ยลผ้าซิ่นงามที่พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน

ใครที่เคยขึ้นเหนือไปจังหวัดน่าน น่าจะมีโอกาสได้สัมผัสผ้าซิ่นตีนจกลายน้ำไหล ผ้าทอพื้นเมืองโบราณของชาวน่านที่ยังคงอัตลักษณ์โดดเด่นและมีการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้ามาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีหลายชุมชนรวมตัวกันตั้งกลุ่มผ้าทอแบบโบราณเพื่อสืบสานวัฒนธรรม ตลอดจนมีพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมผ้าโบราณ เพื่อนำเสนอเรื่องราวผ้าทอพื้นเมืองของน่านให้กับผู้ที่หลงไหลวัฒนธรรม ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนน่าน

ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ.ชมผ้าซิ่นโบราณ

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน​ จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมสำคัญ มิวเซียมแห่งนี้เก็บรวบรวมผ้าซิ่น เครื่องแต่งกาย ไทยวน ไทลื้อ เมืองน่าน และชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่า 2,000 ชิ้น โดยผ้าโบราณที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุมากกว่า 160 ปี ที่นี่ยังคงมีการทอผ้า ย้อมเส้นด้ายจากสีธรรมชาติ คงกรรมวิธีในการทอผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายล้วง ลายเก็บมุก ลายคาดก่าน รวมถึงซิ่นป้องและซิ่นม่านของชาวไทลื้อ  ซิ่นคำเคิบตามแบบฉบับชาวไทยวนล้านนา ล้วนแล้วแต่เป็นลายดั้งเดิมของชาติพันธุ์ในนครน่าน โดยเทิดศักดิ์ อินแสงนักสะสมผ้าซิ่นเป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณร้านฝ้ายเงิน

ล่าสุด นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน พร้อมด้วยนางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  โอกาสนี้ เทิดศักดิ์ อินแสง เจ้าของพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน​ นำชมผ้าโบราณภายในพิพิธภัณฑ์ พร้อมบอกเล่าวัฒนธรรมการสวมใส่ผ้าซิ่นตีนจกในอดีต  ตลอดจนลวดลายดั้งเดิมของผ้าซิ่นทอมือเมืองน่านที่มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลายน้ำไหลที่คุ้นเคยกัน ลายนาคเกี้ยว ลายนาคชู ลายโคม ตลอดจนเทคนิคการทอผ้าที่มีทั้งการจก,ขิด,เกาะล้วง,มัดหมี่,ยกมุก ฯลฯ  สะท้อนผ้าซิ่นเมืองน่านเป็นหัตถศิลป์ไทยที่ควรค่าอนุรักษ์

เรียนรู้เครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ใน จ.น่าน

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร  กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงินเป็นแบบอย่างการขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาผ้าไทยให้คงอยู่คู่ประเทศไทย ถือเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมที่รวมองค์ความรู้ผ้าซิ่น เครื่องแต่งกายไทยวน ไทยลื้อ เมืองน่าน ข้อมูลผ้าในวัฒนธรรมน่าน วัสดุ เทคนิค ลวดลาย สีที่ใข้ในการทอ มีประโยชน์อย่างยิ่ง  กระทรวงวัฒนธรรมและวัฒนธรรมจังหวัดจะส่งเสริมการนำองค์ความรู้เพื่อนำไปต่อยอดรูปแบบต่างๆ เพื่อยกระดับผ้าพื้นถิ่นและผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ใน จ.น่าน ให้ไปสู่ระดับสากล  นอกจากนี้ จะสนับสนุนชุมชนทอผ้าอนุรักษ์ลวดลายดั้งเดิม ควบคู่กาารเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบลวดลายให้มีความร่วมสมัย มีมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้ให้ท้องถิ่นมากขึ้น

เทิดศักดิ์ อินแสง นักสะสมผ้า ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน

ทั้งนี้ จากประวัติศาสตร์เมืองน่าน หรือนันทบุรีศรีนครน่าน ถือเป็นนครรัฐที่สำคัญในอดีตอยู่ในดินแดนล้านนาตะวันออก ริมแม่น้ำน่าน อดีตถือเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เชื่อมโยงวัฒนธรรมจากสุโขทัย ล้านนา ล้านช้าง  และอาณาจักรสิบสอบปันนาเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้หัตถกรรมสิ่งทอของเมืองน่านมีความงดงาม ผสมผสานกลายเป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้ อีกทั้งเป็นหัตกรรมที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย

จัดแสดงผ้าที่เชื่อมความเชื่อ-วัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน​ จังหวัดน่าน นอกจากมีผ้าซิ่นลวดลายและสีสันสวยงามของสะสมชุดใหญ่ของเทิดศักดิ์ อินแสง ที่น่ายลแล้ว ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ผ้าในชีวิตประจำวัน ผ้าที่ใช้ในการทำพิธีทางศาสนา ตลอดจนเครื่องเงินน่านเทคนิคลวดลายเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ถ้ามาชมแล้วต้องประทับใจและได้ความรู้เรื่องราวสิ่งทอเมืองน่านเต็มอิ่ม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาแหล่งโบราณคดีโคราช สู่หมุดหมายระดับโลก

จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองมรดกโลกที่คนทั่วโลกรู้จักจากผืนป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่  ถิ่นโคราชยังมีความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีแหล่งโบราณคดีเป็นวัตถุดิบชั้นดีใน

มหรสพสมโภชในหลวง 72 พรรษา จัดใหญ่สนามหลวง

3 ก.ค. 2567 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  จัดแถลงข่าวงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567  นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

ชงบูรณะพระนอนเก่าแก่ 1,300 ปี รับครม.สัญจรโคราช

1 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จะนำเสนอเรื่องการจัดงานมหรสพสมโภชเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระช

ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็

วธ.ส่งเสริมภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ลุยเผยแพร่เทรนด์บุ๊กออกแบบผ้าไทยที่ภาคเหนือ ดึงดีไซเนอร์ดังหนุนฉีกกรอบ

วันที่ 28 มิ.ย.2567 นางสาวสุดาวรรณ  หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) ดำเนินงานโครงการเสวนาวิชาการ