บ้านพิพิธภัณฑ์ มิวเซียมเล็กๆ ถนนศาลาธรรมสพน์ ซอย 3 เป็นดินแดนของเหล่าผู้ที่ชื่นชอบของสะสม เป็นที่ๆ ผู้ใหญ่และเด็กๆ มากย้อนวันวานผ่านข้าวของในวิถีชีวิตชาวตลาดชาวเมือง โดยเอนก นาวิกมูล ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้ง ปีนี้ครบรอบ 22 ปี ที่บ้านพิพิธภัณฑ์ ทำหน้าที่กระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันเก็บเสี้ยวของประวัติศาสตร์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ นอกจากบ้านพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แฟนคลับเตรียมพบกับบ้านพิพิธภัณฑ์ 2 ที่เอนก นาวิกมูล ทุ่มสุดชีวิตทำบนที่ใหม่ ใกล้วัดไทยาวาส ต.งิ้วราย อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
เรียนรู้วิถีชีวิตผ่านของสะสมมากมายที่บ้านพิพิธภัณฑ์
ล่าสุด กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ นายเอนก นาวิกมูล ที่บ้านพิพิธภัณฑ์ เลขที่ 170/17 หมู่ที่ 17 ซอยศาลาธรรมสพน์ 3 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒน กรุงเทพฯ โดยนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มอบหมายให้นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. เป็นประธานพิธี พร้อมเยี่ยมชมบ้านพิพิธภัณฑ์ ซึ่งศิลปินแห่งชาติผู้รักการสะสมพาชมผลงานเขียนและของสะสมต่างๆ เริ่มจากบริเวณชั้น 1 จัดเป็นร้านของเล่น ร้านขายยา ร้านขายของจิปาถะ มุมหนังสือ และร้านขายของที่ระลึก ส่วนชั้น 2 จัดเป็นโรงหนัง โรงพิมพ์ ร้านตัดผม ร้านตัดเสื้อ ร้านให้เช่าหนังสือนิยาย ร้านถ่ายรูป ห้องครัว บ้านสุวัตถี และห้องจัดแสดงของทั่วไป และชั้น 3 จัดเป็นห้องเรียน ห้องนายอำเภอ ร้านขายแผ่นเสียง ร้านทอง และร้านสรรพสินค้า
วราพรรณ ชัยชนะศิริ แสดงความยินดีวันเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ
วราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. กล่าวว่า ในโอกาสครบ 22 บ้านพิพิธภัณฑ์ ได้เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่มีชีวิตของชุมชน นับเป็นบ้านหลังที่ 32 ที่ได้รับการเปิดเป็นบ้านศิลปินแห่งชาติ โดยบ้านพิพิธภัณฑ์มาจากแนวคิดของนายเอนก นาวิกมูล ที่ว่า “เก็บวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่า”และความร่วมมือของกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ที่มีอุดมการณ์เดียวกันร่วมจัดตั้งขึ้น บ้านพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่รวบรวมของสะสมและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ทั้งของสะสมส่วนตัวที่ศิลปินซื้อและของบริจาคจากผู้ที่ศรัทธา สิ่งของที่รวบรวมจัดแสดงที่นี่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา นอกจากนี้ ตนประทับใจและเป็น FC ของอาจารย์เอนก จากงานเขียนสารคดีใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่าน งานวรรณศิลป์ของนักเขียนชั้นครูท่านนี้ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
“ บ้านพิพิธภัณฑ์แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตของชาวบ้านร้านตลาดสมัยก่อน ในห้วงเวลายุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ไม่สามารถหาดูได้ที่ไหนในปัจจุบัน ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้เด็ก เยาวชน และประชาชนที่สนใจได้มาย้อนวันวาน มาดูความร่ำรวยทางวัฒนธรรมของชาติ ที่นี่ตอบโจทย์ อยากเชิญชวนให้มาเยี่ยมชม อีกทั้งเมื่อที่เดิมคับแคบ มีผู้บริจาคของเข้ามาเรื่อยๆ ศิลปินแห่งชาติตัดสินใจทำบ้านพิพิธภัณฑ์ 2 สวธ.พร้อมสนับสนุนเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ในอนาคต อีกทั้งภายในปีนี้ สวธ.มีแผนจะเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ ครูช่าง ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง เป็นหลังที่ 33 ลำดับต่อไป “ วราพรรณ กล่าวว่า
วราพรรณ ชัยชนะศิริ ย้อนวันวานในห้องเรียน บ้านพิพิธภัณฑ์
ด้าน นายอนุกูล ใบไกล ผอ.กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กล่าวว่า กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมมีภารกิจส่งเสริมและขับเคลื่อนการดำเนินงานวัฒนธรรมของศิลปินแห่งชาติ บ้านศิลปินแห่งชาติ นายเอนก นาวิกมูล แห่งนี้ถือเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนที่เก็บสั่งสมองค์ความรู้ ทั้งเครื่องมือทำมาหากินภูมิปัญญาชาวบ้าน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ภาพถ่ายมากมาย ที่จะพาเราไปสัมผัสกับอดีต โดยเฉพาะห้องจำลองที่จัดแสดงวิถีชีวิตของผู้คนและประวัติศาสตร์มีค่าจากของสะสม ผู้เข้าชมจะเกิดเป็นแรงบันดาลใจภาค ภูมิใจร่วมรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
บ้านพิพิธภัณฑ์แห่งเรียนรู้มีชีวิต
เอนก นาวิกมูล ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า บ้านพิพิธภัณฑ์ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ก.ค.2544 จากความร่วมมือของกลุ่มคนที่รักการสะสมที่ต้องการให้มีพิพิธภัณฑ์แนวใหม่ และเสียดายของดีๆ ที่ถูกทิ้ง บ้านพิพิธภัณฑ์รองรับข้าวของที่ได้จากการบริจาคจากความรักและความศรัทธาที่อยากให้มีเกิดพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวตลาด ที่นี่กระตุ้นให้คนช่วยเก็บสิ่งของในชีวิตประจำวัน เข้าใจว่าการเก็บของเป็นประโยชน์ แต่ด้วยของสะสมมีมากมาย เมื่อปี 2551 จึงขยับขยายหาที่ดิน ต.งิ้วราย จ.นครปฐม จัดสร้างบ้านพิพิธภัณฑ์ 2 นำตู้คอนเทนเนอร์ 15 ตู้ มาออกแบบทำเป็นห้องจัดแสดง มีคณะจิตอาสาทำทะเบียนสิ่งของและจัดของเข้าตู้ เราดำเนินการมา 6 ปี ที่ใหม่กำลังเร่งจัดของ เพื่อจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้มีชีวิต ตามแผนจะเปิดอย่างเป็นทางการปลายปี 2566 นี้
“ การเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ ณ บ้านพิพิธภัณฑ์แสดงถึงการเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งใจทำงานจริง สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ส่วนการทำบ้านพิพิธภัณฑ์ 2 บ้านไร่ใกล้ตลาด ตัวพิพิธภัณฑ์จัดเป็นตลาดสมมติในตึกและตู้คอนเทนเนอร์ ด้านนอกปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ปลูกผัก เป็นสวนเล็ก ปรับพื้นที่ จัดภูมิทัศน์ให้รื่นรมย์ให้คนได้พักผ่อน รวมถึงจะเป็นพื้นที่จัดเวิร์คช็อปด้านศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย ซึ่งยังต้องการเงินสมทบทุนและพลังจิตอาสามาลงแรงกายและแรงใจเพื่อทำบ้านพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้ “ อาจารย์เอนกเผย
ติดตามความคืบหน้าบ้านพิพิธภัณฑ์ 2
ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า ในอายุ 70 ปี ยังทำงานตลอดเวลา เขียนหนังสือทุกวัน เขียนเฟซทุกวันเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ทำเหมือนการหยอดกระปุกออมสิน ช่วงเช้าเขียนหนังสือ แล้วขับรถไปเที่ยวถ่ายรูปนก ทุ่งนา ต้นไม้และธรรมชาติ กลับมาก็เขียนหนังสือต่อ ผลงานล่าสุด คือ สมุดภาพเอนกถ่าย รวบรวมภาพถ่ายส่วนตัวตั้งแต่ปี 2511 ถึงปัจจุบัน มี 2 เล่ม นอกจากงานเขียนที่รัก ก็ดูแลบ้านพิพิธภัณฑ์ทั้งที่เดิม ถนนศาลาธรรมสพน์ และที่ใหม่ที่งิ้วราย ชวนมาเที่ยวบ้านพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ของชุมชนที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ เปิดให้ชมเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น. ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็กโต 10 บาท ส่วนบ้านพิพิธภัณฑ์ 2 แหล่งเรียนรู้ใหม่ที่ตำบลงิ้วราย ซอยงิ้วราย 4 อ.นครชัยศรี ปัจจุบันยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ แต่สามารถติดต่อนัดหมายเข้าชมได้ที่ อ.เอนก นาวิกมูล 089 200 2801 หรือ คุณวรรณา ภรรยา 089 666 2008
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ
10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
ลุ้น'ต้มยำกุ้ง'ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
3 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก จะประชุมพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ของประเทศไทย และชุด “เคบายา” เสนอโดยสิงคโปร์ ร่วมกับไทย มาเลเซีย อินโ
'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก
“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ