ลุ้น'เมืองโบราณศรีเทพ' ขึ้นมรดกโลก 18 ก.ย.นี้

กรมศิลปากรชวนคนไทยลุ้น’เมืองโบราณศรีเทพ’ขึ้นทะเบียนมรดกโลก 18 ก.ย.นี้

13 ก.ย.2566 – นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้รับรายงานการติดตามการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 25 ก.ย. 2566 ณ กรุงริดยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ซึ่งประชุมครั้งนี้มีนายพืชภพ มงคลนาวิน รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ทำหน้าที่แทนหัวหน้าคณะผู้แทนไทยระหว่างวันที่ 10 – 17 ก.ย.และวันที่ 21 – 25 ก.ย. และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในวันที่ 18 – 19 ก.ย. โดยในส่วนของกรมศิลปากร ได้ส่งนายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร และนายสิทธิชัย พูดดี หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เข้าร่วมกับคณะผู้แทนประเทศไทย โดยได้รับรายงานการประชุม คกก.มรดกโลก มีวาระทั้งหมด 53 วาระ ซึ่งวาระเมืองโบราณศรีเทพของไทยถูกบรรจุในวาระการพิจารณาที่ 31 คาดว่า การพิจารณาจะอยู่ในช่วงค่ำวันที่ 18 ก.ย.หรือเช้าวันที่ 19 ก.ย. เนื่องจากเวลาท้องถิ่นช้ากว่าไทยประมาณ 4 ชั่วโมง

                นายพนมบุตร กล่าวว่า มั่นใจว่าที่ผ่านมาได้มีการผลักดันและดำเนินการตามกระบวนการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของยูเนสโกอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ เหลือเพียงการรอประกาศผลการรับรองให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากทางยูเนสโก เป็นช่วงเวลาคนไทยทุกคนจะได้ลุ้นผลการประกาศไปพร้อมๆ กัน หลังจากที่ว่างเว้นการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยมานานถึง 31 ปี ครั้งหลังสุดคือเมื่อปี 2535 ที่ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี หากได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการแล้ว ถือว่าประเทศไทยจะมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเป็นแหล่งที่ 4 ต่อจากเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง หลังประกาศจะมีกระบวนการทำงาน ทั้งการพัฒนาพื้นที่ แหล่งโบราณสถาน การจัดทำศูนย์ข้อมูลและการขุดค้นทางโบราณคดีเพิ่มเติม ตลอดจนการรักษาดูแลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโกต่อไป

                ” กรมศิลปากร ร่วมกับ จ.เพชรบูรณ์ จัดกิจกรรมรองรับการประกาศผล โดยจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ บริเวณเขาคลองนอก ซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ในพุทธศาสนาและกิจกรรมทางวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 16 – 21 ก.ย.และเปิดให้การเข้าชมโบราณสถานโดยไม่เก็บค่าเข้าชม ระหว่างวันที่ 21-24 ก.ย. นอกจากนี้ ยังได้เตรียมการหลังการประกาศผลทางการจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ โดยรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านมรดกทางโลกอีกครั้ง และจะเป็นนิมิตรที่ดีกับการประกาศผลควบคู่กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการผลักดันการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ รองรับการขึ้นทะเบียนของศรีเทพ หลังจากนี้ ยังมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอุทยานแห่งชาติภูพระบาท จ.อุดรธานี ที่คาดว่าจะได้รับการบรรจุรอขึ้นทะเบียนในปี 67 ต่อเนื่อง อยากให้ชาวไทยทุกคนร่วมลุ้นส่งกำลังใจ พร้อมภาคภูมิใจกับศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของประเทศที่จะได้รับการประกาศขึ้นเป็นมรดกโลก ที่จะกลายเป็น soft power ไทยที่สร้างชื่อเสียงและดึงดูดการท่องเที่ยวในอนาคตอย่างต่อเนื่อง”  อธิบดี ศก. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก

วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย

'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี

กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย 

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

ไทยติด TOP 8 ประเทศร่ำรวยมรดกทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ผลสำเร็จการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทย ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งมั่นยกระดับศักยภาพของคนไทยและทุนทาง

โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม

7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา