'โรช 'กระตุ้นไทยวิจัยทางคลินิก'ยานวัตกรรม' ชี้ยังตามหลังหลายชาติในเอเชีย

นายฟาริด บิดโกลิ 

บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด  บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำของโลก จัดงาน Roche Innovation Day ครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ในการให้ความรู้ ความเข้าใจ และพูดคุยเกี่ยวกับนวัตกรรมยาใหม่และการใช้เทคโนโลยีเพื่อผลักดันการวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายในงานมีทีมแพทย์ พยาบาล นักวิจัย และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 130 คน ร่วมเสวนนา เพื่อเพื่อเพิ่มศักยภาพและความพร้อมด้านการทดลองทางคลินิก (Clinical Trials) ให้แก่ประเทศไทยต่อไป

ในช่วง 5ปีที่ผ่านมา บริษัทโรช  ไทยแลนด์ ได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านบาท  ซึ่งรวมถึงการค้นคว้าด้านมะเร็ง ภูมิคุ้มกัน โรคไตเรื้อรัง โรคติดเชื้อ โรคหายาก และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อนำเสนอแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และบริษัทให้การสนับสนุนโครงการวิจัยทางคลินิกอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีผู้ป่วยใหม่ชาวไทยได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นกว่า 422 คน จากการเข้าร่วม 48 โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

นายฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว กล่าวเปิดงานว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ป่วยกว่า 2.9 ล้านคนทั่วประเทศ ได้รับการรักษาด้วยนวัตกรรมยาของโรช ที่ผ่านการทดลองทางคลินิกและได้รับการอนุมัติการนำเข้าเป็นยานวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังตามหลังด้านการทดลองทางคลินิกอยู่หลายประเทศในเอเชีย เช่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย สำหรับการทดลองทางคลินิคที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยด้านการทดลองทางคลินิคเพียง 0.38%* ดังนั้น โรช จึงมุ่งมั่นสนับสนุนการทดลองและวิจัยทางคลินิก เพื่อช่วยลดระยะเวลา ลดกระบวนการขอขึ้นทะเบียนและอนุมัติการนำเข้ายานวัตกรรม และทำให้ผู้ป่วยในประเทศไทยสามารถเข้าถึงยานวัตกรรมได้ในวงกว้าง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของโรช

ดร. สเตฟาน ฟริงส์ 


ดร. สเตฟาน ฟริงส์ ผู้นำฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (PDMA) บริษัท โรช กล่าวว่า เราได้เห็นนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ในด้านการวินิจฉัย การรักษา และยานวัตกรรม ซึ่งประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความพร้อมสูงสำหรับการทดลองทางคลินิก เพราะไทยมีนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติที่ทำให้การอนุมัติยานวัตกรรมแก่ผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงผู้ป่วยในไทยยังพร้อมและเต็มใจที่จะเข้าร่วมการทดลองทางคลินิกอีกด้วย โดย อีกหนึ่งในภารกิจของเราหลังจากที่ยานวัตกรรมได้รับการอนุมัติแล้ว คือการผลักดันให้ยาเหล่านั้นจะสามารถเข้าถึงแนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนทั่วไปได้มากที่สุด ผ่านการจัดตั้งโครงการเบิกจ่ายระดับชาติ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน

ทั้งนี้ รายงานจาก Deloitte ปี 2016 พบว่า ทุก ๆ 1 บาทที่มีการใช้จ่ายในการทดลองทางคลินิคในประเทศไทย จะหมุนเวียนกลับเข้าประเทศประมาณ 3 เท่า คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10.5 พันล้านบาท ซึ่งถ้าเราสามารถเพิ่มการทดลองทางคลินิกประมาณ 20% จะทำให้เกิดผลประโยชน์สุทธิราว 3.9 พันล้านบาททุกปี และคาดการณ์ว่าส่งผลให้เกิดการสร้างงานกว่า 15,509 ตำแหน่ง ซึ่งแบ่งเป็นการสร้างงานโดยตรงจากงานวิจัย 8,905 ตำแหน่ง และการสร้างงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยอีก 6,604 ตำแหน่ง

ศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้

ด้าน ศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมการวิจัยในคนในประเทศไทย และประธานโครงการยกระดับศักยภาพและความพร้อมของศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติ กล่าวว่า การสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยและครอบคลุมต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการทดลองทางคลินิกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยงาน Roche Innovation Day เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่ช่วยผลักดันกระบวนการค้นพบ การพัฒนายา และการวินิจฉัยที่สร้างแนวทางใหม่ ๆ สำหรับการรักษาโรค และเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยในประเทศไทยเข้าถึงยานวัตกรรม รวมถึงได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิรันดร์กัลป์'ธีมศิลปะ ภูเก็ตเบียนนาเล่

มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale , Phuket 2025  เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอริญชย์ รุ่งแจ้ง  และ Mr. David The  พร้อมภัณฑารักษ์ นางสาวมาริสา พันธรักษ์ราชเดช และ Ms. Hera Chan ณ HOUSE OF TIN BARON อำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ตอกย้ำความพร้อมจัด Thailand Biennale ครั้งที่ 4

แนะศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์-SEA ตอบโจทย์ แก้ไขปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำยม เขื่อนแก่งเสือเต้น

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย แนะ ศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์(SEA) ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำยม เพื่อลดความขัดแย้ง หาทางออก สร้างหรือไม่ควรสร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น