เพื่อส่งเสริมความร่วมมือมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยกองทุนสิ่งแวดล้อม ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดงานสัมมนาวิชาการกองทุนสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ. 2566 : เปิดตัวกองทุน ThaiCI (Thai Climate Initiative Fund) เป็นกลไกการเงินใหม่ที่สนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ที่ดำเนินการภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเงินสนับสนุน 6.5 ล้านยูโรจากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (BMWK) และดำเนินการผ่าน GIZ ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)
กองทุนภูมิอากาศของไทยนี้ มุ่งสนับสนุนด้านวิชาการยกระดับขีดความสามารถด้านการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเงินทุน เพื่อสนับสนุนโครงการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในไทย
ฮานส์ อูลริช ซูดเบค อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจําประเทศไทย กล่าวว่า การขยายความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนีผ่านกองทุน ThaiCI เป็นการริเริ่มการให้เงินทุนดำเนินโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขนาดเล็ก-กลางในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเป็นกลไกทางการเงินในการนำด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินการที่สร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สผ. กล่าวว่า กองทุนภูมิอากาศของไทยจะสนับสนุนเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และภาคเอกชน ในรูปแบบการเปิดรับข้อเสนอสำหรับโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คาดว่าจะเปิดรับข้อเสนอโครงการภายในสิ้นปี พ.ศ. 2566 กองทุน ThaiCI จะเปิดโอกาสให้ไทยสามารถเป็นพันธมิตรกับแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเติม
นอกจากเปิดตัวกองทุนแล้ว เปิดวงเสวนา”การต่อยอดขยายผลการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ฉายภาพโครงการลดก๊าซและการปรับตัวต่อภาวะโลกเดือด อัจจิมา มีพริ้ง ผจก.โครงการมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย ดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้จักรยานในชุมชนลดมลพิษ รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สนับสนุนโดยกองทุนสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2565 กล่าวว่า แนวคิดโครงการเน้นกลับมาทบทวนตัวเอง ทางรอดมีทางเดียว คือ การลงมือปฏิบัติ มูลนิธิเน้นการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันไป-กลับ ไม่เกิน 3-5 กิโลเมตร ปั่นไปทำงาน โรงเรียน ตลาด เราเริ่มจากชุมชนหรือเมืองเล็กๆ เมื่อสำเร็จแล้วขยายผลต่อยอด โดยนำร่องคัดเลือกพื้นที่ใน อปท. เพื่อลดก๊าซคาร์บอน 10 แห่ง เป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท โครงการไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ มีฐานทุนพื้นที่ตัวอย่างที่ดีจากการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ทำให้มีตัวชี้วัดการลดคาร์บอนในท้องถิ่น อาทิ เชียงใหม่,สุโขทัย ฯลฯ
“ ชุมชนจักรยาน ลดคาร์บอน เป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ใช้จักรยานในชุมชนร้อยละ 35 ลดและเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยานยนต์ของประชาชน ลดการปล่อยก๊าซ 3.2 แสนกิโลกรัมคาร์บอนเทียบเท่า ปัจจุบันลดการปล่อย 1.7 แสนกิโลกรัมคาร์บอนเทียบเท่า ลดใช้น้ำมันกว่า 32,0000 ลิตร ซึ่งท้องถิ่นต้องคิดและสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการใช้ ไม่ใช่ทำเลนจักรยาน เพียงแค่จัดทำป้ายสัญลักษณ์ความเร็ว ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยทางถนน ป้ายที่จอด เพื่อลดความกลัวในการปั่นจักรยาน ทุกบ้านมีจักรยานเฉลี่ย 2 คัน แต่ไม่เอาออกมาปั่น เงินจากกองทุนไม่ได้ให้เงินมาซื้อจักรยาน แต่สนับสนุนสร้างกระบวนการลดคาร์บอนและเตรียมรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ในการขยายผลทีมแกนนำสามารถขยับเป็นพี่เลี้ยง มอบรางวัล และสรุปผลข้อมูลวิจัยเชิงปฏิบีติการเป็นตัวอย่าง ระดับนโยบายผลัดกันเป็นวาระท้องถิ่นให้ส่งเสริมการใช้จักรยาน ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน “อัจจิมา เผยโครงการมาถึงโค้งสุดท้าย ต้องเร่งลดปล่อยก๊าซให้ได้ตามเป้า
ด้าน นายจีระศักดิ์ ตรีเดช นายกสมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทอกเขาเพชรบูรณ์ (สอพ.) เล่าถึงโครงการเสริมสร้างภูมิต้านทานเพื่อการปรับตัวรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้นน้ำหมัน – ต้นน้ำพุง ที่ได้รับเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า เมื่อ 16 ปีก่อนขับเคลื่อนทำงานพิบัติภัยต่อชุมชน นำมาสู่การอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า ปี 44 เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันที่บ้านน้ำก้อ ตาย 136 คน บ้านเรือนพัง ความเสียหายกว่า 654 ล้าน ซึ่งภัยพิบัติเกิดขึ้นต่อเนื่อง กรณีลุ่มน้ำพุง จ.เลย และจ.เพชรบูรณ์ เกิดน้ำป่าปี 50 คนตาย 6 คน นำมาสู่การจัดการภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จัดทำแผนที่ชุมชน ลดเสี่ยงภัย ซึ่งอัตราความเสี่ยงเพิ่มขึ้นๆ ต้องสร้างกระบวนการเตือนภัย นำมาสู่การปรับตัวโดยใช้กระบวนการชาวบ้าน เช่น นวัตกรรมหวอมือ รวมถึงเพิ่มพื้นที่สีเขียวปลูกป่า ลดการชะล้างพังทลายหน้าดิน ลุ่มน้ำพุงมีอัตราการสูญเสียหน้าดินรุนแรงมากกว่า 20 ตันต่อไร่ ต่อปี คิดเป็นพื้นที่ 5.8 หมื่นไร่ หลังทำโครงการฯ ลดอัตราการสูญเสียหน้าดินได้ 20 ตันต่อไร่ต่อปี ป่าเขียวเข้มขึ้นเรื่อยๆ
“ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ หากทำโครงสร้างการปรับตัวไว้ จะรับมือได้ เราต้องวิเคราะห์ ผู้เปราะบางคือใคร พบว่าเป็นผู้หญิง เด็ก เยาวชน และเกษตรกรรายย่าย ปีนี้บางครัวเรือนทำนามา 3 รอบ หรือปลูกข้าวโพดกลับเจอฝนหนัก ความเสียหาย กว่าจะกลับมามีขีดความสามารถเท่าเดิมได้ใช้เวลากว่า 3 ปี โครงการฯ มีการประเมินขีดความสามารถ ออกแบบวางแผนการปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับแปลงและการผลิต ทำระบบนิเวศเหมืองฝาย จัดการระบบน้ำโดยภูมิปัญญาชุมชน หนุนบทบาทหญิง ชาย และครอบครัวปรับตัวรับมือ นอกจากปรับตัว ยังสร้างเศรษฐกิจรายได้ด้วย สร้างทางเลือกสอดคล้องกับการปรับตัว มีการปลูกป่า มาตรการปรับตัวที่มีแต่ได้กับได้ ซึ่งทุกลุ่มน้ำเผชิญปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ ซึ่ง 3 ปีนี้ไทยจะเจอเอลณีโญต่อเนื่อง “ นายจีระศักดิ์ กล่าว
ส่วน อัครพงษ์ เขียวแจ่ม ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นทุกปี มีกรณีพายุโนรูพัดผ่านอุบลราชธานี ปี 65 ส่งผลเกิดน้ำท่วมหนักในรอบ 45 ปี การลดปล่อยก๊าซเป็นแนวทางแก้ปัญหา ซึ่ง ทสจ.ขอนแก่นจัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกองทุนสิ่งแวดล้อมให้ทุนศึกษาคาร์บอนฟุตปริ้นใน 5 ภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซ เพื่อหามาตรการลดก๊าซเรือนกระจกต่อไป สำหรับ จ.อุบลราชธานี ภาคเกษตร โดยเฉพาะการทำนาข้าว ปล่อยก๊าซมากที่สุด รองลงมาภาคพลังงาน และคมนาคมขนส่ง ปัจจุบันมีการจัดทำแผนลดก๊าซ ปี 62-73 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับกองทุนThaiCI ถือเป็นเครื่องมือใหม่ช่วยสนับสนุนท้องถิ่นและชุมชนที่มีโครงการลดก๊าซนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงมหาดไทยลงนามความร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย ร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเมืองแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำและการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้ (Urban-Act: Integrated Urban Climate
เปิดรายงานคุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 67 ยังคงวิกฤต!
ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2567 สะท้อนให้เห็นสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมสาขาต่างๆ ของประเทศไทยในระหว่าง พ.ศ. 2566 – 2567 ปีล่าสุด หลายสาขามีความน่าวิตก ตั้งแต่การปลูกพืชเศรษฐกิจหลักในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม การตกค้างสารเคมีทางการเกษตรในดิน
คพ.-กรอ.เร่งทำแผนพัฒนาระบบ PRTR โรงงาน
3 ก.พ.2567 - นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ได้เดินทางเข้าพบและร่วมหารือกับนายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) พร้อมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ณ กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยหารือถึงบทบาทและภารกิจของ
นักวิชาการชี้โครงการ 'ผันน้ำยวม' มูลค่าแสนล้านเสี่ยงผิดกม. สร้างหนี้รัฐมหาศาล ไม่คุ้มค่า
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการรับฟังความคิดเห็นโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม โดยมี ดร.ศิตางศุ์ พิลัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
‘กรมโลกร้อน’คอนมานโดสู้’โลกรวน’
ไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศ ที่คาดว่าจะต้องเผชิญความเสี่ยง และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งอุณหภูมิร้อนขึ้น การเกิดภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ รวมถึงไฟป่าตามมา หรื
กางแผนผลักดัน OECMs ตามเป้า 30X30 ป้องกันพืช-สัตว์ สูญพันธุ์
เนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2566 “From Agreement to Action : Build Back Biodiversity “ จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดวงเสวนาหัวข้อ “OECMs โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย 30 x 30 ของประเทศไทย”