การป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับไข้หวัดใหญ่ และ RSV ก็คงหนีไม่พ้นวิธีการป้องกันเช่นเดียวกันกับการป้องกันโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือ ดูแลสุขอนามัย ใส่หน้ากากอนามัยในที่มีคนหนาแน่น ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ หรือมีอาการทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค
28 ส.ค.2566-นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา โพสต์เฟซบุ๊กYong Poovorawan หัวข้อ “ไข้หวัดใหญ่และ RSV กำลังระบาด และพบบ่อย ในขณะนี้” เนื้อหาระบุ
โรคทางเดินหายใจที่พบบ่อยและกำลังระบาดอยู่ขณะนี้ ไข้หวัดใหญ่และ RSV พบได้บ่อยมากในขณะนี้ ไข้หวัดใหญ่ในปีนี้กำลังระบาดอยู่ หลังจากสงบเงียบในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 มา 3 ปี ในปีนี้พบได้บ่อยและระบาดมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พบได้ทั้ง 3 สายพันธุ์ คือไข้หวัดใหญ่ A ได้แก่ H1N12009, H3N2 และไข้หวัดใหญ่ B ที่ระบาดในปีนี้เป็นสายพันธุ์ Victoria สายพันธุ์เดียวกับที่เคยระบาดทิ้งท้าย ก่อนโควิด 19 เชื้อที่พบในปีนี้พบทั้ง 3 สายพันธุ์จึงเป็นเหตุให้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก
กลุ่มเปราะบาง หรือ 608 ที่เรารู้จักกัน รวมทั้งเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่ควรจะได้รับการป้องกันด้วยวัคซีน ถึงแม้ว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพไม่สูงมาก แต่จะได้ลดความรุนแรงของโรคลง
ส่วน RSV ที่พบอยู่ขณะนี้ส่วนมากพบในเด็ก และกลุ่มผู้สูงอายุ ในเด็กที่กำลังระบาดอยู่นี้เป็น RSV สายพันธุ์ B ซึ่งตรงข้ามกับปีที่ผ่านมาการระบาดเป็นสายพันธุ์ A (ON1) RSV เป็นโรคที่เป็นแล้วเป็นได้อีก เด็กบางคนเป็นทุกปี และจะระบาดไปถึงปลายปีโดยเฉพาะปลายฝนต้นหนาว ถึงแม้ว่าจะมีเพียง 2 สายพันธุ์คือ A และ B แต่ยังแบ่งสายพันธุ์เป็นกลุ่มเล็กๆได้อีก การติดเชื้อสายพันธุ์ A ไปแล้วก็สามารถเป็นสายพันธุ์ A ซ้ำได้หรือเป็นสายพันธุ์ B ก็ได้ (จากการวิจัยของศูนย์ไวรัส จุฬาที่ผมทำอยู่)
ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ RSV ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อในปีต่อไปได้ เช่นเดียวกันกับโควิด 19 จึงทำให้เป็นแล้วเป็นได้อีก ในเด็กปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาใช้วัคซีนในสตรีตั้งครรภ์เพื่อหวังป้องกันในเด็ก ช่วงแรกเกิดหรือ 6 เดือนแรก แต่ในบ้านเรายังไม่มีการนำมาใช้ ส่วนในเด็กวัคซีนคงยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพราะโรคนี้เป็นแล้วเป็นได้อีก
การป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับไข้หวัดใหญ่ และ RSV ก็คงหนีไม่พ้นวิธีการป้องกันเช่นเดียวกันกับการป้องกันโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือ ดูแลสุขอนามัย ใส่หน้ากากอนามัยในที่มีคนหนาแน่น ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ หรือมีอาการทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อรชร เชิญยิ้ม' อ่วมโดนพิษไข้หวัดใหญ่เล่นงาน
เรียกได้ว่ากลายเป็นขวัญใจแม่ยกไปแล้ว สำหรับตลกดัง อรชร เชิญยิ้ม ที่พักหลังมีโอกาสได้ไปร่วมเล่นลิเกกับคณะ ศรรามน้ำเพชร อยู่บ่อยๆ แต่วันก่อนเจ้าตัวก็ได้โพสต์ภาพแอดมิทเพราะไข้หวัดใหญ่ผ่านแฟนเพจ "เพจ อรชรเชิญยิ้ม - อรชรจรจัด"
'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ อาการติดเชื้อโรค 'ฝีดาษวานร'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX ลักษณะอาการของโรค
'หมอยง' เตือนรับมือ 'ฝีดาษลิง' สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงติดง่าย หวั่นระบาดใหญ่ทั่วโลก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง