84 ปี ลูกทุ่งไทย สร้างสรรค์สู่สากล

เพลงลูกทุ่งเป็นศิลปะการแสดงทรงคุณค่าอยู่คู่กับสังคมมาตั้งแต่ยุคอนาล็อกจนถึงยุคดิจิทัล นอกจากจะให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟังแล้ว เนื้อหาที่ขับร้องยังบอกเล่าเรื่องราวหลายแง่มุมทั้งชีวิต วัฒนธรรม สังคม ความรัก ขณะที่ภาษาในเพลงลูกทุ่งมีเอกลักษณ์ ใช้คำสัมผัสเกิดเนื้อร้องที่สละสลวย ศิลปินลูกทุ่งเพลงดังที่ทุกคนรู้จัก  เช่น  ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, สุรพล สมบัติเจริญ, สายันห์ สัญญา, ยอดรัก สลักใจ, พุ่มพวง ดวงจันทร์ ,ต่าย อรทัย, ไมค์ ภิรมย์พร, ก๊อต จักรพันธ์ เป็นต้น 

ปัจจุบันเพลงลูกทุ่งมีการประยุกต์ตามความเปลี่ยนแปลงและมีการแข่งขันมากขึ้น เช่น ลูกทุ่งเพื่อชีวิต ลูกทุ่งสตริง เนื้อหาเพลงไปทางสองแง่สามงาม ความรักสารพัดรูปแบบ  พร้อมกับจังหวะดนตรีที่จดจำได้ง่าย รวมถึงมีเวทีประกวดเพลงลูกทุ่งมากมายตามหน้าจอ จัดทัวร์คอนเสิร์ต ส่งผลให้เพลงลูกทุ่งยังครองใจคนเจนใหม่ มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เกิดขึ้น

เหตุนี้ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงวัฒนธรรม  และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดโครงการ “ลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล” เพื่อส่งเสริมวงการเพลงลูกทุ่งของไทยที่มีประวัติยาวนานกว่า 84 ปี  เป็นผลงานถ่ายทอดเรื่องราวผ่านยุคสมัย  ภายใต้โครงการนี้ มี  5  กิจกรรมสำคัญ คือ การจัดเสวนาลูกทุ่งไทย 4 ภาค ,การจัดการประกวดหางเครื่องระดับเยาวชน  ,การผลิตสารคดีสั้นลูกทุ่งไทย  ,การจัดทำหนังสือ 84 ปี ลูกทุ่งไทย ที่สามารถดาวน์โหลดเพื่อหาความรู้ได้อย่างไม่จำกัด และการจัดแสดงคอนเสิร์ต 84 ปี ลูกทุ่งไทย ชมฟรี วันที่ 14  มกราคม 2567  ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ร้อยตรีพงศ์พรรณ บุญคง นักจัดรายการวิทยุ  ผู้คร่ำหวอดในวงการเพลงลูกทุ่ง เล่าจุดกำเนิดเพลงลูกทุ่งว่า พ.ศ.2481 ถือเป็นปีปฐมฤกษ์ของเพลงลูกทุ่ง ศิลปินลูกทุ่งคนแรก คำรณ สัมบุณณานนท์ บันทึกเสียงเพลงลูกทุ่งชื่อ เพลงสาวชาวไร่ ถือเป็นเพลงแรก  จากนั้นเกิดนักร้องลูกทุ่งมากมาย หลังปี พ.ศ.2500 ความนิยมเพลงไทยสากลลดลง มีการแบ่งเพลงเป็น 2 แนว คือ แนวตลาด เพลงลูกทุ่ง กับแนวผู้ดี เพลงลูกกรุง ซึ่งเพลงลูกทุ่งเข้าไปอยู่ในการรับรู้ของคนไทยทั่วประเทศ 

อ.อานันท์ นาคคง  ศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรี ปี 2562 กล่าวว่า อนาคตของเพลงลูกทุ่งนอกจากการส่งเสริมกิจกรรมเพลงลูกทุ่ง สิ่งที่สำคัญ คือ การต่อยอดเพลงลูกทุ่งไทย สังคมลูกทุ่ง ชุมชนลูกทุ่ง รวมถึงช่องทางโซเชียลมีเดียที่จะช่วยเผยแพร่เพลงลูกทุ่ง ให้ทุกคนเข้าถึงอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดแค่วิทยุเหมือนในอดีต  ศิลปินลูกทุ่งมีโอกาสสร้างผลงานมากขึ้น แม้ยุคนี้จะมีการประยุกต์นำดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีสากล ดนตรีปี่พาทย์  มาผสานในเพลง หรือภาพยนตร์เพลงลูกทุ่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชม รวมถึงนำเพลงลูงทุ่งในอดีตกลับมาทำใหม่ ทุกอย่างเป็นวิวัฒนาการเพลงลูกทุ่ง

ด้าน ผศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการฯ  กล่าวว่า จากความประทับใจคอนเสิร์ตกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทยเมื่อ 34 ปีที่แล้ว และโอกาสครบรอบ 84 ปีลูกทุ่งไทยเป็นแรงบันดาลใจจัดทำโครงการนี้ และเป็นการต่อยอดซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล ปัจจุบันเพลงลูกทุ่งไม่เลือนหาย ขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนฟัง และศิลปินแต่ละยุค แม้เพลงลูกทุ่งผสมผสานกับดนตรีหลายแนว แต่มีกลิ่นอายเพลงลูกทุ่ง

“ โครงการนี้รวบรวมศิลปินและผู้เชี่ยวชาญในวงการเพลงลูกทุ่งมารวมตัวกัน เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต งานเสวนาลูกทุ่ง 4 ภาค เพื่อสะท้อนถึงความนิยมของลูกทุ่งแต่ละภาค ส่วนสารคดี  24 ตอน จะสร้างความตระหนักรู้ความสำคัญเพลงลูกทุ่ง อีกไฮไลท์อยู่ระหว่างทำวิจัยและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการลูกทุ่ง จากนั้นจะเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือเล่ม และ E-book เพื่อเข้าถึงประชาชนวงกว้างสู่การต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป ” ผศ.ดร.สุกัญญากล่าว 

ฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมเห็นความสำคัญกับการอนุรักษ์และลืบสานเพลงลูกทุ่งเสมอมา รวมถึงส่งเสริมกาารแสดงดนตรีไทย การแสดงดนตรีพื้นบ้าน ล่าสุด จัดมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ ดนตรีสานศิลป์ 2 ถิ่นวัฒนธรรม รวมนักร้องเพลงลูกทุ่ง เพลงพื้นบ้าน หรือการแสดงดนตรีไทย  ขับเคลื่อนการสร้างสรรค์ทางดนตรี 

งานแถลงข่าวเปิดโครงการครั้งนี้ มีการแสดงเพลงลูกทุ่งจากศิลปินชื่อดัง อย่าง  ชาย เมืองสิงห์, ศรชัย เมฆวิเชียร, ยิ่งยง ยอดบัวงาม, ดวงตา คงทอง และ เชิงชาย บัวบังศร บุตรชายครูชาญชัย บัวบังศร ศิลปินคนโปรด  สนใจติดตามโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัยฯ ได้ที่ Facebook: faculty of communication arts chulalongkorn university

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม

5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา

“กองทุนพัฒนาสื่อฯ” สัญจร จัดเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ปี 2567 ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ผู้แทนทุกเครือข่ายร่วมเสวนาเพียบ

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัด กิจกรรมเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 สัญจรภาคเหนือ จ.พิษณุโลก วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัวโครงการพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” หวังสร้างสื่อดีเตือนสติให้ประชาชน

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” โดยการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข