เทิดไท้พระพันปี ศิลปินศิลปาธรแต่ง 10 บทเพลง

พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศิลปินศิลปาธร  สาขาดนตรี ปี 2560 ได้จัดทำ 10 บทเพลงพิเศษ” บทเพลงเทิดพระเกียรติ คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี” โดยร่วมประพันธ์คำร้องทำนอง และเรียบเรียงดนตรีกับเหล่านักดนตรีไทย เพื่อเทิดพระเกียรติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ท่าน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 โครงการสร้างสรรค์นี้ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ศิลปินกลุ่มนักประพันธ์เพลงจิตอาสา และคณะบุคคลผู้มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน  10 บทเพลงไพเราะถ่ายทอดเรื่องราวอันทรงคุณค่าและความทรงจำที่พสกนิกรไทยมีต่อสมเด็จพระพันปีหลวง จะชวนทุกคนตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระองค์ท่านผ่านดนตรีงานศิลป์ทรงพลัง

พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หัวหน้าโครงการฯ เผยจุดเริ่มต้นว่า ตนคุ้นเคยกับศิลปินนักร้องที่ถวายงานการแสดงให้สมเด็จพระพันปีฯ มานานนับสิบปี  เรามักสนทนากันว่า สมเด็จพระพันปีหลวงไม่มีเพลงของพระองค์ท่านให้นึกถึงได้เลย  ตั้งใจเมื่อมีโอกาสจะมาช่วยกันทำเพลงถวาย  จนกระทั่งปี 2565 สมเด็จพระพันปีหลวงฯ พระชนมายุครบ 90 พรรษา เป็นโอกาสดีได้เริ่มงานกัน ตั้งใจว่า 2 เพลงแรกต้องทำให้เสร็จทันวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม เพลงแรกชื่อ “เพลงไหมแพรวา” คุณดลชัย บุณยะรัตเวช ขับร้อง อีกเพลงชื่อ “สุดหัวใจ” คุณกันยารัตน์ กุยสุวรรณ ขับร้อง จากนั้น แต่งเพลงเพิ่ม มีนักร้องมาร่วม เช่น  คุณสุนทรี เวชานนท์ คุณปาน ธนพร แวกประยูร ม.ล.วันรัชดา วรวุฒิ กลุ่มนักร้องเยาวชนจากว๊อยซ์อคาเดมี ได้ทำการบันทึกเสียงจนเสร็จสิ้นครบ 10 เพลง เมื่อเดือนมกราคม 2566 ศิลปินไม่ว่าจะขับร้อง เล่นดนตรี นักแต่งเพลง มาร่วมกันทำงานนี้ถวายด้วยจิตอาสา

สำหรับเพลงเทิดพระเกียรติ ประกอบด้วย  1. เพลง “เพลงไหมแพรวา” ขับร้องโดย ดลชัย บุณยะรัตเวช ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ภาณุ เทศะศิริ เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  เป็นเรื่องราวผ้าไหมแพรวาที่สมเด็จพระพันปีทรงอุปถัมภ์จนกลายเป็นราชินีผ้าไหมไทยที่เลื่องลือทั่วโลก 2. เพลง “สุดหัวใจ” ขับร้องโดย กันยารัตน์ กุยสุวรรณ ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ศรีจิตรา นานานุกูล เรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล  ถ่ายทอดความรักความผูกพันที่พสกนิกรไทยมีต่อสมเด็จพระพันปีผ่านมุมมองข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ 3.เพลง “ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ” ขับร้องโดย ดลชัย บุณยะรัตเวช ประพันธ์ทำนอง-คำร้องและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นเรื่องชาวนาและเกษตรแผนใหม่ตามแนวพระราชดำริและการรักษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาประเพณีท้องถิ่น 4. เพลง “โพธิ์ทองของปวงไทย” ขับร้องโดยกลุ่มเยาวชน คำร้องโดย ชโลธร ควรหาเวช ทำนองและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เล่าถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระกรณีกิจที่ทรงทุ่มเทผ่านมุมมองเยาวชน

5.เพลง “พ่อเป็นน้ำ แม่เป็นป่า” ขับร้องโดย ม.ล.วันรัชดา วรวุฒิ และตัวแทนชาวไทยภูเขาหกเผ่า ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย โอฬาร เนตรหาญ เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สื่อโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามแนวพระราชดำริและความผูกพันของชาวไทยภูเขากับพระพันปีหลวง 6. เพลง “ภาพพันปี” ขับร้องโดย อิสริยา คูประเสริฐ ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ธนชัย ยงพิพัฒน์วงศ์ และ ชาตรี ทับละม่อม เรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล เป็นเพลงพรรณาให้เห็นความรักและความทุ่มเทของพระพันปีที่มีต่อพสกนิกรผ่านภาพถ่ายมากมายที่ประทับอยู่ในความทรงจำคนไทย  7.เพลง “คนโขน” ขับร้องโดย อภิภู โสรพิมาย ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ศรีจิตรา นานานุกูล และ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นำเสนอพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ต่อนาฏศิลป์โขนไทย

8. เพลง “กายเราคือเสาหลัก” ขับร้องโดย พ.อ.นพ.วิภู กำเนิดดี ทำนอง-คำร้องและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เรื่องความรักของตำรวจตระเวนชายแดนที่มีต่อชาติ สถาบัน และความห่วงใยเมตตาของในหลวง ร.9 และสมเด็จพระพันปีหลวง ที่มีต่อ ตชด.  9.เพลง “ศิลปาชีพ” ขับร้องโดย สุนทรี เวชานนท์ ประพันธ์ทำนองโดย วีระ วัฒนะจันทรกุล ประพันธ์คำร้องโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เรียบเรียงดนตรีโดย วีระ วัฒนะจันทรกุล และ ปวรินทร์ พิเกณฑ์ เสนอพระราชกรณียกิจด้านศิลปาชีพ ถ่ายทอดด้วยภาษาพื้นถิ่นล้านนา และ 10. เพลง”กางเขนแดง หัวใจขาว” ขับร้องโดย ปาน-ธนพร แวกประยูร  คำร้องโดย ชาตรี ทับละม่อม ทำนองและเรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล  เรื่องราวพทย์พยาบาลที่เสียสละเพื่อสืบสานปณิธานพระพันปีที่ทรงเป็นสภานายิกาสภากาชาดไทย ทั้งนี้ จะจัดแถลงข่าว วันที่ 3. ส.ค. ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส  

โครงการบทเพลงเทิดพระเกียรตินี้ ผลิตเป็นแพคเกจสวยงามสมพระเกียรติ ประกอบด้วยภาพวาดปกพระฉายาสาทิสลักษณ์โดยนายนิติกร กรัยวิเชียร โปสการ์ดภาพวาดพระฉายาสาทิสลักษณ์ โดย นายสุวิทย์ ใจป้อม 10 ภาพ ภาพประกอบด้านใน โดย น.ส.ปันนรัตน์ บวรภัคพาณิช และเครดิตการ์ดยูเอสบี ขนาดความจุ 16 กิกาไบ๊ต์ บรรจุไฟล์เพลงรายละเอียดสูง  ทั้งแบบเพลงเต็มและแบ๊คกิ้งแทร็ค ไฟล์มิวสิควิดิโอขนาดฟูลเอชดีและข้อมูลของบทเพลงทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีผ่านเฟซบุ๊คเพจโครงการ https://www.facebook.com/songsforqueensirikit/  และ https://soundcloud.com/pongprom…/sets/rvjqypbout7k…

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนเที่ยว'สวนแสง'งานมหรสพสมโภช ชมนิทรรศเฉลิมพระเกียรติ

13 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั

3 ผลงานศิลปะขับเคลื่อน'THACCA SPLASH'

งาน THACCA SPLASH-Soft Power Forum 2024 เป็นงานประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ 11 สาขาอุตสาหกรรม เพื่อเปิดภูมิทัศน์ซอฟต์พาวเวอร์ไทยและโลก ศิลปะเป็นหนึ่งในสาขาที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มในทางเศรษฐกิจนอกจากอุตสาหกรรมดนตรี, ภาพยนตร์, หนังสือ, เกม, ท่องเที่ยว

กระบี่ยกเลิกประกาศขายทอดตลาดประติมากรรมศิลปินแห่งชาติ

5 มิ.ย.2567 - นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร) เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชน กรณีเทศบาลเมืองกระบี่มีประกาศขายทอดตลาดประติมากรรม “โครงสร้างแห่งชีวิต” ของนายศราวุธ ดวงจำปา ศิลปินแห่งชาติ

บทสนทนาทรงพลัง'อินสนธิ์ วงค์สาม-ทวี รัชนีกร'

2 ศิลปินระดับชาติวัย 90 ปี สร้างผลงานชั้นเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอมาตลอดชีวิต ปัจจุบันยังทำงานศิลปะอย่างจริงจัง แต่ละผลงานสะท้อนถึงวิธีคิด​ที่ชัดเจนและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจผ่านการสร้างงานศิลป์รูปแบบใหม่ๆ ​ด้วยการค้นหาสิ่งใหม่ ดัดแปลงสิ่งเก่า​ ค้นหาแก่นแท้ในผลงานของตัวเอง​

เทศกาลศิลปะแหลมมลายู รวมผลงาน 70 ศิลปิน

หอศิลป์ภูมิภาค 4 แห่งจับมือกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ขับเคลื่อนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจากชุมชนสู่สากล นำมาสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานของหอศิลป์และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในส่วนภูมิภาค

ไฮไลต์ 3 วัน เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง 2024

เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง Phetchaburi Harmony Puppet Festival 2024 กลับมาอีกครั้ง ภายใต้การออกแบบเฟสติวัลที่เชื่อมโยง คำว่า “หนัง” ที่สื่อถึงตัวหนังที่แกะขึ้นเป็นภาพ ภาพบนตัวหนังที่เคลื่อนไหวใช้ชักเชิด ต่อมาวิวัฒนาการเป็นภาพยนตร์  มีการชมหนัง  ปีนี้