คอมพ์เก่าไม่ใช้ Google ขอ...นำไปอัพเกรดมอบโรงเรียนขาดแคลนในกทม.

ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิดเมื่อ 3 ปี ก่อน ทำให้เด็กๆ ไปโรงเรียนไม่ได้ ต้องเรียนออนไลน์เท่านั้น แต่เด็กบางคนไม่มีอุปกรณ์เรียนออนไลน์ อย่างโน๊ตบุ๊ค หรือแท็บแล็ต น้องๆบางคนผู้ปกครองพอมีกำลังซื้อก็จัดหามาให้ลูกหลาน แต่บางครอบครัวไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ ก็ทำให้เด็กขาดโอกาสเรียนรู้แทบจะสิ้นเชิง

และแม้ว่าเด็กจะกลับเข้าสู่ห้องเรียนแล้วหลังการระบาดโควิดคลี่คลาย แต่ด้วยโลกการเรียนรู้ปัจจุบันกว้างใหญ่ไพศาลมาก ซึ่งถ้าจะทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆนักเรียนยุคนี้ ก้าวทันโลกได้อย่างเท่าทัน ก็ควรมีเครื่องไม้เครื่องมือให้เด็กสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือท่องโลกแห่งของความรู้ได้  แต่ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะมีโน็ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ต   หรือแม้แต่โรงรียนต่างๆที่น่าจะเป็นที่พึ่งพิงของเด็กในการเข้าสู่ระบบดิจิทัล ก็ยังไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์การเรียนรู้ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโน๊ตบุ๊ก ได้เพียงพอกับความต้องการของเด็กได้

ด้วยเหตุนี้ ทางGoogle ประเทศไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็กผ่านระบบดิจิทัล  จึงจัดโครงการลดช่องว่างดิจิทัลในภาคการศึกษา ต่อยอดก้าวสู่การเป็นห้องเรียนดิจิทัลด้วยกระบวนการที่ยั่งยืน ให้กับนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จึงร่วมมือกับ กรุงเทพมหานคร     หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย และภาคธุรกิจเอกชนอีกหลายราย  เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ กับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยการเปิดรับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ เก่าที่ได้รับการบริจาคมาจากองค์กรต่างๆ โดยหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการประกาศรับบริจาคจากสมาชิกของหอการค้าฯ และ Google รับหน้าที่ในการใช้พลังของระบบปฏิบัติการ ChromeOS Flex เพื่อแปลงโฉมคอมพิวเตอร์เก่าเหล่านั้นให้กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความรวดเร็วและปลอดภัย รวมทั้งจะทำการฝึกอบรมฟรีให้แก่ทุกโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

โดยคาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้า จะได้รับบริจาคคอมพิวเตอร์เก่าจำนวน 130,000 เครื่อง เพื่อนำมาช่วยสร้างการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้กับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาที่ 4 – ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน ซึ่งครอบคลุมถึง 437 โรงเรียน  

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสาธารณสุข เป็นสองมิติที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งโครงการรับบริจาคคอมพิวเตอร์จากประชาชนและภาคเอกชนมาเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนรู้ของเด็กๆ ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครนั้น  นับเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้รับและผู้ให้ ที่นอกจากผู้บริจาคจะได้ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรจากคอมพิวเตอร์เก่าที่มีอายุการใช้งานเกิน 3-5 ปีแล้ว ยังสามารถส่งต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมาปรับใช้ใหม่ให้มีจำนวนเพียงพอแก่นักเรียนเพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ในทุกวิชา และครูก็สามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น พร้อมส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลและสามารถนำไปต่อยอดการทำงานในอนาคตได้อีกด้วย


“เรามักจะพูดว่ากรุงเทพฯ มีปัญหามลพิษ หรือการจราจร ซึ่งจริงๆแล้ว การศึกษาบ้านเราก็ยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพ ซึ่งเราสามารถทำให้การศึกษามีคุณภาพเพิ่มขึ้นได้ และการที่เราพูดถึงการเป็น Smart City มักคิดไปถึงแต่เทคโนโลยี แต่จริงๆแล้วการศึกษาเป็นพื้นฐานของการเป็น Smart City   และการที่กูเกิ้ลจะมา อัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับบริจาคมา จะช่วยทำให้ห้องเรียนของเด็กเป็นการเรียนแบบActive Learning ได้จริง และเมื่อมองถึงปีญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ประเทศไทยมีมากถึง 4แสนตัน/ปี หากนำ E-Waste เหล่านี้ มาบริจาคเป็นคอมพิวเตอร์ให้กับเด็กๆ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี  ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า บรรลุสู่เป้าหมายทั้งด้านความยั่งยืนทางดิจิทัล (digital sustainability) และช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างยั่งยืน  ซึ่งทั้ง Google และหอการค้าอเมริกันจะมาช่วยต่อยอดความฝันของเด็กๆให้เป็นจริง “ผู้ว่าฯชักชาติกล่าว

ไมค์ จิตติวาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดด้านแบรนด์ Google ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า Google ให้ความสำคัญด้านการศึกษาและการเข้าถึงดิจิทัลอย่างเท่าเทียมของคนไทยเป็นอันดับต้นๆ ภายใต้พันธกิจ Leave No Thai Behind หรือไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ที่ตอกย้ำการสนับสนุนด้านการศึกษาและการลดช่องว่างดิจิทัลเพื่อให้คนไทยเข้าถึงโอกาสที่มาพร้อมกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่   สำหรับการดำเนินงานในประเทศไทย นับตั้งแต่การเปิดตัวโครงการ Be Internet Awesome เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา  เราได้ทำการฝึกอบรมครูและนักเรียนไปแล้วกว่า 3.4 ล้านคน รวมทั้งได้ริเริ่มนำ ChromeOS Flex มาใช้ในพื้นที่การศึกษาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่วนความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นพันธกิจที่เรากระตือรือร้นในการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากโครงการ Be Internet Awesome โดย Google จะนำ ChromeOs Flex ที่เป็นเวอร์ชันหนึ่งของระบบปฏิบัติการ Chrome ที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย และทำงานบนระบบคลาวด์เป็นหลัก มาปรับปรุงคอมพิวเตอร์เก่าๆ ให้ทันสมัยยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในการดาวน์โหลด และสามารถใช้ควบคู่ไปกับ Chromebook ที่มีใช้อยู่แล้วอย่างสะดวกสบาย และประเทศไทยเป๋นประเทศแรกในเอเชีย แปซิฟิกที่ใช้โปรแกรมรูปแบบภาษาพื้นถิ่น

“โครงการสนับสนุนการศึกษาของGoogle  ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทั้งการอบรมครูนักเรียน 3.4ล้านคน และเราต้องการให้มีการเข้าถึงอุปกรณ์การเรียน จึงสนับสนุนสิ่งที่ทำให้เกิดความยั่งยืนในห้องเรียน  ที่พิเศษเอาเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าที่ยังใช้งานได้ มาอัพเกรดด้วยซอฟแวร์ ของกูเกิ้ล ซี่งก่อนหน้าในปี 2022 ทาง Google  ส่งทีมไปเทรนด์ครูให้ใช้เทคโนโลยีนี้เป็น และศึกษาเรียนรู้การใช้โปรแกรม ต้นปี2023 จึงได้ทำโครงการนำร่องที่ไทยนิยมสงเคราะห์ ซึ่งไม่ใช่โรงเรียนดีที่สุดในกทม. แต่สามารถเป็นตัวแทนภาพรวมทั้งหมดของโรงเรียนในกทม.ได้  ซึ่งพบว่า มีการเปรียบเทียบผลการเรียนของเด็ก ก่อนและหลังโครงการ พบว่าเด็กมีผลการเรียนดีขึ้น “

ChromeOS Flex  เป็นอย่างไร Tim Paolini หนึ่งในผู้บริหารของ Google กล่าวว่า ChromeOS Flex  จะช่วยให้คอมพิวเตอร์เก่าที่โรงเรียนมีอยู่แล้ว สามารถใช้งานด้วยระบบปฏิบัติการในระบบคลาวด์ ที่ใช้งานง่ายและปลอดภัย รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ส่วนการอัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าของ โปรแกรมChromeOS Flex  จะใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น หรือถ้าเครื่องยังดี จะใช้เวลาเพียง  5นาทีก็มี  สำหรับโปรแกรม ChromeOS Flex   มีการใช้กว่า 100 ประเทศทั่วโลกหรือประมาณ50ล้านคน  อาทิ โรงเรียนในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน  ญี่ปุ่น ก็ใช้โปรแกรมนี้   ซึ่งการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เก่ามาติดตั้งโปรแกรมChromeOS Flex   ยังเป็นการช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์อีกทางหนึ่ง

ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่ากทม.กล่าวว่า หลังจากนำร่องโครงการอัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์เก่า ด้วยโปรแกรมของGoogle ที่โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์  พบว่าหลังเด็กเรียนรู้ผ่านโปรแกรมนี้ มีผลการเรียน 7วิชาพบว่าผลการเรียนดีขึ้น ทุกวิชา ไม่ว่า ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ประวัติศาสตร์ และวิชาดนตรี

ในฐานะผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ อรกัญญา พิบูลธรรม ผู้บริหารจากซิตี้แบงก์ประเทศไทย ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย กล่าวว่า นับตั้งแต่ที่หอการค้าอเมริกันในประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2499 การศึกษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่หอการค้าฯ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา หอการค้าฯ ได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศไทยแล้วกว่า 3,100 ทุน ให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษากว่า 860 แห่ง และมอบเงินทุนสนับสนุนด้านการศึกษารวมเป็นจำนวนกว่า 190 ล้านบาท  สำหรับ โครงการบริจาคคอมพิวเตอร์เก่า เบื้องต้น ทางซิตี้แบงก์ พร้อมที่จะบริจาคได้ทันที  20 เครื่อง เพราะเป็นช่วงการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าพอดี  ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสและสนับสนุน โครงการห้องเรียนดิจิทัลของ กทม. อย่างเต็มที่

ในงานนี้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ร่วมบริจาคสองรายแรกด้วยการประกาศส่งมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เก่าจำนวน 300 เครื่อง เพื่อนำร่องการบริจาคในโครงการนี้ และบริษัททั้งสองยังมีแผนที่จะร่วมบริจาคในปีถัดไปเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

สำหรับประชาชนทั่วไปหรือองค์กรที่ประสงค์จะร่วมบริจาคคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://digitalclassroom.bangkok.go.th/

จากซ้ายไปขวา-Tim Taolini ,ไมค์ จิตติวณิชย์ ,ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ,อรกัญญา พิบูลธรรม และศานนท์ หวังสร้างบุญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยบนเส้นทาง Data Center Hub: ปลดล็อคศักยภาพ สู่ "Digital Thailand" อย่างยั่งยืน

ปี 2567 นับเป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนสำคัญบนแผนที่ Data Center โลก เมื่อยักษ์ใหญ่สายเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AWS, Microsoft, Google ต่างประกาศลงทุนสร้าง Data Center ในประเทศไทย

'ชัชชาติ' ดันศูนย์ BKK Food Bank ครบ 50 เขต แบ่งปันอาหาร 2 ล้านมื้อถึงกลุ่มเปราะบาง

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดธนาคารอาหาร หรือศูนย์ BKK Food Bank แห่งที่ 50 โดยมี นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร นางสาวมธุรส เบนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสะพานสูง ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานเขตสะพานสูง

ทำเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรก Google ได้ง่าย ๆ ด้วย Local SEO

การทำให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกของ Google เป็นสิ่งที่หลายธุรกิจต้องการอย่างมาก เพราะช่วยเพิ่มโอกาสในการดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของคุณได้

นายกฯ ตรวจศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กทม. เล็งลงพื้นที่ชุมชนเปราะบาง ยันไปตรวจสอบไม่ใช่จับผิด

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมการป้องกันและรับมือน้ำท่วม โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า จริงๆแล้ววันนี้มาให้กำลังใจ เพราะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว และหน้าฝนปีนี้มาเร็ว