ศน.หนุนงบบูรณะ 500 ศาสนสถาน 4 ศาสนา

ศน.หนุนงบบูรณะศาสนสถาน 4 ศาสนา ให้มั่นคง-ปลอดภัย เป็นศูนย์กลางประกอบศาสนกิจ

31 ส.ค.2566 – นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มุ่งเน้นการขับเคลื่อนให้ศาสนสถานของทุกศาสนาเป็นศูนย์กลางของประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ศาสนิกชนเข้าไปประกอบศาสนกิจตามศาสนาที่ตนนับถือ ซึ่งศาสนสถานนั้นควรมีสภาพที่มั่นคง ปลอดภัย สะอาดและสวยงาม เหมาะสม สำหรับการเข้าไปประกอบกิจกรรมทางศาสนา แต่เมื่อมีการใช้ศาสนสถานเป็นเวลานานย่อมเกิดความเสียหาย ทรุดโทรม และเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา หรือได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น รวมถึงเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ศาสนิกชนไม่สามารถใช้ศาสนสถานประกอบศาสนกิจได้ตามปกติ  

อธิบดี ศน. กล่าวว่า กรมการศาสนาได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 12,650,000 บาท ในการดำเนินโครงการเงินอุดหนุนการบูรณะศาสนสถาน เพื่อสมทบในการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานที่ทางราชการรับรอง ประกอบด้วย ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ยกเว้นวัดในพระพุทธศาสนาเป็นภารกิจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้ศาสนสถานทั้ง 4 ศาสนา สามารถใช้ในการประกอบศาสนกิจได้ตามความเหมาะสม คุ้มค่า โดยไม่จำเป็นต้องสร้างศาสนสถานขึ้นใหม่ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้มีการจัดสรรเงินอุดหนุนการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานในส่วนภูมิภาค กรณีประสบภัย ไปแล้ว จำนวน 10 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 27 แห่ง ประกอบด้วย มัสยิด 20 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 7 แห่ง

นายชัยพล กล่าวต่อว่า ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุน โครงการเงินอุดหนุนการบูรณะศาสนสถาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2/2566 ในเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาแบบคำขอรับเงินอุดหนุนบูรณะศาสนสถาน กรณีประสบภัยและกรณีปกติ จำนวน 60 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 618 แห่ง แบ่งเป็น มัสยิด 501 แห่ง โบสถ์คริสต์ 115 แห่ง เทวสถานพราหมณ์ – ฮินดู 1 แห่ง และคุรุดวาราซิกข์ 1 แห่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และให้ดำเนินการอนุมัติจัดสรรงบประมาณสนับสนุนศาสนสถานในการบูรณะซ่อมแซม จำนวนกว่า 500 แห่ง เพื่อให้กลับมามีสภาพมั่นคง ปลอดภัย พร้อมสำหรับการส่งเสริมศาสนิกชนเข้าไปประกอบศาสนกิจตามศาสนาที่ตนนับถือต่อไป โดยศาสนสถานเหล่านี้ ได้ใช้เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของศาสนิกให้สงบร่มเย็น สังคมสงบสุข เป็นการนำมิติทางศาสนามาส่งเสริมให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมได้อย่างมั่นคง 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ

ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็

'ตักบาตรหาบจังหัน' วิถีงดงามบ้านหาดสองแคว

ประเพณีตักบาตรหาบจังหัน เป็นวัฒนธรรมประเพณีชาวบ้านหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์ หรือชาวไทยเชื้อสายลาวเวียงที่อาศัยอยู่ในหาดสองแคว ที่พบเห็นได้ยามเช้าของทุกวันที่ชาวบ้านออกมารอใส่บาตรพระ ด้วยชุมชนแห่งนี้ผูกพันกับวัด คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติและสืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น 

ตั้ง4คณะอนุกรรมการ เร่งทำข้อมูลเสนอ'ครูบาศรีวิชัย'ต่อยูเนสโก

18 มิ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า  ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเสนอวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย เพื่อให้องค์การยูเนสโกรับรองและร่วมเฉลิมฉลอง ครั้งที่ 1/2567

'วิสาขบูชา' ไทย-ลาว สืบทอดศรัทธาวิถีพุทธ

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ คือ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยและเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงอย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่มีประชาชนส่วนใหญ่นับถือ