1 ใน 10 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์อาจไม่รู้ตัวกำลังมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ(PCOS)

การมีสิวบนใบหน้าในช่วงเป็นวัยรุ่นอาจทำให้สาว ๆ หลายคนกังวลใจแต่หลายคนก็หวังว่าเมื่อพ้น “วัยฮอร์โมน” ไปแล้ว สิวน่าจะเบาลง น้ำหวาน (นามสมมติ)เป็นคนหนึ่งที่เชื่อเช่นนั้น แต่พอเข้าสู่วัย 30 ปีกว่า ๆ สิวก็ยังอยู่ แถมมีขนคล้ายหนวดขึ้น และผมร่วง!ความกังวลยกระดับเป็นความเครียด  จากการไปพบแพทย์ผิวหนังเป็นประจำ เธอได้รับคำแนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์ และได้รับการวินิจฉัยในทันทีว่าเธอเป็นหนึ่งในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic OvarySyndrome: PCOS) ซึ่งเกิดขึนได้กับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 1 ใน 10 คน“

ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภาวะอ้วน สิวขึ้น ขนดก ผมร่วง อาจบั่นทอนความมั่นใจในรูปลักษณ์แต่ที่มากกว่านั้นคือโรคเรื้อรังและร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นตามมา หากไม่ดูแลรักษากลุ่มอาการ PCOSอย่างตรงจุดและทันท่วงที  ซึ่งกลุ่มอาการนี้ที่ผู้หญิงหลายคนอาจกำลังเป็นโรคนี้ แต่ไม่รู้PCOS คืออะไร ซึ่งกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นอาการภาวะทางต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 5-10% ในผู้หญิงตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยใกล้หมดประจำเดือน อายุ 15 – 45 ปีและนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงจำนวนหนึ่งมีบุตรยาก

“ผู้ที่มีกลุ่มอาการ PCOS จะมีถุงน้ำเล็ก ๆ ในรังไข่ ซึ่งก็คือถุงไข่เป็นจำนวนมาก เกิดมาจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหลายระบบในร่างกายที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล อาการหลัก ๆ ของผู้ที่เป็น PCOS คือประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่สม่ำเสมอ ขาดประจำเดือนนาน ๆ ภาวะอ้วน น้ำหนักมาก ผิวมัน มีสิวและขนดกกว่าปกติ   ทั้งนี้ อาการเหล่านี้จะรุนแรงน้อยลงเมื่อใกล้หมดประจำเดือนหรือเข้าสู่ภาวะวัยทอง  และอาการ PCOS มีหลากหลาย ตั้งแต่อาการน้อยไปจนถึงมีอาการร่วมหลายอย่าง แตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน

แต่อาการที่เด่นชัดสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้1. ประจำเดือนผิดปกติ รอบการตกไข่ไม่ปกติ บ้างมีรอบประจำเดือนนานกว่าปกติบ้างมีถี่กว่าปกติ บ้างขาดประจำเดือน 3-4 เดือน หรือมีประจำเดือนน้อยกว่าปีละ 8 ครั้ง  2. ฮอร์โมนเพศชายมากผิดปกติปกติ เกิดจากการทำงานผิดปกติของต่อมใต้สมอง  ต่อมหมวกไต รังไข่ ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวน ผู้หญิงที่เป็นกลุ่มอาการโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจึงมีระดับฮอร์โมนเพศชายในเลือดสูงเกินปกติ(hyperandrogenism) เป็นที่มาของลักษณะอาการสำคัญ ได้แก่ ผิวมัน มีสิวมากขนดกขึ้นตามร่างกายหลายจุด อาทิ หนวด จอน หน้าอก หน้าท้อง เส้นกลางท้องส่วนล่าง ต้นแขน ต้นขาด้านใน และหลัง นอกจากนี้ ผู้หญิงบางคนก็อาจจะมีอาการผมบางและศีรษะล้านแบบผู้ชายร่วมด้วย และยังพบระดับฮอร์โมนอินซูลินในกระแสเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน เนื่องจากการผลิตและตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินผิดปกติเช็ค 7 อาการ PCOS รู้ก่อนรักษาทัน

ผศ.พญ.พรทิพย์ กล่าวชวนให้ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หมั่นสังเกตร่างกาย และหากมีอาการใน 7 ข้อ ให้รีบปรึกษาสูตินรีแพทย์ ได้แก่   1. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มาช้า มาห่าง หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอย2. มีสิวขึ้นมากกว่าปกติ ผิวมัน3. ขนดกมากขึ้นตามร่างกาย หรือขึ้นในบริเวณที่มักเกิดขึ้นในผู้ชาย เช่น หนวด เครา ขนหน้าอก เป็นต้น 4. ผมบาง ศีรษะล้าน 5. ผิวเป็นปื้นดำโดยเฉพาะตามรอยพับหลังคอ รักแร้ ข้อพับแขน หรือมีติ่งเนื้อร่วมด้วย 6. มีน้ำหนักเกินค่าดัชนีมวลกาย (เกณฑ์ BMI 25 ขึ้นไป) หรือมีรูปร่างอวบไปจนถึงมีภาวะอ้วน  7. มีรอบเอวมากกว่า 88 ซม. หรือมีลักษณะอ้วนลงพุงอาการต่าง ๆ ข้างต้น อาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้  เช่น ความผิดปกติที่ต่อมหมวกไต ต่อมไทรอยด์  เนื้องอกที่รังไข่ ฯลฯ ดังนั้น การวินิจฉัยกลุ่มอาการ PCOS ให้แน่นอน จึงต้องใช้วิธีการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการทำอัลตราซาวด์ เพื่อดูลักษณะรังไข่ว่าประกอบด้วยถุงน้ำในรังไข่ ที่มีถุงไข่จำนวนมากเกินไปหรือไม่และในบางรายอาจจำเป็นต้องตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเพศเบาหวาน อ้วน ปัจจัยเสี่ยง PCOS

แม้ทางการแพทย์จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดกลุ่มอาการ PCOSแต่พบว่าผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีความเสี่ยงเป็น PCOS มากกว่า

“กลุ่มอาการโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลินและฮอร์โมนที่หลั่งในต่อมใต้สมอง รังไข่  “ไขมันหน้าท้อง ไขมันในช่องท้องและภาวะอ้วนลงพุง ก็มีส่วนทำให้เป็นกลุ่มอาการนี้มากขึ้น”มะเร็ง เบาหวาน NCDs ภัยเงียบที่แฝงมากับ PCOS”รศ.พญ.พรทิพย์กล่าว

PCOS ไม่ได้มีผลต่อรูปลักษณ์เพราะมีสิวหรืออ้วนเท่านั้น แต่ว PCOS ยังเป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่โรคเรื้อรังและร้ายแรงได้หลายโรค“การมีประจำเดือนไม่ปกติมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ พอไข่ไม่ตกตามเวลาก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้เยื่อบุโพรงมดลูกแบ่งเซลล์หนาผิดปกติ และในระยะยาวมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก


รศ.พญ.พรทิพย์ กล่าวว่า นอกจากระบบสืบพันธุ์แล้ว PCOS ยังมีผลต่อระบบการเผาผลาญในร่างกาย หรือระบบเมตาบอลิซึมด้วย“PCOS อาจทำให้เกิดภาวะทนต่อกลูโคสผิดปกติ ที่พบมากคือการตอบสนองผิดปกติต่ออินซูลินซึ่งเพิ่มความเสี่ยงขั้นแรกต่อการเป็นโรคเบาหวาน รวมถึงภาวะที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง โรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ภาวะซึมเศร้า ภาวะมีบุตรยากรวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตด้วย

ส่วนการรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบวิธีรักษาผู้ที่มีภาวะ PCOS แพทย์จะพิจารณาวินิจฉัยจากปัจจัยเฉพาะเป็นรายบุคคล“แพทย์จะดูว่าคนไข้มาปรึกษาด้วยเรื่องอะไร และให้การรักษาตามนั้น ผู้ที่มาด้วยอาการประจำเดือนผิดปกติ แพทย์จะให้การรักษาด้วยฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน(progesterone) เพื่อทำให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติ และป้องกันภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก  กรณีที่มาด้วยภาวะฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป การรักษาจะเป็นการให้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเพื่อช่วยลดฮอร์โมนเพศชาย อีกทั้งยังทำให้ประจำเดือนมาตรง และป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

กรณีผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก แพทย์จะพิจารณาให้เป็นกลุ่มยาที่กระตุ้นให้ไข่ตกสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของระบบการเผาผลาญ น้ำหนักเกิน หรือมีภาวะอ้วนหรือตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน มีภาวะไขมันในเลือดสูง ก็ต้องลดน้ำหนักและกินยารักษาอาการดังกล่าว

“หากประจำเดือนยังมาทุก 2 เดือน ยังถือว่าพอรับได้ แต่ถ้าประจำเดือนมาทุก 3 – 4 เดือนอันนี้มีความเสี่ยงต่อภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติซึ่งจะนำไปสู่การเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก จึงต้องได้รับการรักษา สำหรับคนที่เป็น PCOSที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ต้องลดน้ำหนักลงมา 5 – 10% ของน้ำหนักตัวจะช่วยให้อาการดีขึ้น” ผศ.พญ.พรทิพย์ กล่าวแนะสร้างไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสม ลดความเสี่ยง PCOSผศ.พญ.พรทิพย์ กล่าวว่า ไม่ว่าแพทย์จะรักษาด้วยยาอะไร สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้ที่มีอาการ PCOS“สมมุติว่าคนไข้มีน้ำหนักเกิน ก็ต้องลดน้ำหนัก เพิ่มการออกกำลังกาย และกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ”

ผศ.พญ.พรทิพย์ อ้างถึงการศึกษาที่ชี้ว่า PCOS สัมพันธ์กับฮอร์โมนอินซูลินและไขมัน  ซึ่งพวกมีอาการ  จะมีแบคทีเรียดีในลำไส้ลดลง ดังนั้นจึงควรเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง และเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง  ซึ่งผู้มีอากร ต้องปรับพฤติกรรม เพื่อช่วยลดผลกระทบสุขภาพร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว หรือขอคำปรึกษาและเข้ารับบริการเกี่ยวกับ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)สามารถติดต่อสอบถามได้ที่คลินิกมีบุตรยาก และ PCOSให้บริการทุกวันอังคาร ยกเว้นวันหยุดราชการ เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 8โทรศัพท์ 0-2256-5274 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Website: http://cu-obgyn.com/THFacebookhttps://www.facebook.com/cuobgynfanpage/?locale=th_TH
Line: @obcu.update
Email: [email protected]
โทรศัพท์ 0-2256-4000 ต่อ 92117, 08-1421-0675

เพิ่มเพื่อน