3 เส้นทาง GEOPARK เชียงราย ย้อนเวลาหา'รอยเลื่อน-โยนกนคร'

สระมรกต ธรรมชาติอันแสนงดงาม ของอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จุดที่เคยรับน้ำตอนกู้วิกฤติ13ชีวิตหมูป่า

ในแง่ธรณีวิทยา ถือว่าจังหวัดเชียงราย เป็นดินแดนแห่งรอยเลื่อน โดยมีรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่ยังมีพลัง พาดผ่านพื้นที่ของจังหวัด  รอยเลื่อนในเชียงรายจึงถูดจัดให้เป็น”อุทยานธรณี “หรือ  GEOPARK ซึ่งประเทศไทยเองก็มุ่งหวังให้ยูเนสโก พิจารณายกระดับให้อุทยานธรณีเชียงราย ขึ้นเป็นอุทยานธรณีโลกชีอีกแห่ง นอกเหนือจากที่ประกาศไปแล้ว  14แห่ง

ทั้งรอยเลื่อน และการล่มสลายของ” ราชอาณาจักรโยนกนาคพันธุ์”ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณอายุประมาณ 1,500 ปีที่แล้ว  ปัจจุบันคือพื้นที่จังหวัดเชียง จึงเป็นความผูกโยงร้อยรัดกันทั้งในแง่ตำนาน และความเป็นวิทยาศาสตร์   โดยพงศาวดารหลายฉบับที่กล่าวถึงการล่มสลายอาณาจักรโยนก ฯ และการเกิด”เวียงหนองหล่ม” ว่าได้เกิดเหตุอาเพทขึ้น หลังจากชาวบ้านฆ่าปลาไหลเผือกแล้วแจกจ่ายกันเป็นอาหาร  มีเพียงแม่ม่ายอยู่เพียงรายเดียว ที่ไม่ได้รับแจก  เพราะสังคมสมัยนั้น ถือว่าคนเป็นแม่ม่าย เป็นคนต้อยต่ำ ไม่ค่อยมีใครคบค้าสมาคม   หลังจากกินปลาไหลเผือกกันไปแล้ว คืนนั้นได้เกิดอาเพทน้ำท่วม แผ่นดินถล่มยุบหายไปราวกับธรณีสูบ  เหลือแต่เพียงบริเวณบ้านของแม่ม่ายเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่แผ่นดินไม่ยุบ  ทำให้บ้านของแม่ม่ายกลายสภาพไปเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ ส่วนพื้นที่อื่นๆ กลายเป็นหนองน้ำทั้งหมด  

หน้าโบสถ์วัดป่าหมากหน่อ มีการจำลองตัวปลาไหลเผือก ที่มาของตำนานเวียงหนองหล่ม

แม้จะผ่านมาพันกว่าปี แต่เรื่องเล่าปรัมปราของปลาไหลเผือก ก็ยังสืบต่อกันมา ยิ่งถ้าใครได้มาวัดป่าหมากหน่อ ที่อยู่ในต.จันจว้า อ.แม่จัน   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเวียงหนองล่ม  โดยมีการสันนิษฐานว่าที่ตั้งของวัดแห่งนี้ คือบ้านของแม่ม่ายที่ไม่ได้กินปลาไหลเผือก  ก็จะได้ฟังเรื่องราวปลาไหลเผือก เกาะแม่ม่าย และเวียงหนองหล่ม  

ภาพเขียนตำนานปาไหลเผือก ที่มาทำให้เกิดเวียงหนองหล่ม ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันจว้าวิทยา

ในความเเป็นอุทยานธรณี หรือ GEOPARK   ของเชียงราย คนแม่จันบอกว่า  ทุกวันนี้แผ่นดินใต้พิภพที่เป็นบ้านของพวกเขา ยังคงสั่นไหวอยู่บ่อยครั้ง แม้จะเป็นระดับไม่รุนแรงประมาณ 2ริกเตอร์ และจุดที่สั่นอยู่ลึกลงไปมาก  จึงไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน    แต่พวกเขาก็รับรู้อยู่เสมอ ว่ากำลังอยู่อาศัยบนรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก  อีกทั้ง ตำนานการเกิดเวียงหนองหล่ม เกาะแม่ม่าย ก็ยิ่งตอกย้ำว่าพื้นที่ตรงนี้ เคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมาแล้ว

อาจกล่าวได้ว่า GEOPARK เชียงราย  เป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีการผูกโยงกันระหว่างเหตุการณ์แผ่นดินไหว กับการล่มสลายของนครโบราณ ซึ่งทุกวันนี้ยังมีหลักฐานทั้งในแง่กายภาพของพื้นที่ และหลักฐานตามตำนานปรากฎอยู่ จึงทำให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรืออพท.เห็นความโดดเด่นนี้ และจัดให้เชียงราย เป็นพื้นที่พิเศษด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอันดับที่9  โดยมองว่า 3 อำเภอในเชียงรายทั้งอำเภอ เชียงแสน แม่สายและแม่จัน ล้วนมีความพิเศษ มีจุดท่องเที่ยวที่หลายคนยังไม่รู้จัก  เพราะมีทั้งความเป็นแหล่งธรณีวิทยาธรรมชาติอันงดงาม แหล่งประวัติศาสตร์  และแหล่งบ่อเกิดวัฒนธรรมล้านนา

บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นโคลนร้อน อันเกิดจากรอยเลื่อนที่มีการปะทุความร้อนขึ้นมาใต้ดิน เป็นอันซีนอีกแห่งหนึ่งของเชียงราย

“ก่อนหน้านี้ ทั้งอพท. และกรมทรัพยากรธรณีได้ทำเอ็มโอยู ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาอุทยานธรณีเชียงรายมาเป็นระยะ ๆ พร้อมกับมีการลงสำรวจศักยภาพของพื้นที่โดยรอบอุทยานธรนี เชียงราย พบว่า เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่น ทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรม ชุมชนท้องถิ่นก็มีความเข้มแข็ง  อพท. จึงได้บรรจุแนวทางการพัฒนาและการบริหารจัดการธรณีวิทยา (Geopark) ของจังหวัดเชียงราย เข้าไปในแผนยุทธศาสตร์  การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  ระยะเวลา 6 ปี”วัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพท.บอกเล่าความเป็นมาของโครงการ

วัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพท บอกเล่าแผนพัฒนาGEOPARKเชียงราย เป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน

 การขับเคลื่อนGeopark เชียงราย ให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษอย่างยั่งยืนนี้  อพท.ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพะเยา ทำโครงการวิจัย  เพื่อหาข้อสรุป รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่ดีที่สุด  พร้อมกับ จัดกิจกรรมทดสอบ 3เส้นทางท่องเที่ยว ในพื้นที่ อ.เชียงแสน แม่สาย และแม่จัน  ได้แก่ เส้นทางที่ 1 “รอยเลื่อนอดีตโยนกนคร” อัศจรรย์ธรรมชาติ ธรณีวิทยา เส้นทางที่ 2 สู่อดีตเมืองเก่าเชียงแสน  3.เส้นทางเสน่ห์แห่งตำนาน “ถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน”

เส้นทางที่ 1 “รอยเลื่อนอดีตโยนกนคร” อย่างที่เล่าไปแล้ว ถึงการล่มสลายอาณาจักรโยนกฯ เรื่องราวยังไม่จบ หญิงม่ายที่ไม่ได้กินปลาไหลเผือก ซึ่งต่อมาทราบภายหลังว่าชื่อเจ้าแม่บัวเขียว  ต่อมาได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญหลังการล่มสลายโยกนกนครฯ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเวียงปรึกษาขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็คือ เชียงแสนน้อย ตั้งอยู่ที่ บ้านสบคำ ต.เวัยง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย หลังจากสถาปนาเวียงเชียงแสน  เวียงปรึกษามีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน

วัดดอยกู่แก้ว วัดอีกแห่งที่ตั้งอยู่บนลอยเลื่อน

ส่วนวัดปาหมากหน่อ สร้างขึ้นเมื่อใดและถูกทอดทิ้งไว้ร้างนานเท่าใดไม่มีหลักฐานปรากฎ แต่ต่อมาวัดแห่งนี้เคยเป็นที่พำนักของครูบาบุญชุ่ม เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร ที่วัดป่าหมากหน่อยังมีสถานที่สำคัญคือ เป็นที่ตั้งของพระธาตุโยนกนคร สถานที่แห่งเดียวในโยนกครที่ไม่ล่มสลายตามตำนาน ภัยพิบัติเวียงหนองหล่ม

ข้อมูลจากจุดชมวิววัดดอยกู่แก้ว ที่บอกเล่าถึงลอยเรื่อนแม่จัน ที่เป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง


จากวัดป่าหมากหน่อ เราเคลื่อนคณะไปวัดดอยกู่แก้ว เพื่อตามรอยตำนานไปชมพื้นที่ จุดชมวิวเวียงหนองล่ม พื้นที่ตรงนี้เป็นหลักฐานประจักษ์พยานว่า ที่นี่เป็นดินแดนแห่งรอยเลื่อนอย่างแท้จริง  เพราะมองไประยะไกล ก็จะเห็นอาณาบริเวณที่เป็นบ่อโคลนร้อน    ซึ่งเกิดจากรอยเลื่อน ขยับตัว ความร้อนใต้ดินปะทุขึ้นมาบนผืนดิน  จากการสำรวจของคณะอาจารย์ม.พะเยา บอกว่า โคลนตรงนั้นมีแร่ธาตุสำคัญมากมาย สามารถพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้  อย่างดี แต่มีอุปสรรคตรงที่การจะเดินเข้าไปถึงหนองบ่อโคลนไม่ใช่เรื่องง่าย เรียกว่าต้องฝ่าดงลึกเข้าไปไม่ต่ำกว่า  12 กม.แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตหากมีการพัฒนาเส้นทางให้ดีขึ้น นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเชียงราย ก็อาจจะได้อาบโคลนร้อนก็เป็นได้

.หินที่ได้จากขยับตัวของลอยเลื่อน ส่วนด้านเรียบด้านขวามือ แสดงให้เห็นว่ารอยเลื่อนได้ขยับตัวมาทางด้านซ้าย


ออกจากวัดดอยกู่แก้ว เส้นทางทัวร์ มุ่งไปที่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเวียงหนองล่มที่โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม ซึ่งเก็บหลักฐานทางธรณีวิทยาและโบราณวัตถุไว้ พร้อมกับกินมื้อเที่ยงที่ชุมชนสันทางหลวง ถิ่นที่อยู่ของขาวยอง ซึ่งมีภูมิปัญญาดั้งเดิมในการทอผ้า รวมทั้งการปักผ้าที่เป็นอัตลักษณ์

วันรุ่งขึ้นเป็นเส้นทางที่2 สู่เมืองเก่าเชียงแสน  แม้จะไปเชียงรายหลายครั้งนับไม่ถ้วน แต่การสำรวจเส้นทางเชียงแสนครั้งนี้ถือว่าเป็นการพาไปรู้จักเชียงรายให้ดียิ่งขึ้น  แต่ก่อนแต่ไร ไปเชียงราย ก็จะไปแต่สามเหลี่ยมทองคำ แหล่งปลูกชา กาแฟ หรือไปวัดร่องขุ่น ที่ทันสมัยหน่อยก็มีสิงห์ปาร์ก  แต่ในแง่มุมประวัติศาสตร์ความเป็นล้านนาแบบถึงแก่น เรียกได้ว่ายังไม่มีประสบการณ์

กำแพงเมืองเชียงแสน อายุหลายร้อยปี ยังมสภาพสมบูรณ์หลงเหลือให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ 

จากตำนานปลาไหลเผือก เวียงหนองล่ม  รอยเลื่อนธรณีพิโรธ ที่ไปสัมผัสในเส้นทางแรก ก็มาถึงเชียงแสน ที่เป็นเมืองเก่าอายุหลายร้อยปี   จากหลักฐานโบราณคดีสันนิษฐานว่า เชียงแสนสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 19  แม้จะเป็นพื้นที่ไม่กว้างใหญ่มาก แต่เชียงแสนมีวัดมากถึง 76 วัด  ปัจจุบันมีสภาพเป็นวัดร้างถึง 72 วัด และเป็นวัดที่มีพระอาศัยอยู่เพียง 4วัด  

การทดสอบเส้นทางในเชียงแสน เป็นการนั่งรถซิตี้ทัว  รถจะวิ่งไปรอบๆเมืองที่เป็นแนวกำแพงเมืองเก่า  ที่ยังคงหลงเหลือซากอิฐก้อนใหญ่ๆ แนวกำแพงบางจุดทอดยาวมาก และบางจุดเป็นแนวกำแพงเมืองแบบสองชั้น ไกด์เล่าว่า เชียงแสนเป็นเมืองที่สร้างตามความเชื่อ มีประตูเมืองทั้่งหมด  11ประตู  ส่วนกำแพงเมืองสองชั้นมีไว้เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู และตรวจตราคนเข้าออกเมือง ตรงประตูเมืองสองชั้นนี้ทุกวันนี้ คนเชียงแสนยังใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาเหมือนในอดีต

วัดพระธาตุป่าสัก ต้นแบบเจดีย์ล้านนาในภาคเหนือ ร่มรื่นพร้อมก้บความขรึมขลัง

รถวิ่งไปเรื่อยๆ สองข้างทางก็จะเห็นวัดร้างเป็นระยะ ๆสภาพของวัดร้างก็คือ การหลงเหลือซากอิฐปรักพัง  มองดูแล้วก็น่าจะรู้ว่าเป็นโบราณสถานอย่างไม่ต้องสงสัย ไกด์บอกว่า จากการสืบค้นของกรมศิลปากร สามารถระบุชื่อวัดแต่ละแห่งได้เกือบทั้งหมด มีเพียงบางวัดที่ไม่สามารถสืบค้นระบุชื่อได้ ก็จะใช้หมายเลขแทน   เช่นวัดหมายเลข 16 มีการสันนิษฐานว่าจากลักษณะเจดีย์ น่าจะเป็นต้นแบบวัดภูมินทร์ของจ.น่าน

แต่ไฮไลท์สำคัญของการชมวัดในเชียงแสนอยู่ที่  วัดพระธาตุป่าสัก วัดเก่าแก่ที่เป็นต้นแบบเจดีย์ล้านนาในภาคเหนือ  ได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญชัย โดยรอบมีเจดีย์องค์เล็กประดับอยู่ที่มุมทั้งสี่ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานศิลปะสุโขทัย พุกาม และหริภุญไชยเข้าด้วยกัน จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเจดีย์ล้านนา  และที่มาของชื่อวัดพระธาตป่าสัก็มาจาก พระเจ้าแสนภู กษัตริย์องค์ที่ 3 พระโอรสในพระเจ้าชัยสงครามแห่งราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. 1930 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ทรงโปรดฯ ให้ปลูกต้นสักล้อมรอบวัด จำนวน 300 ต้น  วัดจึงได้ชื่อว่าวัดป่าสักตั้งแต่นั้นมา

วัดหมายเลข16 ในเชียงแสน

ช่วงบ่ายเราไปชุมชนท่องเที่ยวบ้านปางห้า ที่อยู่เหนือสุดประเทศไทย มีเพียงน้ำรวกกั้นชายแดนไทย-พม่า จุดเด่นของที่นี่คือ เป็นแหล่งผลิตกระดาษสาเก่าแก่ ชื่อ จินนาลักษณ์  ก่อนยุคดิจิทัลครองโลก กระดาศสาของชุมชนนี้ เคยวางในห้างใหญ่ ในยุโรปและอเมริกามาแล้ว อย่างยาวนาน ในรูปแบบของการ์ด อวยพร ในโอกาสต่างๆ   แต่พอช่วงหลังโซเชียลครอบงำโลก คนใช้กระดาษในการสื่อสารน้อยลง การส่งออกกระดาษสา จึงซบเซาไปด้วย ปัจจุบันชุมชนได้ปรับตัวหันมาเน้นตลาดในประเทศแทน

ที่บ้านปางห้า ยังมีกิจกรรมทำกระดาษสาให้นักท่องเที่ยวได้สนุก ทดสอบฝีมือด้วย ออกจากบ้านปางห้า  เราก็ไปกันที่ศูนย์สมุนไพรชุมชนบำบัดบ้านม่วงคำ  ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย ที่นี่มีบริการนวดอบสมุนไพร  แต่ทีเด็ด คือ การพอกเข่าด้วยดินปลวก ช่วยบรรเทาอาการปวดเข่า สบายขาได้อย่างดี

วันที่สาม เป็นการทดสอบเส้นทางที่ 3 ที่ปักหมุดช่วงเช้าไว้ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน  และไปกินมื้อเที่ยง พร้อมชิมกาแฟที่ดอยผาหมี จุดแรกคือถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน   ที่นี่ได้รับการต้อนรับจาก กมล คุณงามความดี  หรือคุณรัก ซึ่งสมัยที่ทีมฟุตบอล 13หมูป่า ติดถ้ำเมื่อ 5ปีก่อน เขาอยู่ในฐานะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของอุทยานถ้าหลวงฯ และมีประสบการณ์ร่วมตั้งแต่ต้นจนจบในภารกิจกู้ภัย 13ชีวิตหมูป่า ซึ่งปัจจุบันคุณรัก สามารถสอบเป็นพนักงานพิทักษ์ป่าได้แล้ว

หน้าถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ปลายเดือนสิงหาฯ น้ำขึ้นสูงประมาณ 20ซม.ไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปด้านใน

คุณรัก ต้อนรับด้วยการเล่าย้อนเหตุการณ์กู้ภัยช่วยชีวิตทีมหมูป่า ซึ่งสามารถตรึงคนฟังให้จดจ่อได้ในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง  เกร็ดแง่มุมรายละเอียดของเหตุการณ์บางอย่างคนนอกเหตุการณ์อาจไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่ถึงเหตุการณ์ช็อกโลก จะผ่านมา 5ปีแล้ว เมื่อได้ฟังจากปากคำคนที่อยู่ในเหตุการณ์อีกครั้ง  ก็สามารถเรียกอารมณ์ความรู้สึกเศร้า ระทึกใจได้อีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องราวการตัดสินใจ ของ” ผู้ว่าหมูป่า” ทนงศักดิ์ โอสถธนากร ผู้วายชนม์  ทุกครั้งที่คุณรักกล่าวถึงจะเต็มไปด้วยความเคารพยกย่อง อีกทั้งเรื่องราวของจ่าเแซมที่เสียชีวิตเมื่อครั้งกู้ภัย ก็ทำให้รู้สึกเต็มตื้นกับการเสียสละของจ่าแซม

กมล คุณงามความดี เล่าเหตุการณ์กู้ภัยช่วย13ชีวิตทีมหมูป่า

นอกจากนี้ คุณรักยังเล่าถึงตำนานรักของเจ้าแม่นางนอน ที่มีศาลของเจ้าแม่สองจุดบริเวณก่อนถึงหน้าถ้ำจุดหนึ่ง และตรงหน้าถ้ำอีกจุดหนึ่ง เป็นจุดที่คนมาเยี่ยมเยือนถ้ำหลวงจะต้องสักการะ 

อนุเสารีย์จ่าแซม
ศาลเจ่าแม่นางนอน หน้าถ้ำหลวง



จบเส้นทางที่ดอยผาหมี ที่ต้อนรับด้วยอาหารแบบชนเผ่า เน้นรากชู ที่ถือว่าเป็นเครื่องปรุงรสพื้นเมือง พร้อมด้วยกาแฟที่บดกันสดๆ โดยใช้ครกตำจนละเอียด ชงออกมาแล้ว กลิ่นกรุ่นรสคมเข้มมาก

สูดอากาศให้เต็มปอดดอยผาหมี

จากการทดสอบ 3เส้นทาง GEOPARK ได้บทสรุปว่า เชียงราย ช่างเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า  ทั้งเส้นทาง  รอยเลื่อนธรณี    ตำนานเก่าแก่  หรือเมืองเชียงแสนที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายอารยธรรมล้านนา และความมหัศจรรย์ของถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ซึ่งถือว่าเป็นจุดUNSEEN ที่คนนอกพื้นที่ไม่เคยรู้มาก่อน .

เมนูอาหารพื้นเมืองที่แสนอร่อย
เทือกเขาขุนน้ำนางนอนในวันที่หมอกปกคลุม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สิงห์ปาร์ค'ร่วมฉลองครบ10ปี 'เชียงราย โร้ด คลาสสิค 2024' กระตุ้นเศรษฐกิจ-สู่เมืองกีฬา

บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ร่วมกับ สิงห์ปาร์ค เชียงราย, จังหวัดเชียงราย, สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย และเครือข่ายชมรมจักรยาน จังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมปั่นจักรยาน “เชียงราย โร้ด คลาสสิค 2024” ปีที่ 10 ที่ สิงห์ปาร์ค เชียงราย

“พิพัฒน์” จ้างงานเร่งด่วน ระดมช่างไฟฟ้าซ่อมในอาคารกว่า 100 หลัง สร้างเชียงรายโมเดล ช่วยฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลดให้ประกอบอาชีพได้

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน KICK OFF กิจกรรมการให้บริการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในอาคารบ้านเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย

TSB ลุยช่วยสังคมต่อเนื่อง จับมือนักธุรกิจเอกชน ฟื้นฟูน้ำท่วมเชียงราย

ไทย สมายล์ บัส และบริษัทในเครือ ร่วมกับ มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ และนักธุรกิจภาคเอกชน เดินหน้าสานต่อโครงการ “สังคมร่วมใจ คืนความสดใสให้วัดและโรงเรียน จ.เชียงราย” เร่งฟื้นฟูวัดและโรงเรียนน้ำท่วม

โฆษกศปช. เผยเคลียร์พื้นที่น้ำท่วมเชียงรายเสร็จเกือบ 100% แล้ว

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เสียงจากใจไทยคู่ฟ้า” ตอนหนึ่งว่า สรุปศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.ส่วนหน้า) โดย พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม

เคลียร์ชัด! 'กรมป่าไม้' ตรวจสอบแล้ว 'ไร่เชิญตะวัน' พระ ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่า

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะโฆษกกรมป่าไม้ กล่าวว่า จากกรณีที่สาธารณชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจและติดตามข่าวการอนุญาตใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย