ในโลกอินเตอร์เน็ต สำหรับเด็กและเยาวชน เป็นเหมือนเพื่อนอีกคนที่ขาดไม่ได้ ซึ่งก็มีทั้งประโยชน์ แต่ในเวลาเดียวกันก็สามารถเกิดโทษได้ หากไม่รู้ทันภัยของไซเบอร์ ที่ไม่ใช่มีแค่การบูลลี่ หรือเกมออนไลน์ อาทิ การหลอกลวงเพื่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวผ่านลิงก์ หรือการส่งข้อความแจ้งสิทธิหรือข้อมูลเท็จผ่าน SMS หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์, ไวรัส ในระบบคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ, การหลอกลวงผ่านแอปพลิเคชั่นเพื่อส่งรูปหรือข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความไว้เนื้อเชื่อใจที่เด็กและเยาวชนมอบให้กับผู้ไม่หวังดีได้
ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการใช้อินเตอร์อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทันในเด็กและเยาวชน สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงแค่การพูดหรือตักเตือน แต่ต้องให้เกิดความเข้าใจและตระหนักรู้ กรุงเทพมหานครฯ จึงได้จับมือ AIS กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขยายผลหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” ยกระดับการศึกษายุคดิจิทัลในการสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ ส่งต่อความรู้ให้แก่ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในโรงเรียสังกัด กทม. ทั้ง 437 แห่ง ที่มีทั้งบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนรวมมากกว่า 250,000 คน
สำหรับเนื้อหาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ออกแบบอ้างอิงมาตรฐานตามกรอบการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลอย่างความฉลาดทางดิจิทัล หรือ DQ Framework (Digital Intelligence Quotient) กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล ตลอดจนสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์ ซึ่งหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ได้มีการปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ซึ่งมีบทเรียนทั้งสำหรับเยาวชน นักศึกษา คุณครู บุคลากรางการศึกษา และประชาชนทั่วไป
ประเด็นมุมมองภัยไซเบอร์กับสุขภาพจิต พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า ในโลกดิจิทัลเรียกได้เป็นโลกคู่ขนาดของเด็กและเยาวชน ที่ช่วยสร้างความสุข หาความรู้ หรือการสร้างสัมพันธ์ต่างๆ แต่ในอีกมุมที่ทั้งในโลกแห่งความจริง และโลกออนไลน์ต่างพบเจอกับการหลอกลวง ความทุกข์ การด่าทอ กลั่นแกล้งกัน ซึ่งจากการสำรวจในกลุ่มเด็กๆกว่า 90% เคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้ในโลกออนไลน์มาแล้วทั้งสิ้น เพียงแต่ระดับความเสียหายก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ปัญหาที่พบเจอบ่อยที่สุดในเยาวชน คือ การติดเกม รองลงมาคือ การติดอินเทอร์เน็ต บางคนดูคลิปทั้งวัน ซึ่งพบเจอได้ทุกครอบครัว และการ Cyberbullying เพราะการโพสต์รูปง่าย ตั้งกลุ่ม ทุกอย่างง่ายไปหมดทำให้การกลั่นแกล้งตามมา รวมถึงการนัดพบคนที่ไม่รู้จักผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเหตุการณ์ที่เยาวชนพบเจอ อาทิ การหลอกลวงให้ส่งรูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัว โดยอ้างว่ามีโอกาสได้ออดิชั่นเป็นศิลปิน หรือบางทีการโพสต์เช็คอินตามสถานที่ต่างๆ ก็มีส่วนทำให้มิจฉาชีพสามารถติดตามชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่นำมาหลอกลวงเหยื่อได้ หรือการนัดพบผ่านออนไลน์ พอเป็นโลกออนไลน์เด็กบางคนเชื่อว่าเป็นเพื่อน บางครั้งก็จะทำให้หลงเชื่อได้ง่าย แต่ก็ต้องยอมรับเช่นกันว่าเด็กบางคนมีเพื่อนในโบกออนไลน์ที่ดีกว่าโลกแห่งความจริง
พญ.วิมลรัตน์ กล่าวต่อว่า หลักสูตรนี้จะทำให้เยาวชนรู้เท่านั้นสถานการณ์ของภัยไซเบอร์ ทำให้ได้ตระหนักถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ที่บางครั้งอาจจะเป็นไปไม่ได้แต่เคยเกิดขึ้นจริง อีกปัญหาคือ การพบภาวะซึมเศร้าในเด็ก ที่มากกว่าสมัยก่อน ดังนั้นนอกจากหลักสูตรแล้ว ผู้ปกครอง หรือครูอาจจะมีการกำหนดกฎระเบียบ ควบคู่ไปกับสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพราะหากขาดหรือทำเกินอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะไม่สามารถทำให้สำเร็จได้
ในแง่การรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ผ่านบทเรียน สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า จากผลการศึกษาล่าสุดของดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index พบว่า กลุ่มนักเรียนที่เราอาจจะเข้าใจว่าสามารถใช้งานสื่อดิจิทัลออนไลน์ได้อย่างเชี่ยวชาญในฐานะคนรุ่นใหม่ แต่ผลวิจัยกลับชี้ว่า เป็นอีกกลุ่มสำคัญที่ต้องเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจให้สามารถใช้งานดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยไซเบอร์ อย่างเกณฑ์การวัดผลซึ่งบ่งชี้อีกว่า กลุ่มเก็กในกรุงเทพฯ สุขภาวะดิติทัลอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา จึงเป็นเหตุผลในการขยายผลส่งต่อ หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ไปยังสถานศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ
สายชล กล่าวถึงหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ว่า โดยหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ จะนำเสนอเป็น 4 Professional Skill Module หรือ 4P4ป ที่ครอบคลุมทักษะดิจิทัล ได้แก่ 1. Practice: ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม 2.Personality: แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ 3. Protection: เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์ และ 4. Participation: รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม
โดยก่อนหน้านี้ได้เดินหน้านำหลักสูตรการเรียนรู้ดังกล่าว ส่งต่อไปยังบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดชชสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กว่า 29,000 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งขยายผลไปสู่ระดับมหาวิทยาลัย ทั้งมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หรือแม้แต่การส่งต่อไปยังภาคประชาชนผ่านหน่วยงานความมั่นคงอย่าง สกมช.
“หวังว่าความร่วมมือกับ กรุงเทพมหานครในครั้งนี้ จะทำให้เยาวชน บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัลของเด็กไทยและคนไทยให้อยูในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น” สายชล กล่าว
นำร่องปรับหลักสูตรในแผนการเรียนการสอนนักเรียนในกทม. ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นโยบายด้านการศึกษา คือหนึ่งในภารกิจของกรุงเทพมหานคร ซึ่งในการเรียนที่ใช้หลักสูตรแกนกลาง ก็พยายามที่จะปรับให้มีการบูรณาการร่วมกับหลักสูตรนอกห้องต่างๆ มากยิ่งขึ้น หรือเปิดเวลาเรียนให้มากขึ้นกว่า 5 วัน เกิดเปิดพื้นที่สิทธิเสรีภาพให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการออกแบบการแต่งกายและทรงผม เป็นต้น ยังมีนโยบายเรียนดีที่มีเป้าหมายสำคัญ คือ มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัด กทม.ให้มีความทันสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี โดยเฉพาะเนื้อหาหรือแม้แต่ทักษะด้านดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานบนโลกออนไลน์ให้มีความปลอดภัยและเหมาะสม ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากผู้ไม่หวังดีและมิจฉาชีพ
ทั้งนี้ทางโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพฯ ก็มีการนำหลักสูตรไซเบอร์มากกว่า 10 หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับโรงเรียนและคุณครูในการนำไปตามแผนการสอนเพราะแต่ละโรงเรียนมีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน บางโรงเรียนอาจจะใช้ในเป็นหลักสูตรนอกห้องเรียน หรืออยู่ในวิชาคอมพิงเตอร์ สิ่งสำคัญคือการวัดผลว่าเด็กสามารถนำไปใช้หรือป้องกันได้จริง โดยเบื้องต้นการนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ที่จะถูกนำเข้าไปบูรณาการเป็นสื่อการเรียนการสอน ในวิชาวิทยาการคำนวณ สังคมและแนะแนว ให้แก่นักเรียน ในโรงเรียนสังกัด กทม. ทั้งโรงเรียนระดับอนุบาล – ประถมศึกษา, ระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 437 แห่ง ซึ่งจะทำให้ทั้งบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงประชาชนโดยรอบในชุมชนมากกว่า 250,000 คน ได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ จนนำไปสู่การเสริมสร้างทักษะดิจิทัล การใช้งานสื่อดิจิทัล และเทคโนโลยีให้มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ไม่ตกเป็นเหยื่อของการใช้งานออนไลน์และมิจฉาชีพ สามารถการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย
แนวทางในอนาคต สายชล กล่าวว่า พร้อมเดินหน้าขยายไปยังโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และกำลังดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุ อยู่ในขั้นตอนการทดสอบหลักสูตร เพื่อประเมินประสิทธิภาพเนื้อหาก่อนจะเผยแพร่ ทั้งนี้ยังมีบริการเพื่อป้องกันภับไซเบอร์ไปยังลูกค้าของ AIS โดยตรง เช่น Family Link แอปพลิเคชั่นที่ให้คุณดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลานได้ใกล้ชิดมากขึ้น ด้วยการนำเครื่องมือทางเทคโนโลยี Online Learning Platform โดย AIS Academy อย่าง LearnDi มาเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้ใช้งานเข้ามาเรียนรู้ได้ทั้งบนเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน อุ่นใจ CYBER เพื่อมอบความสะดวกสบายในการเรียนรู้แบบทุกที่ทุกเวลา สำหรับเยาวชน ครู และบุคคลทั่วไปสามารถดูรายละเอียดเพิ่มของหลักสูตรไซเบอร์ได้ที่ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จักรภพ' ได้ฤกษ์ 7 ก.พ. ควงคนรักจดทะเบียนสมรส เถ้าแก่ 'ทักษิณ' สักขีพยาน
'จักรภพ' ได้ฤกษ์! ควงคนรักจดทะเบียนสมรส 7 ก.พ. เขตบางรัก เถ้าแก่ 'ทักษิณ' ลงนามเป็นสักขีพยาน ลั่นรู้สึกชื่นใจเสียงตอบรับล้นหลาม
กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศ 24 ชม. ทั่วประเทศอากาศเย็นลง ‘กทม.’ ต่ำสุด 18 องศาฯ
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน
4 จังหวัด คลุกฝุ่น PM2.5 กระทบสุขภาพคนกรุง 2 พื้นที่
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
รีบเช็กก่อน! กรุงเทพมหานคร อัปเดต 17 จุด อนุญาตจุดพลุปีใหม่
เพจกรุงเทพมหานคร อัปเดต 17 จุด อนุญาตจุดพลุ ปีใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธ.ค. 67