รุก 'รู้ทัน' ไข้เลือดออก ...'ฟูจิฟิล์ม'โชว์นวัตกรรมตรวจรู้ผล 15 นาที

ไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของไทย รวมถึงประเทศในแถบร้อนชื้น มียุงลายเป็นพาหะของเชื้อ Dengue virus (DENV) พบการระบาดตลอดทั้งปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูฝน และมีการระบาดหนักในทุก 2-5 ปี โดยในปี 2566 นี้เป็นปีที่ประเทศไทยส่อเค้าระบาดหนักอีกครั้ง สถิติตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยแล้วกว่า 45,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 41 รายล่าสุดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ระบุว่าปีนี้มีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 3 เท่า และอาการไข้เลือดออกยังไม่เหมือนที่เคยพบ ทำให้การวินิจฉัยระยะแรกค่อนข้างยาก  ด้วยเหตุนี้ เมื่อเร็วๆนี้ สธ.จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดการประชุมทางวิชาการ “Dengue Effective for Treatment and Prevention” บูรณาการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก ปรับปรุงแนวทางรักษา ป้องกันโรค เพื่อลดความรุนแรงและเสียชีวิต

ในด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออก โดยเฉพาะการรู้ผลตรวจให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่่อทำการรักษาได้ทันท่วงที  เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัดได้โชว์นวัตกรรมชุดตรวจหาไข้เลือดออกที่มีความไวสูงด้วยเทคโนโลยี Silver Amplification ที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยไข้เลือดออกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต  ในงาน “ASEAN DENGUE DAY 2023” จัดโดยกรมควบคุมโรค ร่วมกับบริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Moving Forward to Zero Dengue Death – ก้าวสู่สังคมไทย ไม่ป่วยตายด้วยไข้เลือดออก”

FUJIFILM SILVAMP Dengue NS1 Ag Test Kit ชุดตรวจไข้เลือดออกความไวสูง

มร. โซ มารูโอะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ล่าสุด นำเสนอนวัตกรรมชุดตรวจที่มีความไวและความแม่นยำสูงด้วยเทคโนโลยี Silver Amplification โซลูชันของเราพัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้ด้านภาพถ่ายเพื่อช่วยตรวจวินิจฉัยไข้เลือดออกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง   สำหรับนวัตกรรม Rapid Test ชุดตรวจที่มีความไวสูง  นำเสนอโซลูชันชุดทดสอบแบบ Point of Care (POC) Antigen Test ใช้งานสะดวกทุกที่ทุกเวลา ช่วยวินิจฉัยได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ด้วยวิธีตรวจที่สะดวก ง่าย สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางหรืออาศัยเครื่องมือพิเศษอื่นๆ สามารถรู้ผลภายใน 15 นาที จึงช่วยให้แพทย์ตรวจพบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้เร็วและแม่นยำมากขึ้นได้ ช่วยลดการป่วยและการตายจากโรคไข้เลือดออกในวงกว้าง ขับเคลื่อนการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก

มร. โซ มารูโอะ เอ็มดี  บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) 

นวัตกรรม ‘FUJIFILM SILVAMP Dengue NS1 Ag Test Kit’ ชุดตรวจความไวสูง ที่ใช้เทคโนโลยี Silver Amplification กรรมสิทธิ์ของฟูจิฟิล์ม โดยใช้ Silver Halide Photography ในการขยายขนาดอนุภาคของ Gold Colloidal ได้ถึง 100 เท่า ช่วยให้สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อด้วยระดับ Sensitivity (ความไว) ที่มากถึง 94.3% และอัตรา Specificity (ความจำเพาะ) ถึง 100% รวมถึงสามารถตรวจได้ทั้ง 4 Serotype ของไวรัส ได้แก่ DEN-1, 2, 3 และ 4

ที่สำคัญคือชุดตรวจใช้เลือดของผู้ป่วยในปริมาณที่น้อยมาก และสามารถรายงานผลได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 20 นาที เมื่อเทียบกับกระบวนการในปัจจุบันที่อาจใช้เวลาหลายวัน การอ่านผลการติดเชื้อสามารถดูได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้คู่กับเครื่องอ่านอัตโนมัติ  ช่วยเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการอ่านค่า  

การใช้งานไม่ยุ่งยาก มาพร้อมตลับทดสอบและหลอดใส่ตัวทำปฏิกิริยา กระบวนการทดสอบจะเริ่มจากการใส่สารทดสอบ ได้แก่ เลือดครบส่วน (Whole Blood) ซีรัม (Serum) หรือพลาสมา (Plasma) ลงในหลอดและเขย่าแรง ๆ ให้สารเข้ากัน หลังจากนั้นหยดสารลงบนช่องหยดบนตลับ จากนั้นกดปุ่ม “Button 2” บนตลับ รอประมาณ 15 นาทีเพื่อให้แถบ “Go Next” ที่อยู่ข้าง ๆ ขึ้นเป็นสีส้ม จากนั้นกด “Button 3” เพื่อให้เริ่มกระบวนการ Silver Amplification และภายใน 1 นาทีผลตรวจจะปรากฏขึ้น การแสดงผลที่รวดเร็วนี้ทำให้สามารถคัดกรองผู้ป่วยได้ตั้งแต่การติดเชื้อในระยะแรก

นอกจากนี้ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ยังได้เปิดตัวเว็บไซต์ www.KnowDengueTH.com เพื่อเพิ่มช่องทางในการรับรู้เรื่อง ‘โรคไข้เลือดออกที่น่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด’ ซึ่งเว็บไซต์นี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สร้างความตระหนักรู้แก่ภาคประชาชนภายใต้ความร่วมมือว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย Dengue-Zero  ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้

การเคลื่อนไหวป้องกันไข้เลือดออก เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับกรมควบคุมโรค วิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์ม “ทันระบาด” เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกแบบเชิงรุกสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  อีกทั้งยังต่อยอดสู่แอปพลิเคชัน “รู้ทัน” เพื่อ เป็นเครื่องมือให้ประชาชนใช้ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ สนันสนุการใช้งานแอปพลิเคชันโดยบริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด

ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ หัวหน้าทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เนคเทค สวทช. กล่าวว่า ได้ร่วมกับสธ. เปิดแพลตฟอร์ม “ทันระบาด” ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อสนับสนุนการวางแผนป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่มีประสิทธิภาพและเท่าทันสถานการณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 4 แอปพลิเคชันหลัก ได้แก่ ทันระบาดสำรวจ เพื่อช่วยรวบรวมข้อมูลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย และรายงานความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายให้กับพื้นที่แบบเรียลไทม์ ทันระบาดติดตาม เพื่อนำเสนอสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ร่วมกับความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย บนแผนที่ และตาราง ตามมิติที่สนใจ ทันระบาดรายงาน เพื่อช่วยสรุปชุดข้อมูลสำคัญที่มีการใช้งานเป็นประจำออกมาในรูปแบบรายงานอย่างอัตโนมัติ และทันระบาดวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลในมุมมองที่สนใจ

แพลตฟอร์ม “ทันระบาด”

“ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันและป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก ทีมวิจัยเนคเทค สวทช. และกรมควบคุมโรค ยังได้ร่วมกันพัฒนาต่อยอดทันระบาดสู่แอปพลิเคชัน “รู้ทัน” ให้เป็นเครื่องมือแจ้งเตือนความเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกตามพิกัดที่ผู้ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้น พร้อมคำแนะนำในการป้องกันตน นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังดูข้อมูลในรูปแบบแผนที่ตั้งแต่ระดับตำบลถึงระดับภาพรวมประเทศ เพื่อแจ้งเตือนคนรู้จักหรือวางแผนเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน อาทิ เสื้อแขนยาว ยากันยุง ก่อนเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงได้”

แอปพลิเคชัน “รู้ทัน” ยังสามารถแจ้งเตือนความเสี่ยงด้านสุขภาพอื่น ๆ  เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ค่าดัชนีความร้อนที่อาจนำไปสู่โรคลมแดด รวมถึงสภาพอากาศ ให้ประชาชนทราบในแอปพลิเคชันเดียว ทั้งนี้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “รู้ทัน”เพื่อใช้งานได้ที่ Play Store และ App Store

ถิติการระบาดไข้เลือดออกปี  66 ที่สูงโด่งกว่าปีก่อนๆ  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปักหมุด แชร์ข้อมูล สร้าง'เมืองใจดี'

เป็นคำถามที่ค้างคาและสงสัยอยู่ในสังคมมาตลอด ที่จอดรถ ทางลาด ห้องน้ำ ทางลาดเลื่อน ลิฟต์ของคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา รวมไปถึงคนที่มีข้อจำกัดด้านการเดินทาง ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล  โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ

นักวิจัยด้านกุ้ง จาก จุฬาฯ - สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2567

นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิจัยที่มีผลประโยชน์สูงต่อการเลี้ยงกุ้ง จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สวทช. คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2567 ขณะที่