ภาพ:ททท.
อาหารถิ่นอาจจะไม่เป็นที่รู้จักหรือคุ้นหูของคนเมืองกรุง หรือคนต่างภาคสักเท่าไหร่ ส่วนมากถ้าพูดถึงอาหารเหนือ เราจะคุ้นเคยแต่ข้าวซอย น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม ขนมจีนน้ำเงี้ยว อาหารใต้คนจดจำแกงใต้ที่มีรสชาติเผ็ดร้อน อาหารอีสานต้องเมนูส้มตำ แกงอ่อม แกงเปรอะ แต่จริงๆ แล้วอาหารถิ่นยังมีมากมาย เป็นอาหารแปลกตา แต่ดูน่าสนใจ แต่ละภาคจะมีลักษณะเฉพาะ ใช้วัตถุดิบที่อยู่ในท้องถิ่น สืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ควรค่าแก่การบอกต่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
โกวิท ผกามาศ
การขับเคลื่อนอาหารไทยมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม รักษาอัตลักษณ์และคุณค่าให้คงอยู่ ไม่ให้สูญหายไป มีความสำคัญ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้มีการขับเคลื่อนงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติ โดยผลักดันนโยบาย soft power กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ จึงหารือกับนายกเหล่ากาชาดจังหวัด ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ จัดกิจกรรมการคัดเลือก 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป” มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ จัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือก ส่งให้จังหวัดพิจารณาคัดเลือกเมนูอาหารของแต่ละจังหวัดเสนอให้ สวธ. จำนวน 3 เมนู เพื่อคัดเลือก1 เมนูต่อ 1 จังหวัด รวม 77 เมนู ประกาศยกย่องให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศไทย และในระดับนานาชาติ
ข้าวกั้นจิ้น อาหารเมืองเชียงใหม่
เมื่อได้ผลคัดเลือกเมนูอาหาร 77 เมนู อธิบดี สวธ. กล่าวว่า สวธ.จะประสานงานกับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ตามรอยเมนูอาหารถิ่นทั้งภาษาไทย และอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น ขณะนี้มีหลายจังหวัดคัดเลือก 3 เมนูอาหาร ส่งรายชื่อเข้ามาให้พิจารณาแล้ว อาทิ จ.สุโขทัย เสนอ 3 เมนูหลัก ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ที่เส้นเหนียวนุ่ม รสชาติเด็ดถึงเครื่องถึงรส ข้าวเปิ๊บ และถั่วทอด จ.เชียงใหม่ เสนออาหารคนเมือง ได้แก่ ตำจิ้นแห้ง ข้าวกั๊นจิ๊น เหมี๊ยง
ไก่ย่างเขาสวนกวาง เมนูจากขอนแก่น
ภาคอีสาน อย่าง จ.ขอนแก่น เสนอเมนู ส้มตำ ไก่ย่างเขาสวนกวาง และปลาแดกบองสมุนไพร ส่วน จ.นครพนม เสนอ 3 เมนู ได้แก่ เมี่ยงตาสวด เป็นอาหารท้องถิ่นชนเผ่าไทยแสก หมกเจาะหรือหมกจ๊อ และ ขนมใบป่าน จ.สมุทรสงคราม เสนอเมนูแกงรัญจวน เป็นแกงไทยโบราณอุดมด้วยสมุนไพร ยำหอยแครงโบราณ ส้มฉุน จ.นครสวรรค์ เสนอ อั่งถ่อก้วยหรือกุ้ยช่ายสีชมพู ของดีเมืองปากน้ำโพ ทอดมันปลากราย และขนมไหว้พระจันทร์ไส้เม็ดบัว
ภาคใต้ฝีไม้ลายมือเรื่องอาหารไม่เป็นรองภาคใด จ.ตรัง เสนออาหาร 3 เมนูให้คัดเลือก ได้แก่ โกยุก เป็นเมนูเฉพาะที่หากินได้ที่ จ.ตรัง มีรสชาติที่เข้มข้น วัตถุดิบแน่นๆ ตั้งแต่ หมูสามชั้น เผือก เห็ดหอม เห็ดหูหนู ขนมพองเค็มโบราณ และเต้าส้อพริกไทย เป็นต้น
อั่งถ่อก้วย หรือกุ้ยช่ายสีชมพู ของดีปากน้ำโพ
ทั้ง 3 เมนูที่ได้รับคัดเลือกจากแต่ละจังหวัด ล้วนเป็นอาหารถิ่นที่มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกให้เหลือเพียง 1 เมนูเท่านั้น โดยจะมีการประกาศผลช่วงเดือนกันยายนนี้ และพิธีมอบโล่ประกาศในวันสถาปนากรมส่งเสริมวัฒนธรรม ตรงกับวันที่ 24 กันยายน
โปรเจ็คสร้างสรรค์นี้ นายโกวิท ตั้งเป้าว่าจะทำให้ทุกจังหวัดให้ความสำคัญและภาคภูมิใจกับเมนูอาหารประจำถิ่น มีการจัดทำคู่มือแนะนำร้านอาหาร และหาแนวทางอนุรักษ์สูตรอาหารเพื่อป้องกันสูตรดั้งเดิมไม่ให้สูญหาย อีกทั้งยังกระตุ้นยอดจำหน่ายของผู้ประกอบการและการตามรอยชิมเมนูดังทั่วประเทศด้วย
อาหารท้องถิ่น 4 ภาค ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละคน หากได้ไปท่องเที่ยวในภาคไหนก็อยากชวนให้ทุกคนได้ลิ้มลองความอร่อยทั้งอาหารคาวอาหารหวาน พบเจอกับความแปลกใหม่ ถือเป็นการเพิ่มรสชาติให้กับชีวิต ส่วนเมนูใดจะเป็นที่หนึ่งของจังหวัด ต้องติดตามกันต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ
10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567