14 ก.ย.2566-ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมตรี ได้กล่าวในงานสัมมนา ThaiPublica Forum เวทีปัญญาสาธารณะ 2566 หัวข้อ TRANSFORM THAILAND :สิ่งที่เห็นและอยากให้ประเทศไทยเป็น? จัดโดยสำนักข่าวThaiPublica ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงนโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผู้มีอายุ 16ปีขึ้นไป ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยว่า ถ้าเป็นตนจะนำเงิน 5แสนกว่าล้านบาทใส่เข้าไปในกองทุนหมู่บ้านที่ ทั้งประเทศมีอยู่ 7หมื่นหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 6ล้านบาท เพราะเป็นคนจน เงิน 6ล้านบาทนี้ถ้าทำTransition digital change ดีๆ ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในหมู่บ้านรัศมี 4 กม. ถ้าเป็นการแจกเงินเหล่านี้จะหมดไป แต่ถ้าเป็นกองทุนแล้วให้กู้ยืม ดอกเบี้ยจะกลับมาให้รัฐ 2%, 3%หรือ 5% ไม่หมดไปทันที ทำให้รัฐมีเงินกลับมา และการใช้งบประมาณก็น้อยมาก จะได้ประโยชน์มากกว่า เงินดิจิทัล ที่จะอยู่ในบล็อกเชนส์นี้จะมีการซื้อขายหมุนเวียน ไม่ไปไหน และเงินไม่หมด เงินเป็นแค่ตัวกลางของการแลกเปลี่ยน เพราะถ้าเอาเงินไปให้เขาใช้แล้วจบ เท่ากับเงินย้ายไปอยู่กับคนรวยเหมือนเดิม จากมือคนจนไปสู่มือคนรวย
นอกจากนี้ การแจกเงินไม่ควรแจกทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ควรแยกกลุ่มคนออกมา และเน้นการแจกไปที่กลุ่มคนจนหรือกองทุนหมู่บ้าน เพราะสำหรับคนรวย เงิน 1หมื่นบาท จะไม่ได้นำไปใช้ลงทุน อาจฝากธนาคารไว้เฉยๆ แต่ถ้าเป็นการแจกให้หมู่บ้านต่างๆ จะทำให้เกิดการลงทุนตามมา ซึ่งไม่ใช่การบริโภคอย่างเดียว
“ดิจิทัลวอลเล็ตที่ว่า แทนที่จะแจกก็เป็นการให้ผ่านกองทุนหมู่บ้าน แล้วไปสอนให้เขารู้จักวิธีการดูแล วิธีการสร้างผลผลิต สร้างรายได้ ซื้อขายกันเอง ไม่ให้เงินออกนอกระบบ ขอฝากรัฐบาลเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าแนวคิดนี้เป็นการต่อยอดกองทุนหมู่บ้านและโอท็อป ซึ่งเดี๋ยวนี้สามารถสร้างแพลตฟอร์มขายออนไลน์ได้ แต่คราวนี้ รัฐบาลควรเป็นผู้ทำแพลตฟอร์มให้สินค้าโอท็อป”
ดร.ทนง ยังโยงเรื่องเงินดิจิทัล 1หมื่นบาทกับปัญหาหนี้ครัวเรือนว่า ขณะนี้ หนี้ครัวเรือนไทยสูงมาก ประมาณ 3 ล้านล้านบาท หรือ 90% ของจีดีพี 4ปีในช่วงโควิดเพิ่มขึ้นมา 20% ตรงนี้ต้องช่วยเขา ที่เขาเกิดหนี้ เพราะเราช่วยเหลือเขาไม่มากพอ เช่น พักหนี้ หรือพักดอกเบี้ย แม้จะยากมาก ซึ่งหนี้เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบ ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าไปดูแลแต่ดูแลได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
“ผมมองว่าทำยังไงก็ได้ให้เงินไปสู่คนจน หนี้ครัวเรือนที่ค้างอยู่ 3 ล้านล้านบาท ถ้าไม่แก้ก็จะกระทบการออมของประเทศ เงินดิจิทัลวอลเล็ต1หมื่นบาท ที่รัฐบาลให้ก็จะถูกเอาไปใช้หนี้แทน ไม่ช่วยเศรษฐกิจอะไรเลย ไม่เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ เงินก็จะไปอยู่กับคนที่ปล่อยกู้ที่เป็นนายทุนทั้งหลาย ในเชิงเศรษฐกิจมหภาค เงิน 5แสนล้านนี้ จะเป็นภาระหนี้ของรัฐ กระทบงบประมาณ วินัยการเงินก็เสียหายเพราะเพิ่มหนี้ 5แสนล้าน สุดท้ายระบบ การผลิตไม่เกิด ซึ่งไม่ช่วยให้คนทำมาหากิน แต่ช่วยให้คนจนเอาเงินไปชำระหนี้ ดังนั้น เรื่องหนี้จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดูแล และเงินที่ให้ต้องทำให้เงินมันอยู่ในระบบการทำมาหากินให้ได้ ที่ผ่านมากองทุนหมู่บ้านหลายกองทุนพิสูจน์แล้วว่า ยังมีเงินเหลือ หมุนเวียนอยู่ แม้ว่าบางหมู่บ้านจะไม่มีเหลือก็ตาม “ดร.ทนงกล่าว
ในแง่ความหวังทางเศรษฐกิจ ดร.ทนง ยังบอกอีกว่า เรื่องระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ หรือEEC ที่สร้างไว้ เกิดยาก เพราะเราไม่มีเทคโนโลยีหรือการวิจัยพัฒนารองรับ ความหวังอีอีซี จะเกิดได้ ไม่ใช่เพราะสิ้นไร้ไม้ตอก แต่มองว่า มันเกิดได้เพราะกลไกระดับการศึกษา และสาธารณูปโภคของเราดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ซึ่งสาธารณูปโภคเหล่านี้ เกิดได้จากเรามีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมรถยนต์ นิคมอุตสาหกรรมส่งออกแหลมฉบัง แต่การที่ตอนนี้ต่างชาติไม่มาลงทุนที่อีอีซี เพราะเรามีข้อเรียกร้องให้เขามาลงทุนHi-Tech Industry ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นเคยมาถามตนว่าเรามีวิศวกร มีคนเชี่ยวชาญด้านโรโบติกส์ หรือมีวิจัยและพัฒนาให้เขาหรือไม่ ซึ่งเราไม่มี เพราะเรามีแต่ที่ดินและสาธารณูปโภคเท่านั้น นอกจากนี้ มาตรการภาษีบุคคล ที่เก็บสูงสุด35% ยังไม่สร้างแรงดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาสนใจลงทุนกับเรา จึงเห็นได้ว่าเงินลงทุนไปลงที่สิงคโปร์ ที่เล็กกว่าเราและค่าครองชีพสูงกว่าเราหลายเท่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คปท. ซัดยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทย ทำลายกระบวนการยุติธรรม
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์
'จุลพันธ์' แจงแนวคิดภาษีรูปแบบใหม่ Negative income tax คืนภาษีผู้มีรายได้น้อย
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลุกขึ้นชี้แจงนโยบายการศึกษาระบบภาษีรูปแบบใหม่ หรือ negative income tax ว่า แนวความคิดนี้ เป็นแนวความคิดที่ถูกนำมาบรรจุในแนวนโยบายแห่งรัฐ
'จักรภพ' รับผู้ใหญ่ในเพื่อไทย ชวนร่วมงานโฆษกรัฐบาล
นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรมต. ประจำสำนักนายกฯ และอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังมีกระแสข่าวมีชื่อเป็นแคนดิเดตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีผู้ใหญ่ของพรรคเพื่อไทยติดต่อมาพร้อมถามว่า
โฆษกเพื่อไทย ยันนายกฯอุ๊งอิ๊งพร้อมชี้แจงนโยบาย ไม่ต้องมีองครักษ์ปกป้อง
นายดนุพร ปุณณกันต์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงผลการประชุมว่า ในที่ประชุมได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อแถลงนโยบายรัฐบาลในวันที่ 12-13 ก.ย. โดยพรรคได้เตรียมทีมที่จะอภิปรายสนับสนุนนโยบายของน.ส.แพทองธาร
'เชาว์' แนะ 'เฉลิมชัย-21 สส.' ทิ้งพรรคแบบกลุ่มธรรมนัส เปิดทางฟื้นฟู ปชป.
นายเชาว์ มีขวด อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กว่าถึงผู้บริหาร ปชป. เมื่ออุดมการณ์ของพรรคไม่ต้องจริตกับพวกท่าน ขอให้จากไปด้วยดี
เปิดนโยบายรัฐบาลแพทองธาร เดินหน้ากาสิโน ไม่ล้มดิจิทัลวอลเล็ต
นโยบายของรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 12 และ 13 กันยายนนี้ มีนโยบายเร่งด่วนทั้งหมด 10 ประการ แต่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ คือ นโยบายที่สี่