เสื้อผ้าที่พวกเราสวมใส่กันทุกวัน เปลี่ยนสไตล์กันทุกซีซั่นนั้น ถูกทิ้งกลายเป็นขยะจำนวนมหาศาลไม่แพ้ขยะพลาสติก ซึ่งผลการวิจัย YouGov Omnibus ในปี พ.ศ.2560 จากกลุ่มผู้ทำแบบสำรวจกว่า 1,000 คน พบว่ากลุ่มวัยผู้ใหญ่ 4 ใน 10 หรือ 40% ทิ้งเสื้อผ้ามากกว่า10%ในปี 2559 และ 25% ได้ทิ้งเสื้อผ้าอย่างน้อยสามชิ้นที่พวกเขาสวมใส่เพียงครั้งเดียว และในกลุ่ม Gen Y สวมใส่เสื้อผ้าไม่ถึง 1 ปีก็โล๊ะทิ้ง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าแฟชั่นที่ทำให้การจับจ่ายง่ายขึ้น เสื้อผ้าแฟชั่นที่ออกมาใหม่ยั่วยวนความต้องการให้ผู้บริโภคอยากจะอัพเดทการแต่งตัวในทันต่อเทรนด์แฟชั่นในช่วงเวลานั้นๆ ยิ่งในกลุ่มสินค้าในกลุ่ม Fast Fashion ที่เน้นจำนวนการผลิต ติบสนองความต้องการผู้บริโภค เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดเสื้อผ้าเป็นขยะจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
ดังนั้นในยุคที่ทุกคนหันมาให้ความสนใจและใส่สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าถือเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้โลกของเราเข้าใกล้คำว่า”ยั่งยืน”ได้ จึงมีหลากหลายแบรนด์ที่ตระหนักถึงการผูกมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางยูนิโคล่ (ประเทศไทย) แบรนด์เสื้อผ้าญี่ปุ่น ที่มีสาขาทั้งในประเทศญี่ปุ่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ กว่า 2,400 สาขาทั่วโลก ได้เดินหน้าแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืน เพื่อตอกย้ำพันธกิจด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ในการ “ปลดล็อคพลังแห่งเสื้อผ้า” ภายในปีงบประมาณ 2030 ของฟาสต์ รีเทลลิ่ง ผ่านแนวคิดไลฟ์แวร์ เพื่อเป้าหมายการเป็นเสื้อผ้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น
มร.โยชิทาเกะ วาคากุวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะหนึ่งในบริษัทเครื่องแต่งกายชั้นนำระดับโลก ยูนิโคล่ให้ความสำคัญกับผู้คน สังคม และโลก ในฐานะ Global Citizen ที่ดี ทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น โดยการผลิตเสื้อผ้าที่ดีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป้าหมายของยูนิโคล่ทั่วโลกต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 90% สำหรับร้านสาขา และสำนักงาน ภายในปี 2020 ขณะนี้ได้คืบหน้าไปแล้วกว่า 40% เมื่อเทียบกับปี 2019 แต่ยูนิโคล่ยังได้ตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2030 ซึ่งได้มีบางประเทศที่ได้เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน 100% แล้ว ได้แก่ประเทศในแถบยุโรป, อเมริกาเหนือ, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และประเทศไทย โดย I-REC
มร.โยชิทาเกะ กล่าวต่อว่า หนึ่งในความมุ่งมั่นในปีนี้ของยูนิโคล่ (ประเทศไทย) คือ การรวบรวมเสื้อผ้ากันหนาว ภายใต้กิจกรรม RE.UNIQLO สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ( SDGs) โดยเน้นเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย, เป้าหมายที่ 14 คืออนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ เป้าหมายที่ 15 คือ ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยตั้งแต่เริ่มโครงการ UNIQLO Recycling Clothes Donation ในปี 2558 ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ปัจจุบันได้ส่งต่อเสื้อผ้าที่ได้รวบรวมจากลูกค้าทั่วประเทศมากกว่า 194,273 ชิ้น ให้กับองค์กรพันธมิตรต่างๆ ในระดับท้องถิ่น
“โดยในปี พ.ศ.2566 ได้ตั้งเป้าไว้ส่งต่อเสื้อผ้าให้ได้ที่ จำนวน 50,000 ชิ้น เพื่อลดจำนวนเสื้อผ้าที่กลายเป็นขยะฝังกลบในประเทศไทย และการขาดแคลนเสื้อผ้ากันหนาวของผู้ประสบภัยหนาวทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวที่อากาศบนดอยหนาวเย็นกว่าปกติ ภายในเดือนธันวาคม 2566 จึงอยากจะเชิญชวนลูกค้าของยูนิโคล่ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชาวไทยด้วยกันในครั้งนี้ เพื่อมอบน้ำใจและความอบอุ่น เพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังมีพันธมิตรที่ช่วยนำส่งความอบอุ่นให้แก่ผู้ประสบภัยหนาวจาก 3 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิบ้านร่มไทร และ UNHCR ที่จะเป็นตัวแทนส่งมอบเสื้อหนาวที่ได้รับการบริจาคจากยูนิโคล่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 ” มร.โยชิทาเกะ กล่าว
มร.โยชิทาเกะ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) ยังเตรียมเปิดตัว RE.UNIQLO STUDIO จะเปิดให้บริการที่ร้านยูนิโคล่ เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นสาขาแรกในประเทศไทย ในวันที่ 28 กันยายน 2566 ภายใต้คอนเซปต์ Repair/Remake/ Reuse/Recycle เพื่อเป็นการนำเสื้อผ้ากลับมาซ่อมแซมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ต่ออายุการใช้งาน และนำไอเทมโปรดกลับมาใช้หมุนเวียนอีกครั้ง โดยนำเทคนิคการตัดเย็บด้วยมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น หรือ ที่เรียกว่า Sashiko มาให้บริการอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถสวมใส่เสื้อผ้าตัวโปรดได้อีกครั้ง ลดการทิ้งด้วย นอกจากนี้ยูนิโคล่ ยังได้ปรับเปลี่ยนมาใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล โดยสัดส่วนการนำมาใช้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ซึ่งมีระบุอยู่ภายในป้ายสินค้า อาทิ เสื้อฮู้ดพาร์กา เสื้อแจ็คเก็ต เสื้อฮู้ด AIRism กางเกง Smart ขา 5 ส่วน เป็นต้น
ด้าน ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) เล่าว่า ในช่วงที่กำลังศึกษา เคยได้ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ซึ่งเคยเดินทางไปในพื้นที่ห่างไกล ทำให้เข้าใจพวกเขามีความลำบากจริงๆ ทำให้ขาดแคลนอุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งโครงการของ RE.UNIQLO นับว่าเป็นอีกโครงการที่ดีในการช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเสื้อผ้า หรือเสื้อกันหนาว โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว ที่มีอากาศเย็นจัด เพื่อสวมใส่สร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย หรือเสื้อผ้าอื่นก็ได้ โดยสามารถนำมามอบให้ที่ช้อปยูนิโคล่ได้เช่นกัน
นอกจากนี้กิจกรรมเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายความยั่งยืนในปี 2565 – 2566 อาทิ การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (IREC) ทั้งร้านสาขา และ สำนักงานใหญ่ การช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น การบริจาคเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นสำหรับเหตุการณ์น้ำท่วม ที่จ.อุบลฯ ในปี 2565 เหตุการณ์โกดังเก็บพลุระเบิดที่ อ. สุไหงโก-ลก จ. นราธิวาส และ การบริจาคหน้ากากอนามัยในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา สนับสนุนกิจกรรมการแข่งขันการเก็บขยะ SPOGOMI World Cup UNIQLO Recycling Clothes Donation ภายใต้โครงการ RE.UNIQLO แผนงานความร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดภาวะโลกร้อนกจากก๊าซเรือนกระจก เพิ่มสัดส่วนการผลิตสินค้าที่ผลิตจากวัสดุที่ยั่งยืน เป็นต้น
สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเสื้อผ้าได้ที่ร้านยูนิโคล่ทุกสาขา ดูตำแหน่งสาขาได้ที่ https://map.uniqlo.com/th/th/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ททท. จับมือภาคเอกชน กระตุ้นท่องเที่ยว เผยแพร่ศิลปะมวยไทย
ททท. ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว หรือผู้สนใจทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เพียงสวมเสื้อ UNIQLO คอลเลกชัน UTme Thai Boxing แมทช์ลุคเก๋ๆ พร้อมแสดงท่าทางมวยไทย
กรมลดโลกร้อน หนุน 8 แนวทางเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายฯ เน้น “รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน”
กรมลดโลกร้อน ทำงานเชิงรุกเสริมแกร่งเครือข่ายภาคประชาชน และภาคีความร่วมมือ จัดประชุมใหญ่เสริมความเข้มแข็ง เน้น“รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน”
คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ...เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน มีเนื้อหาดังนี้