สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดใกล้กรุงเทพฯอีกจังหวัด ที่มีอะไรน่าไปเที่ยวเยอะมาก เหมาะทั้งการเที่ยวแบบวันเดย์ทริป หรือจะค้างสักสองสามคืนก็ได้ ใครที่มีเวลาน้อยต้องวางแพลนไปเที่ยวสักครั้ง จะเที่ยวแนวธรรมชาติ เที่ยวในเมือง เที่ยวสัมผัสชุมชน ไปไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเมือง หรือไปแค่ตลาดเก่าๆของจังหวัด ก็ได้ทั้งนี้น
ความที่สุพรรณเป็นเมืองในประวัติศาสตร์ จึงทิ้งร่องรอยไว้จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนที่มาอยู่อาศัยหลายร้อยปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยอยุธยาก็ว่าได้ คนจีนเมื่อไปอยู่ที่ไหน ก็มักจะทำมาค้าขาย ตามท่าน้ำของสุพรรณ จึงเป็นจุดค้าขายขนส่งสินค้าในอดีต นอกจากทำมาหากินแล้ว ชาวจีนยังนำวัฒนธรรมความเชื่อติดตัวมาด้วย “อุทยานมังกรสวรรค์”ก็เป็นมรดกของบรรพบุรุษชาวจีนในประเทศไทย ซึ่งใครมาสุพรรณไม่ควรพลาด ที่อุทยานมังกรสวรรค์ ยังอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกับศาลหลักเมือง คือถ้าใครไปศาลหลักเมืองก็จะได้ชมอุทยานมังกรสวรรค์ด้วย
มาพูดถึงศาลหลักเมือง มีลักษณะวิหารรูปเก๋งจีน ด้านในประดิษฐานองค์เจ้าพ่อหลักเมืองพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำ ศิลปะแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปะไพรกเมง ซึ่งเป็นศิลปะขอม อายุประมาณ 1,300-1,400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กรซึ่งเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ญวน เขมร นับถือ
ส่วนอุทยานมังกรสวรรค์ ที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับศาลหลักเมือง โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมมังกรสีทองขนาดใหญ่สุดอลังการ ตามแบบลักษณะความเชื่อของชาวจีน อยู่ในลักษณะเลื้อยอยู่ในมวลหมู่ก้อนเมฆ โดยส่วนใต้ลำตัวของมังกรเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร จัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของจีนกว่า 5,000 ปีที่แล้ว และชาวจีนในสยามประเทศ ด้านในมีห้องจัดแสดงประมาณ 20 ห้อง โดยแต่ละห้องมีรูปแบบการนำเสนอทั้งงานประติมากรรม เทคนิคแสงสี การเคลื่อนไหวต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ห้องเทพนิยาย(กำเนิดโลก) เพราะชาวจีนเชื่อว่าโลกถูกสร้างขึ้นโดยเทพบิดรผานกู่ ซึ่งสละชีวิตแยกแผ่นดินและแผ่นฟ้า จึงทำให้เกิดธรรมชาติต่างๆ ถัดมาที่ห้องราชวงศ์เชี่ย-ชาง ตำนานปลาหลีฮื้อกลายมังกรต้าอวี่ ผู้คนพบการแก้ปัญหาอุทกภัยแม่น้ำเหลือง อีกทั้งยังเป็นยุคที่ค้นพบสำริด อักษรกระดองเต่า ที่จัดแสดงของจริงไว้ในห้องนี้ด้วย
ถัดมาที่ห้องราชวงศ์ชิง(โรงงิ้ว) ซึ่งเป็นยุคที่มีการแสดงงิ้ว ศิลปะการแสดงอันวิจิตรและทรงคุณค่าของจีน และของโลก ห้องนี้เราจะได้ชมการแสดงงิ้วจากหุ้นจำลองที่น่าตื่นตา ต่อมาห้องราชวงศ์ซงเหนือ(เปาบุ้นจิ้น) ภายในห้องนี้เราจะได้เห็นประติมากรรมหุ้นจำลองศาลไคฟง และการตัดสินคดีความของท่านเปาบุ้นจิ้น และห้องสามก๊ก ซึ่งความพิเศษของห้องนี้คือการนั่งชมประวัติศาสตร์ฉบับย่อในยุคสามก๊ก ที่ฉายผ่านจอด้วยเทคนิคการนำเสนอเหมือนกับได้อยู่ในเหตุการณ์ นี่เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพราะห้องอื่นๆล้วนนำเสนอประวัติศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ และไม่น่าเบื่อเลย เหมาะมากๆสำหรับใครที่ชื่นชอบการชมพิพิธภัณฑ์
เดินทางไปสักการะวัดสำคัญของเมืองสุพรรณ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ วัดคู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ภายในบริเวณวัดประกอบไปด้วยโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระปรางค์ ที่ทิ้งร่องรอยของความเสียหายเมื่อคราวสงครามในสมัยอยุธยา ซึ่งเจดีย์ประธานของวัดเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม จำนวน 2 องค์ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์ อุโบสถ วิหารน้อย และซากเจดีย์รายจำนวน 2 องค์ บริเวณด้านทิศตะวันตกของพระปรางค์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปหินทรายอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ภายในวิหารด้านหน้าพระปรางค์
มาต่อที่วัดแค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวัดที่เก่าแก่ของเมืองสุพรรณ และยังมีชื่อปรากฏในวรรณคดี เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ที่เชื่อกันว่าขุนแผนได้เรียนวิชาเสกใบมะขามจากต้นมะขามขนาดใหญ่ภายในวัดแห่งนี้ หรือเรื่องเล่าของตัวต่อยักษ์ ส่วนภายในวิหารมหาอุตม์ประดิษฐาน พระพุทธมงคล ซึ่งเป็นพระประธานปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ทำให้ผู้คนที่มีความเชื่อความศรัทธาหลั่งไหลมากราบกราบไหว้ขอพรกัน
มุ่งหน้าสู่อ.ศรีประจันต์ แวะสักการะท้าวเวสสุวรรณ วัดพังม่วง ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในจ.สุพรรณบุรี นอกจากนี้ภายในวัดยังประดิษฐาน พระพุทธโสภิต พระประธานในอุโบสถ ที่ได้อัญเชิญมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มีอายุเก่าแก่มากถึง 700 ปี ที่นี่จึงเป็นหมุดหมายของสายมูที่เดินทางมาสักการะองค์ท้าวเวสสุวรรณ ไม่ว่าจะพรด้านโชคลาภ การงาน การเงิน
สำหรับคนที่ชื่นชอบและอยากสัมผัสวิถีการเลี้ยงควายต้องมาที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ที่นี่เราจะได้ใกล้ชิดกับเหล่าควายไทยที่ทางหมู่บ้านได้เลี้ยงดูอย่างเอาใจใส่ ที่มีอยู่ประมาณกว่า 100 ตัว โดยมี 2 พันธุ์หลักๆ คือ ควายไทยเป็นพันธุ์ปลัก และควายอินเดียพันธุ์มูร่าห์ ซึ่งส่วนใหญ่ควายของที่นี่ไม่ได้เลี้ยงเพื่อการใช้งาน แต่เลี้ยงเพื่อเป็นการอนุรักษ์และเปิดให้ผู้ที่สนใจได้เข้าชมภายในหมู่บ้านอนุรักษ์ควาย ซึ่งผู้ที่มาเยือนจะได้ชมกับความน่ารักของเหล่าควาย ไม่ว่าจะเป็นที่คาเฟ่ กินแฟ ดูฟาย ริมบึงน้ำ ที่มีเครื่องดื่มดับร้อนหลากหลายเมนูพร้อมกับขนมทานเล่น และพอได้นั่งปุ๊ปก็จะมีพนักงานต้อนรับเป็นน้องควาย น่าตาเป็นมิตร ลอยคอมาออดอ้อนส่งสายตาหวานให้ป้อนหญ้า ซึ่งลูกค้าทุกรายก็ต้องใจอ่อนกับความน่ารักไปตามระเบียบ
อีกกิจกรรมที่น่าสนใจคือ ลานการแสดง ที่จะพาเราย้อนกลับไปชมวิถีชีวิตการทำนาโดยมีพระเอกสำคัญของเรื่องควาย ตั้งแต่พิธีการทำขวัญขวาน การใช่ควายไถ่นา นอกจากนี้ไฮไลท์ คือ การโชว์ความสามารถควาย ที่เรียกเสียงปรบมือได้ทั่วลานแสดงไม่ว่าจะเป็นควายยิ้ม ควายสวัสดี ความเดินข้ามสะพาน และยังมีการโชว์ตัวของพญาควาย ควายเผือก และเหล่าควายดาวเด่นอีกด้วย ไม่เพียงแค่นั้น หากใครที่อยากจะลองขี่ควายก็สามารถบอกพี่เลี้ยงได้เลย จะบอกว่ากลิ่นตัวของควายเป็นมิตรมากๆ หนังนิ่มไม่หยาบกร้าน นั่งครั้งแรกก็จะดูจะเกร็งปนหวาดเสียว แต่พอนั่งไปสักพักก็ต้องปรับตัวอาจจะชินเหมือนกับพี่เลี้ยงที่ขึ้นขี่ได้สบายๆ ควายทุกตัวของที่นี่ค่อนข้างที่จะใจดี ไม่ดุร้าย สามารถสัมผัสตัวได้ มาแล้วต้องประทับใจแน่นอน
ก่อนกลับเราไปแวะที่ ตลาดสามชุก อ.สามชุก ตลาดเก่าแก่ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี ซึ่งตลาดแห่งนี้จะเป็นร้านค้าเรือนไม้ที่สร้างอยู่ติดๆกัน มีการปรับเปลี่ยนให้ตลาดดูมีชีวิตชีวาด้วยงานจิตรกรรมต่างๆ ด้านในตลาดมีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสามชุก ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านที่นี่ สีสันของตลาดที่ต้องพูดถึงคือ ร้านค้ามากมายที่ได้ขนสินค้าทั้งอุปกรณ์เครื่องครัวแบบสมัยโบราณ ร้านขนมโบราณ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ลูกชิ้นยักษ์ ขนมสาลี่นมสด และอีกมากมายที่ให้เลือกทานกันแบบอิ่มจนจุก แถมได้ของฝากกลับบ้าน
สำหรับใครที่ยังลังเลไม่รู้ว่าวันหยุดจะไปเที่ยวไหนดี แนะนำเลยว่าต้องเปิดประสบการณ์ไปสุพรรณบุรีดูสักครั้งจะประทับใจทั้งความน่ารักของควาย เติมเต็มบุญที่วัดสำคัญๆ และอิ่มท้องกับเมนูอร่อยๆ จนต้องกลับมาซ้ำอีกแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'กองทุนกีฬา'บุกสุพรรณบุรี ติดตาม-รับฟังปัญหา ส.กีฬาจังหวัดภาคกลาง
“กองทุนกีฬา” เดินสายต่อเนื่อง ครั้งที่ 3 ลงพื้นที่สุพรรณบุรี (ภาค 2) เร่งติดตาม-รับฟังปัญหา ส.กีฬาจังหวัด ภาคกลาง เพื่อร่วมกันแก้ไข เข้าถึง เข้าใจ ให้คำแนะนำ การใช้เงินให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ มุ่งหวังเห็นผลสำเร็จ
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชนบ้านหนองบัวหิ่ง หมู่ที่ 4 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี
นายทนงศักดิ์ ล้อชูสกุล ผอ.สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) พร้อมนายระเบียบ ปทุมสูตร นายกเทศมนตรีตำบลสระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี ลงพื้นที่โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชนบ้านหนองบัวหิ่ง หมู่ที่ 4 ต.สระลงเรือ โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ประจำปี 2565(งบกลาง)
ป.ป.ช. ฟัน '2 บิ๊กนักการเมืองท้องถิ่น' ร่ำรวยผิดปกติ
นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด นางเรณู พลเสน