‘เมืองศิลปะสร้างสรรค์’ ฝันของคนภูเก็ต

ทุกภาคส่วนในภูเก็ตร่วมนำเสนอความพร้อมเป็นเมืองศิลปะแห่งการสร้างสรรค์ของประเทศไทย ลำดับที่ 4 ต่อจาก จ.กระบี่ นครราชสีมา และเชียงราย ในมิติต่างๆ ผ่านการประชุมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งนายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)  เข้าประชุมร่วมกับนายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายเรวัต อารีรอบ นายก อบจ.ภูเก็ต  ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เครือข่ายศิลปินภูเก็ต รวมถึงชาวภูเก็ต เมื่อวันก่อน

นายประสพ เรียงเงิน ผอ.สศร. กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาศักยภาพ จ.ภูเก็ต สู่การเป็นเมืองศิลปะแห่งการสร้างสรรค์ว่า ที่ประชุมได้มีการนำเสนอจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองศิลปะแห่งการสร้างสรรค์ของไทยเป็นลำดับ ที่ 4 เพื่อต่อยอดเมืองแห่งการสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก รวมทั้งเสนอตัวในการจัดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติไทยแลนด์เบียนนาเล่ ครั้งที่ 4 ต่อจาก จ.เชียงราย โดยทางรองผู้ว่าฯ ภูเก็ต ได้นำเสนอข้อมูลความพร้อม ตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งในด้านพื้นที่ บุคคลและกระบวนการ ขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) นำเสนอถึงความพร้อม โดยกำหนดวิสัยทัศน์ในการนำศิลปะมาใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาเมือง

ส่วนหน่วยงานอื่นๆ อาทิ  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนและเครือข่ายศิลปิน ทั้งในพื้นที่ภูเก็ตและจังหวัดอื่นๆ รวมถึงศิลปินต่างชาติที่พำนักอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ได้มีการจัดทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่อง ยินดีได้ให้การสนับสนุนขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเต็มที่

นายประสพ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ภาคส่วนต่างๆ ได้มีการลงศึกษาและสำรวจพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม ที่มีความโดดเด่น รวมถึงบางแห่งได้มีการนำผลงานศิลปะไปติดตั้งและประดับ เพื่อเป็นการนำร่องสร้างพื้นที่ศิลปะในเมืองภูเก็ต และสร้างจุดขายของการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ขณะเดียวกันได้มีการศึกษาพื้นที่ใหม่เพื่อหาจุดเด่นของการนำผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ใหม่ไปติดตั้ง เป็นการต่อยอดสู่การพัฒนาเมืองให้เพิ่มขึ้น ขณะนี้ อบจ. และเทศบาลเมืองภูเก็ตได้ดำเนินการแล้ว รวมถึงเตรียมนำเสนอของบประมาณจากจังหวัดและรัฐบาลเพิ่มขึ้น

“ ทุกภาคส่วนมีความเห็นตรงกันว่า อยากให้มีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีความยั่งยืน ไม่ใช่เป็นเพียงการจัดงานเทศกาลแล้วจบ เพราะได้มีการศึกษาบทเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทั้งยังมองถึงอนาคตว่า เมื่อเราสามารถทำให้ภูเก็ตเป็นเมืองศิลปะแห่งการสร้างสรรค์แล้ว เราจะได้อะไรตอบกลับมาบ้าง ทั้งด้านงบประมาณสนับสนุน จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลก รายได้เข้าจังหวัด รายได้เข้าประเทศที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมองไปไกลถึงการทำให้ จ.ภูเก็ต ให้เป็นฮับด้านศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยของโลกด้วย “ ผอ.สศร. กล่าว

สำหรับภูเก็ตเมืองที่มีศักยภาพสูง นายประสพ ระบุจากข้อมูลที่นำเสนอในที่ประชุม แสดงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ของจังหวัดและทรัพยากรบุคคลจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ ทั้งนี้ ตามกระบวนการพิจารณาต้องมีการนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพเมืองศิลปะของประเทศก่อน หากพิจารณาเห็นชอบแล้ว จะนำเสนอ รมว.วัฒนธรรม และคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี คาดว่า จะประกาศผลได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว หน่วยงานภาครัฐ เอกชนที่เข้าร่วมประชุมได้แสดงจุดยืนในการสนับสนุนให้เกิดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติไทยแลนด์เบียนนาเล่ขึ้นที่ภูเก็ตในอีก 2 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ภูเก็ตจะต้องแสดงศักยภาพไปแข่งขันกับอีก 14 จังหวัดที่ได้เสนอตัวจัดมหกรรมไทยแลนด์เบียนนาเล่เช่นกัน ต้องลุ้นว่าผลการพิจารณาจะออกมาเช่นไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ประสพ เรียงเงิน' นั่งปลัดวธ.คนใหม่

11 ธ.ค.2567 - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแต่งตั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ โดยแต่งตั้งนายประสพ​ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ นายประสพ ถือว่าเป็นลูกหม้อกระทรวงวัฒนธรรม เคย

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List

ลุ้น'ต้มยำกุ้ง'ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม

3 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก จะประชุมพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ของประเทศไทย และชุด “เคบายา” เสนอโดยสิงคโปร์ ร่วมกับไทย มาเลเซีย อินโ