'ล้งทุเรียน'ชายแดนใต้'บ้านบาดูปูเต๊ะ' บทพิสูจน์'งานวิจัย'สร้างเศรษฐกิจได้

ต้องยอมรับว่า “ล้ง” หรือผู้ประกอบการรายใหญ่ที่รับซื้อผลไม้ในไทย อันหมายถึงผลไม้พวก ทุเรียน   มังคุด ลองกอง ที่ส่งออก เจ้าของกิจการมักจะเป็นของคนจีน หรือเป็นคนไทยส่วนน้อย   แต่”ล้ง”ที่เป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของชาวบ้าน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง   โดยเฉพาะถ้าเป็นธุรกิจส่งออกทุเรียนไปจีน ถือว่าน้อยมากหรีอแทบไม่มีเลยก็ว่าได้  แต่สำหรับที่บ้านบาดูปูเต๊ะ อ.ธารโต จ.ยะลา ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่าง เป็นปรากฎการณ์ เพราะชาวบ้านลุกขึ้นมารวมตัวกันทำ”ล้ง”ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน ที่ชื่อว่า”วิสาหกิจชุมชนพัฒนาคุณภาพทุเรียนบ้านบาดูปูเต๊ะ”   ขับเคลื่อนธุรกิจส่งออกทุเรียนที่มีผลลัพธ์น่าพอใจ พลิกสถานการณ์ทุเรียนชายแดนใต้ ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้เต็มที่

แต่กว่าจะเกิดเป็นวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ได้  ส่วนหนึ่งเป็นผลงานการเข้าไปช่วยเหลือผลักดัน จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท) หน่วยงานในสังกัด กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (อว) ที่เข้าไปนำงานวิจัยมาช่วยเหลือเกษตรกรธารโต ที่ปลูกทุเรียนเป็นส่วนมาก

ก่อนหน้านี้ ในหน้าทุเรียนใต้ ผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณเดือน ก.ค.-ก.ย. ซึ่งจะออกหลังจากทุเรียนภาคตะวันออก หมดฤดูไปแล้ว  การส่งออกทุเรียนไปจีนในช่วงนี้จึงเป็นทุเรียนใต้เกือบทั้งหมด แต่ทุเรียนยะลาส่วนใหญ่ กลับไม่ได้ รับการยอมรับ เหมือนทุเรียนชุมพร ที่ส่งออกไปจีนเกือบทั้งหมด    ปัญหาหลักของทุเรียนยะลาอยู่ที่ “หนอนรู” ที่เจาะชอนไชเข้าไปในลูกทำให้ไม่ผ่านมาตรฐานส่งออก ผลผลิตที่ได้มีเพียง 20% เท่านั้น ที่สามารถส่งไปล้งที่ชุมพรที่ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ เพื่อส่งออกไปจีนได้ ที่เหลือขายในประเทศ นอกจากนี้ ผลผลิตของทุเรียนยะลายังน้อยกว่าทุเรียนจันทรบุรี ระยอง และตราดหลายเท่าตัว โดยผลิตได้ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ สวนแถบภาคตะวันออก ผลิตได้ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่

ปัญหาดังกล่าว ทำให้บพท.ได้ร่วมมือกับสภาเกษตรกร จ. ยะลา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยนำงานวิจัยเข้าไปช่วย เริ่มตั้งแต่จากสำรวจ การเก็บข้อมูล สถิติ ก่อนสรุปปัญหาและหาทางออกให้กับเกษตรกร หลังผ่านไป 3 ปี ผลผลิตเกษตรกรเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผอ.บพท.


ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า   บพท. ได้ใช้ชุดความรู้จากงานวิจัย ตลอดจนกระบวนการวิจัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และบริบทพื้นที่เข้าไปสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ทุเรียนในจังหวัดชายแดนใต้ ควบคู่ไปกับการเสริมพลังให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนรวมกลุ่มกันในลักษณะเครือข่ายเป็นวิสาหกิจชุมชน เชื่อมโยงกับกลไกรัฐ และกลไกธุรกิจ กระทั่งส่งผลให้ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกทุเรียนมากที่สุดเมื่อเทียบกับจังหวัดชายแดนใต้อื่น

“ทุกวันนี้ชุดความรู้จากงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตทุเรียน ซึ่ง บพท. ให้การสนับสนุน และพลังจากภาคีความร่วมมือหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และสภาเกษตร ทำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน สามารถขายทุเรียนได้ราคาดีขึ้นมาก มีความมั่นคงทางอาชีพ”

ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวต่อไปว่า ผลพลอยได้จากชุดความรู้ในการพัฒนาคุณภาพและผลผลิตทุเรียน มีส่วนอย่างสำคัญต่อการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นการช่วยเสริมพลังแก่วิสาหกิจชุมชนชาวสวนทุเรียน โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนพัฒนาคุณภาพทุเรียนบ้านบาตูปูเต๊ะ(ธารโต) ซึ่งผลจากการยกระดับการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเสริมขีดความสามารถแก่เกษตรกรในการเป็นผู้ประกอบการ เป็นการสร้างความเป็นธรรมและลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้อย่างแท้จริง

“ตอนแรกที่บพท.เข้ามาในพื้นที่พบว่า ที่นี่มีเกษตรกรรายย่อยเยอะมาก  ชาวบ้านไม่มีการจัดการสวน ทุเรียนมีปัญหาหนอนเยอะ  ไม่มีล้งรับซื้อผลผลิต ที่เป็นของชาวบ้าน  ชาวบ้านจึงถูกกดราคา เพราะคุณภาพส่วนใหญ่ยังไมได้  ซึ่งตอนแรกเราคิดที่จะช่วยเขาเรื่องตลาด  คิดแค่ทำในรูปแบบของสหกรณ์  ไม่ได้คิดว่า จะต้องเป็นล้งใหญ่โต เหมือนที่เห็นทุกว้นนี้ “ดร.กิตติกล่าว  

นายมะเสาสดี ไลสากา

งานวิจัยที่เข้าไปช่วย นายมะเสาสดี ไลสากา หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจ.ยะบา กล่าวว่า การช่วยชาวสวนทุเรียนธารโต ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ผสมผสานกับหลักทางศาสนา ไปพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ทำให้ทุเรียนมีคุณภาพดีขึ้น ขายได้ราคามาก  ส่วนความรู้ในการพัฒนาทุเรียน ใช้ข้อมูลจากทั้งที่เก็บเอง เพื่อนำมาวางแผน และนำความรู้เรื่องการบริหารจัดการที่ดี ที่บพท.แนะนำมาให้ชาวบ้าน

“ที่สำคัญ การพัฒนายังนำมาประยุกต์เข้ากับหลักศาสนา  5 ประการ ได้แก่ 1.อามานะ คือ ความรับผิดชอบต่อโลกและเพื่อนมนุษย์ 2.ชูรอ คือ การปรึกษาหารือร่วมกัน 3.นาซีฮัต คือการตักเตือนซึ่งกันและกัน 4.มูฮาซาบะห์  คือการตรวจสอบติดตามประเมินผล 5.ญามาอะห์ คือ การร่วมหมู่ “

ประเด็นปัญหาคุณภาพทุเรียน ซึ่งมีการเข้าไปให้ความรู้ชาวบ้าน เรื่องการกำจัดหนอนรู ซึ่งทางบพท.และสภาเกษตรฯ ชี้ให้ชาวบ้านเห็นว่า ทำไมทุเรียนภาคตะวันออก แก้ปัญหาหนอนรูได้ แต่ทำไมทุเรียนยะลาทำไม่ได้  และการแก้ปัญหาหนอนต้องทำอย่างไร โดยเฉพาะการให้ยาฆ่าหนอน ต้องทำสม่ำเสมอ  นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องการให้ปุ๋ย เพื่อบำรุงต้นและผลผลิต ซึ่งก่อนหน้านี้ ชาวบ้านไม่ได้สนใจเรื่องการทำนุบำรุงทุเรียน เพราะทุเรียนส่วนใหญ่ปลูกบนเชิงเขา การปลูกเป็นไปไนลักษณะปล่อยไว้ตามธรรมชาติ เหมือนให้เทวดาเลี้ยงผลผลิตจึงต่ำ

ทุเรียนหมอนทองธารโต พูเหลืองใหญ่

แต่หลังจากแก้ปัญหาคุณภาพทุเรียนได้  ช่วงแรก ผลผลิตเพิ่มเป็น 470-500 กก./ไร่ ปัจจุบันเพิ่มเป็นประมาณ 1พันกว่ากก./ไร่  นอกจากนี้ เกษตรกรขายทุเรียนในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม2-3เท่าตัว จากเดิม 50 บาท/กก. ก็เพิ่มมาเป็น 100-150บาท/กก.

อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า ชาวบ้านที่นี่ปลูกทุเรียนกระจัดกระจาย ไม่มีการรวมตัวกัน  การจะให้ชาวบ้านเปลี่ยนวิถีดั้งเดิมทั้งการปลูกดูแลทุเรียน ไปสู่ระบบใหม่ที่เป็นไปตามหลักวิชา ไม่ใช่เรื่องง่าย  ซึ่งทางการโครงการวิจัย ได้โน้มน้าวเกษตรกรปลูกทุเรียน 5ราย ให้หันมาปลูกดูแลทุเรียนตามหลักวิชาการ ซึ่งต่อมาสวนของเกษตรกรกลุ่มนี้มีผลผลิตมากขึ้น และสามารถแก้ปัญหาหนอนได้อย่างชัดเจน ต่อมา ทั้ง 5 คนดังกล่าวได้รวมตัวกันตั้ง “วิสาหกิจชุมชน”รับซื้อทุเรียน  

จากจุดเริ่มต้นที่มีสมาชิกแค่ 5 คน ปัจจุบัน กลุ่มมีสมาชิกทั้งสิ้น 398 ราย ใน 11ชุมชน ละ20เครือข่าย ครอบคลุมพื้นที่ 4อำเภอ ในจ.ยะลา ได้แก่ ธารโต เบตง บันนังสตา กรงปินัง รามัน และอ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ซึ่งมีพื้นที่ปลูกรวมกัน  6,000 ไร่  ถือว่าในช่วงเวลาแค่5-6ปี กลุ่มวิสาหกิจแห่งนี้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี2563 สามารถส่งออกทุเรียนไปจีนได้ 27 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค่า300 ล้านบาท

อีกประเด็นที่ถือว่าวิสาหกิจฯแห่งนี้ มีความเป็นต้นแบบการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อย่างครบวงจร นั้นก็คือ การนำทุเรียนตกไซส์ ทุเรียนมีหนอนรู นำมาสร้างรายได้โดยการนำแกะและแช่แข็ง โดยมีการลงทุนสร้างห้องเย็นเอง ถือว่าเป็นกลุ่มเกษตรกรรายแรกที่เป็นเจ้าของห้องเย็น ส่งออกทุเรียนแช่แข็ง ไปประเทศจีน ซึ่งทางจีนจะนำไปแปรรูป กระบวนการดังกล่าวถือว่าเป็นการสร้างมูลค่าให้กับทุเรียนที่ส่งออกแบบเป็นลูกไม่ได้

ผลจากการเกิด”ล้งชุมชน” ที่มีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเป็นเจ้าของ ทำให้เกษตรกรผู้ปลุกทุเรียนของที่นี่มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน  โดยก่อนหน้านี้  1ใน 5 รายแรกที่บุกเบิกตั้งล้งในชุมชน เคยขายทุเรียนได้ปีละ 2แสนบาท เพราะปลูกแบบไม่ได้ดูแลจริงจัง แต่หลังจากนำความรู้ไปใช้ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาหนอนรูน้อยลง ปีที่2 จึงขายได้ 1 ล้านบาท  ปีนี้ขายได้ 1.2ล้านบาท สามารถออกรถใหม่ได้คันหนึ่งเลย

ทั้งนี้ คาดว่า ในปี 2566 เกษตรกรในกลุ่มจะมีผลผลิต 5พันตัน มูลค่า 750 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2565 ถึง43% และวางแผนที่จะขยายจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก คิดเป็นพื้นที่  4,000 ไร่ ในปี 2570 ส่วนการพัฒนาทุเรียนของบ้านบาตูปูเต๊ะ ยังไม่หยุดเท่านี้ เพราะที่นี่มี”ทุเรียนสะเด็ดน้ำ”ที่ถือว่าเป็นสินค้า GI ของจ.ยะลา ที่สามารถทำราคา และเป็นที่ต้องการของตลาดได้อีก

ล้งวิาสาหกิจชุมชน บ้านบาดูปูเต๊ะ ที่มีขนาดใหญ่โตมาก 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ยะลา' คุมเข้ม 24 ชม. ระวังคาร์บอมบ์ หลังสายข่าวเตือนมีป่วนช่วง 15-30 พ.ย.

พ.ต.อ.จิรวัฒน์ ดูดิง ผกก.สภ.เบตงได้อำนวยการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ เพิ่มมาตรการเข้ม หลังมีการแจ้งเตือน ระหว่างวันที่ 15 – 30 พ.ย. 67 ให้เฝ้าระวั

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง