องค์การอนามัยโลก( WHO )ประกาศว่าประชากรยุคใหม่มีภาวะสายตาสั้นมากกว่า 50% และที่น่าตกใจคือ มีประชากรโลกที่จะสายตาสั้น – 500 หรือ 5 ไดออปเตอร์ จำนวนถึง 1 พันล้านคนในปี 2050 เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่เปลี่ยนไป ใช้สายตาในการทำกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้และการพักผ่อน เช่น เรียนออนไลน์ ดูยูทูป เล่นเกมส์ ฯลฯผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนในระยะใกล้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจึงส่งผลต่อภาวะเสี่ยงสายตาสั้นในเด็ก
พต.หญิง พญ. ณัฐธิดา วงศ์วีระวัฒน์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคตาเด็กและกล้ามเนื้อตา (Pediatric ophthalmology and strabismus) หัวหน้าคลินิกสายตาสั้น (Myopia management clinic) ศูนย์ตา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า เด็กที่มีสายตาสั้นตั้งแต่อายุน้อยมีความเสี่ยงที่จะมีโรคตาตอนอายุมาก มากกว่า เด็กที่สายตาสั้นมาช้า หรือ late onset เพราะการเพิ่มค่าสายตาสั้นจะสะสมไปเรื่อยๆ ไม่ลดลง จนถึงอายุ18 ปี ซึ่งคนที่สายตาสั้นมากก็จะมีความเสี่ยงเป็นโรคตาตอนอายุมากขึ้น เช่น โรคจอประสาทตาหลุดลอก ฉีกขาด เสื่อม หรือโรคต้อกระจกต้อหิน ฯลฯ มากกว่าคนที่สายตาสั้นน้อยหลายเท่า
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กสายตาสั้นมากน้อยในแต่ละคน มี 4 ปัจจัยหลัก คือ 1. พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่สายตาสั้น ลูกก็มีแนวโน้มจะสายตาสั้นได้ 2. เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและมีปัญหาจอประสาทตาผิดปกติที่เรียกว่า ROP (Retinopathy of Prematurity) โดยเฉพาะ ได้รับการรักษาด้วย laser หรือฉีดยาเพื่อยับยั้งเส้นเลือดผิดปกติ กลุ่มนี้จะมีสายตาสั้นที่มาได้เร็วและเยอะ 3. เด็กที่มี near work activity หรือกิจกรรมที่ใช้สายตาใกล้ๆ เช่น อ่านหนังสือเยอะ เรียนเยอะ เล่นเกมส์เยอะ และ 4. เด็กที่มี outdoor activity น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน พบว่าการเริ่มสายตาสั้นมาเร็วกว่าเด็กที่มีกิจกรรมกลางแจ้งยาวนานกว่า 2 ชม.ต่อวัน
สำหรับผู้ปกครองที่มีบุตรหลานสายตาสั้น ต้องการชะลอหรือควบคุมการเพิ่มค่าสายตา หมอแนะนำให้ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เด็กๆ ให้เด็กได้มีกิจกรรมกลางแจ้งมากขึ้นเกิน 2 ชม.ต่อวัน และลดกิจกรรมใช้สายตาที่ใกล้ เป็นเวลานานๆ วิธีอื่นๆในการชะลอสายตาสั้นที่ได้การยอมรับทั่วโลก เช่น การหยอดยาชะลอสายตาสั้น การใส่เลนส์แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ
” ที่อยากแนะนำเพิ่มเติมคือการเลือกแว่นสายตาสำหรับเด็ก ในช่วง 6-7 ปีนี้มีการพัฒนาเลนส์แว่นตาหลายรุ่นที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อควบคุมสายตาสั้นได้มากขึ้น เช่น เลนส์แว่นตาเทคโนโลยีใหม่ ที่ใช้หลักการ myopic defocus เป็นทางเลือกที่ดีมาก”พต.หญิง พญ. ณัฐธิดา กล่าว
จักษุแพทย์กล่าวอีกว่า ในการชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาในเด็ก เนื่องจากใช้หลักการที่ช่วยชะลอสายตาสั้นได้จริงที่อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ และมีงานวิจัยรับรองที่ใช้ในเด็กจริงๆ มาหลายปีอย่างต่อเนื่องน่าเชื่อถือได้ ข้อดีคือเป็นวิธีที่ non invasive เมื่อเทียบกับการใช้ยาหยอดตา หรือใช้คอนแทคเลนส์ เพราะฉะนั้นการใส่เลนส์แว่นตาที่ช่วยชะลอการสายตาสั้นที่เป็นเทคโนโลยีใหม่และได้รับการรับรองจาก อย. มีงานวิจัยแน่ชัดแล้ว จึงเป็นทางเลือกที่ดีมาก
แว่นตา ‘Stellest Lens’ ใช้งานอย่างไร ดร.มายูมิ ฟาง นักทัศนมาตรและผู้จัดการฝ่ายวิชาการและการอบรม บริษัท เอสซีลอร์ลูซอตติกา โฮลเซล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เลนส์แว่นสายตา ‘Stellest’ ซึ่งได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และจัดให้เป็น Clinical Lens ที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้า เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาในเด็กวัย 8-13 ปี ซึ่งเลนส์แว่นตา Essilor® StellestTM เป็นโซลูชั่นล่าสุดจาก EssilorLuxottica ในการช่วยควบคุมสายตาสั้นในเด็ก ช่วยชะลอการเพิ่มค่าสายตาสั้นโดยเฉลี่ย 67% เมื่อเทียบกับเลนส์สายตาชั้นเดียวหากสวมใส่วันละ 12 ชั่วโมง โดยมีผลการวิจัยทางคลินิกรองรับ จะช่วยชะลอการเพิ่มสายตาสั้นในเด็ก 67%
จากประสบการณ์ของผู้ปกครองรายหนึ่ง ชนิดา สุวีรานนท์ คุณแม่ของน้องสายลมและน้องก้อนเมฆ จากเพจ ‘เรไรรายวัน’ เล่าถึงการสังเกตุอาการสายตาสั้นของลูกๆ ว่า ตอนแรก ไม่รู้ว่าลูกสายตาสั้น แต่จะเห็นชอบเขียนและวาดรูปในระยะใกล้ เวลาดูทีวี ก็จะชอบมายืนดูใกล้ๆ ซึ่งตอนนั้นคิดว่าเพราะเด็กมีสมาธิและกำลังจดจ่อ เลยไม่ทันนึก อีกทั้งช่วง 2 ปีที่ผ่านมา น้องๆ เรียนออนไลน์ จึงไม่เห็นความผิดปกติการใช้สายตา จนพอกลับไปเรียนตามปกติ คุณครูแจ้งว่าควรพาลูกไปตรวจสายตา เพราะน้องมองไม่ชัด หยีตาเวลาครูเขียนกระดาน พอตรวจก็พบเลยว่าน้องสายลมและน้องก้อนเมฆสายตาสั้น ตอนแรกเราก็กลัวว่าถ้าเด็กใส่แว่นตาจะไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าเขาชอบมาก ทำกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนได้ตามปกติ ซึ่งเมื่อทราบว่ามีเลนส์ที่ช่วยชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็กอย่าง Stellest เลนส์ ก็ดีใจมาก เพราะนี่คือเทคโนโลยีเลนส์สายตาสั้นที่ผลิตมาสำหรับเด็กที่ดีที่สุดตอนนี้ และช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคทางสายตาเมื่อเขาโตขึ้น
–
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.
'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'วิษณุ' แย้มเร่งตรวจกม.ฉบับใหม่ ปิดช่องขรก.รีดใต้โต๊ะ ได้ใช้ปีหน้า
'วิษณุ' เผย 'กฤษฎีกา' กำลังตรวจร่างกฎหมายอำนวยความสะดวก นวัตกรรมป้องปรามโกงยุคดิจิทัล คาดได้ใช้ปี 68 ข้าราชการต้องระวังมากขึ้น
8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้