในอนาคต นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พยายามเรียกร้องให้ผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในสถานประกอบการมีบุตรเพิ่มขึ้น ผ่านการผลักดันการสนับสนุนด้านเงินสงเคราะห์บุตรที่จะได้รับ 800 บาทต่อเดือน ตั้งแต่อายุ 0-6 ปี รวมไปถึงสิทธิรับค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ หรือการลาเพื่อคลอดบุตรกำหนดจำนวนวันลาเป็น 98 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนซึ่งประกันสังคมจ่าย 50% ของจำนวนวันลา 98 วัน แต่ตามกฎหมายขณะนี้ยังจ่าย 50% ของ 90 วันอยู่ แต่ในขณะนี้อาจจะต้องมีการพูดคุยเพราะนายจ้างยังจ่าย ทั้งนี้อีกสิ่งที่ต้องเร่งศึกษาและเสนอแนะเพิ่มเติมต่อกระทรวงฯ คือ สิทธิรับเงินสนับสนุนในภาวะมีบุตรยากในอนาคต
“นอกจากนี้ยังพยายามที่จะผลักดันให้มีศูนย์เด็กเล็กในสถานประกอบการขนาดใหญ่ ที่มีมากถึง 500,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์เด็กเล็กเพียง 102 แห่ง ลดจำนวนลงเพราะไม่มีมีการเด็กเกิด และขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยยังส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวมีลูก เพราะเป็นแรงงานมีฝีมือที่ขาดไม่ได้ มีศูนย์เด็กเล็ก มีพี่เลี้ยง มีครูให้การศึกษารองรับ ให้ที่พักสำหรับครอบครัว เพื่อให้แรงงานอยู่กับนายจ้างอย่างมีความสุข กลับกันกับไม่ได้มีการจูงใจให้แรงงานไทยมีลูก อาจจะด้วยปัจจัยที่คนไทยมีที่พักในประเทศ หรือมีโรงเรียนรองรับการศึกษาตามสิทธิอยู่แล้ว ” นันทชัย กล่าว
นันทชัย กล่าวอีกว่า ในอนาคตหากไม่มีการเร่งหาทางออกอาจจะทำให้ประกันสังคม ที่มีคนจ่ายเงินน้อยกว่าคนใช้เงิน หากเกษียณและส่งเงินเดือนสุดท้ายแก่ประกันสังคม จะได้รับเงินบำนาญ 50% จากที่นำส่งประกันสังคม ทั้งนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับเกษียณอายุที่อาจจะขยายจาก 55 ปี หรือไม่ได้ทำงานในการรับเงินบำนาญ เป็น 60 ปี เพราะคนวัยนี้ก็ยังแข็งแรงและทำงานได้ ก็อาจจะรับเงินบำนาญได้ที่อายุ 65 ปีเป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มติสภาแก้รธน.ชั้นเดียว‘ภท.’สวน
ไฟเขียวติดอาวุธ กมธ. เรียกบุคคล-เอกสารมาตรวจสอบ
อนิจจา! 2 นักการเมือง สู้อุตส่าห์ดูแลพรรค วันนี้กลับไม่มีเยื่อใยให้
นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อนิจจา 2 นักการเมือง คุณภาพดี สู้อุตส่าห์ดูแลพรรคมาให้ วันนี้ไม่มีเยื่อใยให้
'อุ๊งอิ๊ง' ตรวจน้ำท่วมวัดภูมินทร์ ดูภาพกระซิบรักบรรลือโลก น้ำลดลงสู่ภาวะปกติแล้ว
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน ชาญวีรกูล
หมอชลน่านพักใจ นุ่งขาว ปฏิบัติธรรม กวาดลาน ล้างห้องน้ำ
เพจหมอชลน่าน Fc ไม่มีดราม่า โพสต์ภาพของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีต รมว.สาธารณสุข ที่นุ่งขาว ห่มขาว ปฏิบัติธรรม
'ครูมานิตย์' นับถือ 'วิษณุ' ทำปาฏิหาริย์ทางกฎหมายบ่อย
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระแสข่าวสส.ในพรรคแสดงความไม่พอใจที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
'คนเสื้อแดง' จวกยับ! หัวหน้าเพื่อไทย 2 มาตรฐาน กลัวพวงเพ็ชรน้อยใจ แต่หมางเมินหมอชลน่าน
กรณี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย โพสต์สตอรี่อินสตาแกรม เป็นรูปภาพคู่กับนางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่พรรคเพื่อไทย พร้อมระบุข้อความว่า "รักเหมือนเดิม