มอบรางวัล DEmark  สินค้าออกแบบดีไซน์ไทย

รางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม หรือ รางวัล DEmark ถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของนักออกแบบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของนักออกแบบไทย ที่ได้โชว์พลังความคิดสร้างสรรค์ออกแบบผลงานออกมาได้อย่างน่าสนใจและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นำภูมิปัญญาไทยและวัสดุในประเทศมาใช้ สอดแทรกอัตลักษณ์ความเป็นไทยในงานออกแบบ 

ล่าสุด กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มอบรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม ประจำปี 2566 Design Excellence Award 2023 ภายใต้แนวคิด “Brave The Wave of Creation คลื่นพลังสร้างสรรค์งานดีไซน์ไทย” ปีนี้รางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม มี 7 กลุ่มสาขารางวัล ได้แก่ 1.กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์  13 ผลงาน 2.กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น 11 ผลงาน 3.กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและดิจิทัล  9 ผลงาน 4.กลุ่มผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ 13 ผลงาน​​​ ​5.กลุ่มผลงานกราฟิกดีไซน์ 22 ผลงาน​​​​ 6.กลุ่มผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่เกี่ยวข้องกับ โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้า พื้นที่ทํางานร่วมกัน อาคารชุด  6 ผลงาน 7.กลุ่มผลงานออกแบบระบบบริการและแพลตฟอร์มดิจิทัล จ4 ผลงาน รวมทั้ง78 ผลงาน จากสินค้าทั้งหมดที่นักออกแบบส่งเข้าร่วมประกวด 600 รายการ 

ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  กล่าวว่า เพื่อผลักดันการค้าระหว่างประเทศเชิงรุก และเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการไทย รางวัล DEmark เปรียบเสมือนเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการที่โดดเด่นด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและความเชื่อมั่นให้สินค้าของไทย สร้างจุดแข็งให้ตอบสนองความต้องการของตลาดโลกในเศรษฐกิจยุคใหม่ได้ 

“ ตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา มีสินค้าจากทั่วประเทศที่ได้รับรางวัล DEmark แล้ว 1,159 รายการ ได้รับรางวัล Good Design Award (G-mark) จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว 531 รายการ ในปีนี้ผลงานทั้ง 78 รายการที่ได้รับรางวัลจะได้ร่วมการประกวด G-mark  เราเห็นความตื่นตัวของนักออกแบบในกลุ่มกราฟิกดีไซน์มากขึ้นและได้รับรางวัลมากถึง 22 รายการ ทั้งนี้ จากการสำรวจช่วง 4 ปี ก่อนสถานการณ์โควิด19 บริษัทที่ได้รับรางวัล DEmark ประมาณ 50 แห่ง พบว่า ยอดการส่งออกสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 15% และกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ ด้วยการดีไซน์และความสร้างสรรค์ของนักออกแบบไทย สะท้อนถึงความมั่นใจของผู้บริโภคในต่างประเทศ” ภูสิต กล่าว 

ประอรนุช ประนุช  ผอ.สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กล่าวว่า การออกแบบสินค้าในปีนี้เน้นตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก ให้ความสำคัญกับการออกแบบสินค้าที่มีความสวยงาม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประโยชน์ใช้สอย มีความเป็นนวัตกรรม และคำนึงถึงการออกแบบยั่งยืนตามแนวทาง BCG MODEL ที่ใช้เทคโนโลยีเศรษฐกิจชีวภาพการจัดการทรัพยากรวัตถุดิบหมุนเวียน มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน   โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันส่งเสริมการออกแบบแห่งประเทศญี่ปุ่น (JDP) สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากรางวัล G-mark ญี่ปุ่น ร่วมพิจารณาตัดสิน DEmark และสนับสนุนผลงานที่ได้รางวัล DEmark เข้าร่วมประกวดรางวัล G-mark ญี่ปุ่น มาต่อเนื่อง  

สำหรับผู้คว้ารางวัล DEmark  ประอรนุช กล่าว จะได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น สามารถใช้โลโก้ DEmark เป็นเครื่องมือทางการตลาดส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการฟรี ได้ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศผ่านการโฆษณาในสื่อระดับโลก รวมทั้งนำสินค้าไปจัดแสดงนิทรรศการ  โดยผู้ที่ได้รับรางวัล DEmark 2023 จะได้เข้ารอบ 2 ของการประกวด G-Mark ญี่ปุ่นทันที และผู้ที่ได้รับรางวัล G-mark จะได้ร่วมจัดแสดงในงาน Good Design Exhibition 2023 ณ กรุงโตเกียว ปีนี้รางวัล G-mark จะประกาศผลต้นเดือนต.ค. 2566 ทั้งยังได้ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ในเวทีสำคัญด้านการออกแบบระดับโลก เช่น งาน Milan Design Week อิตาลี เป็นต้น

ประพล ชนะเสนีย์ ผอ.ด้านธุรกิจ บริษัท ดีเวอร์ฮูด เอชที จำกัด ผู้ออกแบบแอปพลิเคชั่น Get A คว้ารางวัล กล่าวว่า Get A เป็นแอปสำหรับการสอบออนไลน์ ออกแบบระบบการสอบทั้ง on-site และทางไกล เพื่อให้เกิดการวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปิดใช้มา 5 ปี เราออกแบบขั้นตอนการทำงานของแอปฯ ให้มีความเข้าใจง่าย เลือกใช้สีที่โดดเด่น น่าจดจำ เลือกใช้คำประกอบ คำอธิบายที่เตรงไปตรงมา  ที่สำคัญมีระบบป้องกันการทุจริต โดยผู้สอบเข้าสู่ระบบจะไม่สามารถเข้าสู่หน้าเว็บอื่นได้ ขณะนี้มีผู้ใช้งานกว่า 1 แสนคน  GetA รองรับการใช้งานทุกระบบและอุปกรณ์ต่างๆ  ทั้งไอแพด คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ ระบบสอบนี้แถบเอเชียยังพบน้อย  เร็วๆนี้ จะทดสอบใช้ระบบ GetA ในฮ่องกง คาดหวังหากเข้าร่วมประกวด G-mark จะถูกใจผู้ใช้งาน และเล็งเห็นถึงประโยชน์การใช้งานในระบบการศึกษา

ด้าน วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ นักออกแบบตัวอักษร คว้า 3 รางวัลการออกแบบฟอนต์ กล่าวว่า ฟอนต์ผัดไทยเป็นบุคลิกของตัวอักษรที่พัฒนามาจากลายเส้นของเส้นผัดไทย อ่านง่าย อ่านชัด ประกอบด้วย 3 น้ำหนัก ได้แก่ Regular SemiBold และ Bold เหมาะสำหรับใช้ในงานพาดหัว เป็นตัวประกาศในงานโปสเตอร์ เมนูอาหาร เป็นต้น ส่วนฟอนต์ 4 ขมัง ออกแบบให้ตอบโจทย์กับธีมภาพยนต์ 4 ขมัง เรื่องเกี่ยวกับเวทมนต์โบราณของภาคอีสาน แรงบันดาลใจจากอักษรไทน้อย ตัวอักษรโบราณอีสานที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว ทำให้รูปทรงที่มีเอกลักษณ์และมีมนต์ขลัง และฟอนต์พรินซิเพิ้ล เป็นฟอนต์อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แชมพูและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกาย ตัวอักษรจะทันสมัย ไม่มีฐานและอักษรไทยไม่มีหัว นำเสนอความเรียบง่ายที่มีความพิเศษ มีเอกลักษณ์ สื่อสารบุคลิกตรงไปตรงมาแต่ดูนุ่มนวล เป็นหญิงสาวที่มีความมั่นใจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พาณิชย์” รับลูก นายกฯ “ดูแลประชาชน” ลุยตรวจ ”ปั๊มน้ำมัน -ขนส่ง-สนามบิน“ ย้ำ ขอให้ประชาชนมั่นใจ เดินทางราบรื่นช่วงปีใหม่

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบเข้มสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ ครอบคลุมทุกการเดินทางของประชาชน ทั้งการตรวจสอบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ได้น้ำมันเต็มลิตร-เน้นย้ำผู้ประกอบการตามสถานีขนส่งปิดป้ายแสดงราคาให้ชัดเจน-

แบงก์ชาติ 'อย่านึกว่ารอด'!

ประเทศ "พ้นบ่วงมาร" ไปอีกบ่วง! เมื่อวาน (๒๔ ธ.ค.๖๗) ปลัดคลังแถลง กฤษฎีกาตีความทางกฎหมายและตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว

“สุชาติ” รมช. พาณิชย์ ยืนยันไม่ได้หายไปไหน เดินหน้าผลักดันส่งออก ชี้ ต้องการทำให้ FTA มีประโยชน์สูงสุด

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า “ตนได้ทำงานในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์อย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมาได้เดินหน้าทำงานต่อเนื่อง สร้างผลงานดันเจรจา FTA