“ตำรับ- ตำราแพทย์แผนไทย” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่บรรพชนได้คิดค้น ตั้งแต่ในอดีต ซึ่งถูกบันทึกไว้ในสมุดไทย ใบลาน ศิลาจารึก จำนวนมาก ถือว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งและควรได้รับการพัฒนาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดเป็นยาหรือวิธีการรักษาโรคภัยไข้เจ็บในปัจจุบัน ล่าสุดกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้นำตำรับ และตำรายาแผนไทยโบราณ มารวบรวมจัดเก็บไว้ในรูปแบบแอปพลิเคชั่น โดยแบ่งแอปพลิเคชั่นแยกออกเป็นหลายสาขา อาทิ พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย, แอปพลิเคชั่นสมุนไพรไทย พจนานุกรมศัพท์แพทย์แผนไทย (ไทย-อังกฤษ), สมุนไพรเฟิร์ส, แอปพลิเคชันการระบุชนิดสมุนไพรด้วยภาพ (HerbID)และ Big Data นวดไทย และแอปพลิเคชัน Dr.Ganja in TTM เป็นต้นโดยได้ร่วมมือ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดทำแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรอัจฉริยะ (Smart Healthcare TTM)
“ตำรับ- ตำราแพทย์แผนไทย” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่บรรพชนได้คิดค้น ตั้งแต่ในอดีต ซึ่งถูกบันทึกไว้ในสมุดไทย ใบลาน ศิลาจารึก จำนวนมาก ถือว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งและควรได้รับการพัฒนาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดเป็นยาหรือวิธีการรักษาโรคภัยไข้เจ็บในปัจจุบัน ล่าสุดกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้นำตำรับ และตำรายาแผนไทยโบราณ มารวบรวมจัดเก็บไว้ในรูปแบบแอปพลิเคชั่น โดยแบ่งแอปพลิเคชั่นแยกออกเป็นหลายสาขา อาทิ พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย, แอปพลิเคชั่นสมุนไพรไทย พจนานุกรมศัพท์แพทย์แผนไทย (ไทย-อังกฤษ), สมุนไพรเฟิร์ส, แอปพลิเคชันการระบุชนิดสมุนไพรด้วยภาพ (HerbID)และ Big Data นวดไทย และแอปพลิเคชัน Dr.Ganja in TTM เป็นต้นโดยได้ร่วมมือ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดทำแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรอัจฉริยะ (Smart Healthcare TTM)
ตามแผนการดำเนินงานจัดทำ Smart Healthcare TTM ในกำหนดกรอบระยะเวลาตั้งแต่ปีพ.ศ.2566-2570 ประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่
1. Digital TTM Knowledge Management ซึ่งได้รวบรวมตำรับตำราการแพทย์แผนไทย ที่มีบันทึกในสมุดไทย ใบลาน ศิลาจารึก กว่า 50,000 รายการ ส่งต่อให้ มจพ. พัฒนาเป็นระบบ Smart TTM Library เพื่อจัดเก็บข้อมูลต้นฉบับในรูปแบบ Digital Knowledge ทั้งแบบภาพดิจิทัล และข้อมูลที่ได้รับการถ่ายถอด-ปริวรรต (การถ่ายทอดความหมายจากภาษาหนึ่ง มาเป็นภาษาไทย) รวมทั้ งองค์ความรู้ที่ได้ จากหมอพื้นบ้าน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
2. TTM Expert & Recommendation Systems การวิเคราะห์ เตรียมข้อมูลจากตารับ ตาราการแพทย์แผนไทยที่ประกาศเป็นของชาติแล้ว กว่า 7,000 รายการ และ ตำราที่มีการลงทะเบียนตามมาตรา 15 จากนายทะเบียนจังหวัดไม่น้อยกว่า 200,000 ตำรับ ทั้งนี้ยังมีข้อมูลการแพทย์แผนไทยจากการสำรวจทั่วประเทศกว่า 5,000 แห่ง พบตำราการแพทย์แผนไทยจำนวน 16,791 รายการ ซึ่งทางกรมฯ จะมีการนำมาถ่ายถอด-ปริวรรตภาษาโบราณ ที่บันทึกในตำราเหล่านี้ โดยผู้เชี่ยวชาญ แต่เนื่องจากทั้งผู้เชี่ยวชาญมีจำนวนน้อย จึงร่วมกันวิจัย และพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบช่วยแนะนำ TTM Expert and Recommendation Systems โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น OCR (Optical Character Recognition), NLP (Natural language processing) และ Speech Recognition เป็นต้น ในการแปลอักษรโบราณ ออกมาได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูง
3. Herbal Product & Service Big Data Management การพัฒนาแพลตฟอร์มบริการวิชาการการแพทย์แผนไทย ด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลจากแแหล่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกว่า 10 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเพาะปลูก ผลิต และจำหน่ายยาสมุนไพร สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะ์เชิงพยากรณ์ใช้ในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจอย่างครบห่วงโซ่คุณค่า
4. Smart TTM Herbal Product & Service Innovation การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ได้แก่ 1. ระบบ Panthai Chatbot สามารถตอบคำถาม ประเมินสุขภาพ วิเคราะห์ ข่าวปลอมด้านการแพทย์แผนไทยและระบุชนิดสมุนไพรด้วยภาพ 2.ระบบ Panthai Good Doctor ตรวจรักษาด้วยแพทย์แผนไทย AI โดยใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรให้แก่ประชาชน เพื่อให้เข้าถึงการบริการได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพ และ 3. ระบบ Thailand Herbal Expo & Garden Metaverse ที่สามารถเยี่ยมชมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยและสวนสมุนไพรในสภาพแวดล้อมของโลกเสมือนจริง รวมถึงสามารถซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรผ่านทางระบบได้
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เผยความคืบหน้าในการจัดทำแพลตฟอร์ม Smart Healthcare TTM ว่า ทางกรมฯ ใช้เวลาดำเนินการการรวบตำราแพทย์แผนไทย และการแปลภาษาโบราณตำราต่างๆถึง 20 ปีที่ผ่าน อาทิ ตำรับยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งได้มีการจัดทำอยู่ในระบบเพียงระดับหนึ่ง ซึ่งหากยังใช้วิธีการเดิมโดยไม่พึงพาเทคโนโลยี อาจจะทำให้การรวบรวมตำราแพทย์แผนโบราณใช้เวลานาน ดังนั้นในการดำเนินงานครั้งนี้ที่ใช้ระบบดิจิทัลและเทคโนโลยี มาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญโดยคาดว่าจะเริ่มใช้งานได้จริงภายในปีพ.ศ. 2567 ซึ่งในขณะนี้การพัฒนาระบบในการถ่ายถอด-ปริวรรตภาษาโบราณในตำราแผนแพทย์ไทยอัตโนมัติได้เบื้องต้น 2 สมัย ได้แก่ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
นอกจากนี้ ในส่วนระบบ Panthai Chatbot สามารถตอบคำถามด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร วิเคราะห์ข่าวปลอมได้ไม่น้อยกว่า 200 คำถาม รวมถึงสามารถวินิจฉัยโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้ไม่น้อยกว่า 5 กลุ่มโรค เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคสะเก็ดเงิน กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการบำบัดยาเสพติด พร้อมทั้งสามารถระบุชนิดสมุนไพรด้วยภาพไม่น้อยกว่า 300 ชนิด โดยข้อมูลเหล่านี้เมื่อเสร็จสมบูรณ์จะสามารถนำไปใช้วิเคราะห์สมุนไพรในพื้นที่บ้านของประชาชนได้ว่าเป็นชนิดใด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
นพ.ธงชัย กล่าวอีกว่า ในระยะต่อไปสำหรับการถ่ายถอด-ปริวรรตจะขยายในส่วนของการแปลภาษาโบราณครอบคลุมมากขึ้น อาทิ ภาษาธรรมล้านนา ภาษาธรรมอีสาน และภาษาขอม รวมถึงการตรวจรักษาด้วยแพทย์แผนไทยสมัยใหม่ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชน ในด้านการศึกษาวิจัย ผู้ประกอบการ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน ได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มทางด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
————————
ใต้ภาพ
1 บรรยากาศในงานแถลงข่าว
2. แผนการพัฒนา Smart Healthcare TTM
3. นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แอปพาสำรวจ’วัดโพธิ์’ เจาะลึกกว่าตาเห็น
วัดโพธิ์เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนกรุงและต่างชาติ ใครอยากเที่ยววัดโพธิ์ให้สนุกและได้ความรู้แบบเต็มอิ่ม ตอนนี้มีแอปพลิเคชัน “อินไซท์วัดโพธิ์” ” ที่จะช่วยวางแผนการเที่ยววัดโพธิ์ และรู้จักวัดโพธิ์ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
กรมการแพทย์แผนไทยฯ ประกาศ 15 สมุนไพรเป็น Herbal Champions จ่อตีตลาดโลก
กรมการแพทย์แผนไทยฯประกาศ “สมุนไพร Herbal Champions 15 รายการ” ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่า วางเป้าห