คอลเลกชัน’ผ้าไทย’งาน EMPORIUM EMQUARTIER SENSE OF THAI

“วัฒนธรรมอันเคลื่อนคล้อย” หรือ Moving Culture แนวคิดจากเทรนด์หลักในหนังสือ Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023 ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการบริหาร ถูกนำมาเป็นโจทย์สำคัญให้ 5 ดีไซเนอร์ระดับแถวหน้าของไทยนำมาใช้ในการออกแบบคอลเลกชันพิเศษจาก “ผ้าไทย” ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกด้วยแฟชั่นโชว์ในงาน EMPORIUM  EMQUARTIER  SENSE OF THAI สืบสานใจ หัตถศิลป์ไทยสู่สากล  โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทรงเป็นประธานเปิดงาน จัดโดยศูนย์การค้า  ดิ เอ็มโพเรี่ยม และ ดิ เอ็มควอเทียร์ ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสิน เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 91 พรรษา และชื่นชมในพระกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า สิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการส่งเสริมและพัฒนางานผ้าไทย และหัตถศิลป์ไทยจาก 4 ภูมิภาคของไทย 

​5 ดีไซเนอร์ ได้แก่ ศิริชัย ทหรานนท์ จากแบรนด์ THEATRE, พลพัฒน์ อัศวะประภา จากแบรนด์ ASAVA, ภูภวิศ กฤตพลนารา จาก  แบรนด์ ISSUE, วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข จากแบรนด์ WISHARAWISH และ ธนาวุฒิ ธนสารวิมล จากแบรนด์ T AND T ได้ออกแบบผลงานคอลเลกชันพิเศษตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยนำผ้าไทยจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เช่น  ผ้าไหม, ผ้าชาวเขา, ผ้าฝ้ายพิมพ์ลาย,ผ้าขาวม้า ฯลฯ นำมาออกแบบผสมผสานผ้าพื้นเมืองจากหมู่บ้านต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงเข้าไปพัฒนาและต่อยอดให้กับชาวบ้าน เช่น ผ้าฝ้ายลายยกดอก, ผ้าฝ้ายย้อมคราม, ผ้าฝ้ายเข็นมือ, ผ้าบาติก และผ้าทอใยกัญชง เป็นต้น เน้นงานดีไซน์ผ้าไทยที่สวมใส่สบาย ใช้ได้ในจริงและยังคงถ่ายทอดซิกเนอเจอร์แต่ละแบรนด์ไว้ชัดเจน 

 ศิริชัย ทหรานนท์ กล่าวว่า ผลงานทั้ง 5 ชุดในคอลเลกชันนี้ มีคอนเซ็ปต์ NEO-TRIBES คีย์หลักจากหนังสือ “Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023”  โดยใช้ผ้าชาวเขาจากมูลนิธิศิลปาชีพฯ มาออกแบบผสมผสานกับผ้ายกฝ้ายจากลำพูน เน้นโทนสีที่อ่อนลง เช่น สีคราม ฟ้า เทา ภายใต้การออกแบบสไตล์ Feminine -Masculine ที่เป็นดีเอ็นเอของแบรนด์ THEATRE สวมใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เน้นซิลูเอทง่ายๆ ที่สวมใส่สบาย ดูสดใสและอ่อนวัย อย่าง เดรส, กระโปรง, แจ็กเกตตัวสั้น และโค้ต เติมรายละเอียดความเป็นแฟชั่นที่ยั่งยืนด้วยการนำขวดพลาสติกสีๆ มาตัดแล้วปักลงบนตัวเสื้อเพื่อให้เกิดลูกเล่นแปลกใหม่

ด้าน พลพัฒน์ อัศวประภา เผยว่า ผลงานการออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ “Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2023” และความต้องการนำเสนออัตลักษณ์และเสน่ห์ที่แตกต่างกันของผ้าพื้นเมืองในแต่ละท้องถิ่นมาพัฒนาและตีความใหม่ให้ผ้าไทยมีความเป็นแฟชั่น ใส่ได้สนุก นำเสนอผ่านซิกเนเจอร์ซิลูเอทของอาซาว่าที่คงไว้ซึ่งความเรียบโก้และสง่างามในรูปแบบโมเดิร์นเดย์แวร์ อย่างสูท แจ็กเกต และเสื้อทรงเคป รวมถึงค็อกเทลเดรสให้ผู้หญิงยุคใหม่สามารถสวมใส่หรือมิกซ์แอนด์แมตช์ได้ในหลากหลายโอกาส พร้อมตัดเย็บด้วยเทคนิคตัดต่อลายทางและเทคนิคการต่อผ้าให้เกิดลวดลายที่น่าสนใจ ยกระดับผ้าไทยและหัตถศิลป์ไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล

​ผลงานจาก 5 ดีไซน์เนอร์จัดแสดงในนิทรรศการชุดผ้าไทย THAI TEXTILES TREND ภายในงาน EMPORIUM  EMQUARTIER  SENSE OF THAI สืบสานใจ หัตถศิลป์ไทยสู่สากล ณ เอ สเปซ  ชั้น จี  ดิ เอ็มควอเทียร์ นอกจากนี้ มีกิจกรรมน่าสนใจ อาทิ  นิทรรศการวิดีทัศน์เทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่จัดแสดงถึงพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ A SPACE ชั้น G อาคาร A 

นอกจากนี้ มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถศิลป์ THAI CRAFT FAIR โดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ  อาทิ ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือ ผ้าชาวไทยภูเขา ผ้าจก ผ้าแพรวา ผลิตภัณฑ์งานจักสานจากย่านลิเภาและกระจูด งานเครื่องเคลือบดินเผา ผ้าปักซอยแบบไทย และผลิตภัณฑ์เกษตรจากฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อาทิ ผัก ผลไม้  กาแฟอราบีกา ดอกเกลือและเกลือแกง คาเวียร์ เนื้อปลา เรนโบว์เทร้าต์สดและรมควัน เป็ดอี้เหลียงรมควัน หมูจินหัวแดดเดียว  เป็นต้น ณ QUARTIER AVENUE ชั้น G   

ผู้สนใจเข้าชมงาน EMPORIUM EMQUARTIER SENSE OF THAI สืบสานใจ หัตถศิลป์ไทยสู่สากล ได้ตั้งแต่วันนี้  – 14 ส.ค.2566 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมป่าไม้ อนุรักษ์ “พลองใหญ่” ต้นไม้ทรงปลูกในสมเด็จพระพันปีหลวง เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดพรรณไม้ให้เพิ่มมากขึ้น

การอนุรักษ์พรรณไม้มีค่าให้คงอยู่ และสามารถขยายพันธุ์ได้มากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในการดำเนินงานสำคัญที่จะทำให้พรรณไม้มีค่าได้เจริญเติบโตและงอกงามสมบูรณ์ ดังนั้นในปี 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ จึงได้ร่วมกับ

'ในหลวง' พระราชทานพระราชดำรัส งานมหกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน 2567

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในงานมหกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “2 ทศวรรษ กองทุนแม่ของแผ่นดิน

พสกนิกร-คณะบุคคล ลงนามถวายพระพร'พระพันปีหลวง' วันเฉลิมพระชนมพรรษา

12 ส.ค. 2567 ที่อาคารหน่วยราชการในพระองค์ 904 ศาลาสหทัยสมาคมฯ และเต็นท์สนามหญ้าข้างอาคารลูกขุน ในพระบรมมหาราชวัง สำนักพระราชวังเปิดให้ลงพระนามและลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ในหลวงพระราชทานสิ่งของมอบแก่ผู้ป่วยศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สวางคนิวาส

7 ส.ค. 2567 - เวลา 10.10 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ท่านผู้หญิงอินทิรา พลธร เชิญสิ่งของ และเครื่องอุปโภคบริโภค อาทิ ข้าวสาร นมกล่อง

ชวนปชช.ลงนามถวายพระพรชัยมงคลพระพันปีหลวง

7 ส.ค.2667  - สำนักพระราชวังขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2567 ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์