'ทีเส็บ'ผู้อยู่เบื้องหลังอุตฯชา-กาแฟไทย

ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้ ทั้งชาและกาแฟของไทย เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับดีขึ้น ทั้งในหมู่คนไทยด้วยกันเอง และต่างชาติ โดยแหล่งผลิตหลักทั้งกาแฟและชา มาจากภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย มีหลายดอย ที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นเยี่ยม  ซึ่งมีรสชาติที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากกาแฟแห่งอื่นบนโลก   อาจจะด้วยสภาพพื้นที่ปลูกที่แตกต่าง และทุกขั้นตอนการผลิต  ไม่ว่าการแช่หมัก การกะเทาะเปลือก การตากแห้ง คั่ว บด  ล้วนเป็นแฮนด์เมดทั้งสิ้น จึงทำให้กาแฟไทย มีรสสัมผัสและกลิ่นหอมที่แตกต่างจากกาแฟอื่นๆ  เรียกได้ว่าเป็น”ความพิเศษ”   เฉพาะตัวก็ว่าได้

กาแฟไทยที่้มีชื่อเสียงโด่งดัง หลักๆมาจากจังหวัดเชียงรายเป็นส่วนใหญ่  ได้แก่ กาแฟผาฮี้  ,โดยเฉพาะอำเภอแม่สรวย นับเป็นแหล่งผลิตใหญ่มีกาแฟที่มีชื่อเสียงหลายแบรนด์  ได้แก่ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง  กาแฟดอยหมอก  กาแฟอาข่า  กาแฟปางขอน   จากบ้านปางขอน  , กาแฟแม่จันใต้    และกาแฟวาวี อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
นอกจากนี้ เชียงรายยังเป็นแหล่งผลิต”ชา” ที่มีชื่อเสียงไม่ย่อยเช่นกัน  โดยบางแหล่งปลูก มีต้นชาอายุนับพันปี ที่ดอยวาวี เชียงราย ที่แม้แต่ประเทศจีน ที่เป็นเจ้าแห่งชาของโลก ก็ยังไม่มีต้นชาสายพันธุ์นี้แล้ว

ภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการ ทีเส็บ กล่าวเปิดงานสัมมนาประชุมเครือข่ายชา กาแฟที่ จ.เชียงราย

ในช่วง4-5ปีหลังมานี้ จุดเปลี่ยนที่ทำให้กาแฟและชาไทย ถีบตัวพุ่งไปสู่ระดับเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับกว้างขวางนั้น ไม่ได้มาจากกระแสกาแฟ หรือชา ฟีเวอร์ อย่างที่เห็นในปัจจุบันอย่างเดียว ส่วนหนึ่งยังมาจากการผลักดันของ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)  หรือทีเส็บ ที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมชา กาแฟภาคเหนือ มาตั้งแต่ปี 2560   โดยทีเส็บได้เข้ามาทำงานสนับสนุนชา และกาแฟ ผ่านสถาบันชาและกาแฟ  ของมหาวิทยาลัยแม่ฟัาหลวง โดยช่วงแรกเป็นการสนับสนุนด้านวิชาการ  การสนับสนุนดำเนินมาเรื่อย  

บรรยากาศงาน

จนเมื่อปี 2565  ทีเส็บ เป็นโต้โผใหญ่ จัดงานแสดงสินค้าและการประชุมด้านชาและกาแฟระดับนานาชาติ หรือ World Tea and Coffee Expo ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จังหวัดเขียงใหม่  มาในปีนี้ ทีเส็บยังให้การสนับสนุนจัดงานดังกล่าวขึ้่นเป็นปีที่สอง  ณ จังหวัดเชียงราย  เนื่องจากเห็นว่าเชียงรายเป็นจังหวัดที่แกนหลักของอุตสาหกรรมชาและกาแฟ

ภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการ ทีเส็บ กล่าวว่า  การส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในภาคเหนือ ทีเส็บมีแนวทางผลักดันให้ภาคเหนือตอนบนเป็น “จุดหมายปลายทางการจัดงานไมซ์ทางด้านชาและกาแฟระดับนานาชาติ” เบื้องต้นปักหมุดหมายไว้ที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ผลักดันให้เป็นเมืองแห่งชาและกาแฟระดับโลก โดยอาศัย”อัตลักษณ์ของเมือง” ที่มีจุดเด่นทางภูมิศาสตร์ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกชาและกาแฟชั้นเลิศ หรือเป็นการสร้างจุดขาย ซึ่งเป็นนโยบายของทีเส็บอยู่แล้ว ที่จะชูอัตลักษณ์ของเมือง (City DNA)  มาส่งเสริมการท่องเที่ยวและธุรกิจให้กับแต่ละพื้นที่

บาริสต้า มาร่วมงาน


ส่วนการประชุมการประชุมเครือข่ายชา-กาแฟ ประเทศไทย 2566 ที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ที่ทีเส็บร่วมมือกับ สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และผู้ประกอบการชาและกาแฟ  ระหว่างวันที่ 6-8 กรกฎาคม 2566  ที่ผ่านมาซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 350 คน สร้างรายได้ราว 1.5 ล้านบาท ถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญมาก  ในการยกระดับอุตสาหกรรมชา-กาแฟ และผลักดันจังหวัดเชียงรายให้เป็น “นครแห่งชาและกาแฟ” ตามนโยบายของจังหวัด และยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2566-2570) ของทีเส็บ ที่มุ่งเน้นการชูอัตลักษณ์เมือง ในการยกระดับศักยภาพการรองรับการจัดงานไมซ์ในพื้นที่นั้นๆ  

ภูริพันธ์ บุนนาค

“งานชาและกาแฟ เป็นหนึ่งในงานที่สำคัญทางภาคเหนือของทีเส็บ  ที่มีภารกิจกระตุ้นให้คนอยากมาประชุมและออกเดินทาง ซึ่งเราทำงานร่วมกับสถาบันชาและกาแฟมาตั้งแต่ปี 2560 และทางทีเส็บปรับเปลี่ยน แนวทางการสนับสนุนมาตลอด  และเพิ่มเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ  โดยเรามุ่งเน้นการพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืน  เพราะคงปล่อยให้อุตสาหกรรมเป็นไปแบบ ไม่ได้มีการพัฒนาไม่ได้  ต้องพัฒนาทั้งเรื่องของต้นน้ำ เกษตรกร อุตสาหกรรมแปรรูป รวมถึงการค้าขาย อีกทั้งการที่ เชียงราย เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ  ทราบมาว่ามีโครงการที่จะพัฒนาการเชื่อมต่อกับสปป.ลาว  เพิ่มการค้าลงทุนซื้อของข้ามแดนไปทางภาคใต้ของจีนมากขึ้น และชาและกาแฟ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนนี้ด้วย” รองผอ.ทีเส็บกล่าว

พงศกร อารีศิริไพศาล เป็นประธานชมรมคนรักกาแฟเชียงราย และเจ้าของร้าน Local Coffee  กล่าวว่า ถือว่าทีเส็บ มีบทบาทสูงมากในการผลักดันอุตสาหกรรมกาแฟในเชียงราย  ซึ่งส่วนตัวเฝ้ามองมาตลอด ตั้งแต่ปี 2560 ทีเส็บเข้ามาในนามของภาครัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการเข้ามาในจังหวะที่ดีมาก เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงเริ่มๆ ของการเกิด”กาแฟพิเศษ -Specialty  Coffee” ในเชียงราย และเริ่มมีบุคลากรพิจารณาตัดสินกาแฟพิเศษ   เกิดขึ้น ซึ่งมีการประกวดกาแฟพิเศษ เกษตรกรก็มีความตื่นตัวกระตือรือร้นอยากพัฒนาตัวเองมาก  ที่สำคัญ ในนั้นยังเป็นปีเริ่มแรกที่ทางจังหวัดเชียงราย มีงบประมาณพัฒนาชา กาแฟก้อนใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก   การเข้ามาของทีเส็บจึงมีส่วนช่วยอย่างมาก โดยทีเส็บเข้ามามีบทบาทช่วยจัดสรรงบประมาณการพัฒนา ให้อยู่กับร่องกับรอย ว่าเงินควรจะไปอยู่ส่วนไหน  ซึ่งเกิดผลดีต่ออุตสาหกรรมชา กาแฟ ในเวลาต่อมา

พงศกร อารีศิริไพศาล

“ผมมองว่าทีเส็บเอง เป็นภาครัฐที่มีรสนิยม  เป็นหน่วยงานที่ความฮิป  มีความร่วมสมัยกับสังคมโลกมาก เพราะประเทศที่เจริญจะต้องมีศิลปะและดนตรีครบถ้วน ซึ่งการผลักดันของทีเส็บ ไม่ได้ทำแค่ให้เกิดธุรกิจต่อธุรกิจเท่านั้น  แต่เป็นความเท่  และสนับสนุนต่อเนื่อง  ซึ่งชา กาแฟจะมีความสำคัญเรื่อยๆ มีสถิติว่าคนไทยดื่มกาแฟมากเป็นอันดับ 3 ของโลก หรือเฉลี่ยเกิน 300 แก้ว ต่อปี การกินกาแฟของคนไทย จึงไม่ใช่แค่เป็นกระแสหรือฟีเวอร์เท่านั้น เพราะมันทะลุฟีเวอร์  กลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้ว มีคนเป็นผู้นำทางความคิดด้านกาแฟเกิดขึ้น แม้ช่วงเกิดโควิด จะแหว่งๆไป แต่ระหว่างนั้น มันมีความเร่งในธุรกิจกาแฟในแง่มุมต่างๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน   ” พงศกรกล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล หัวหน้าสถาบันชาและกาแฟ แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ทีเส็บมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรม ชา และกาแฟมีความแข็งแรงขึ้นมาก  ในแง่ของชา ทำให้ผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ได้มีโอกาสมาพบปะเจอะเจอกัน แลกเปลี่ยนความรู้ และเกิดเครือข่ายขึ้น และเป็นเครือข่ายข้ามพรมแดน จากเหนือไปใต้    ในแง่วิชาการ ผลจากการสนับสนุนของทีเส็บตั้งแต่ปี 2560  ทำให้เกิดยุทธศาสตร์ผลักดันชา และกาแฟของประเทศ เป็นแผน  5ปี หรือตั้งแต่ปี 2560-2565 เป็นการชี้ทิศทางการพัฒนาว่าควรไปทางไหน  และบทสรุปวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ  ส่วนการจัดการประชุมเครือข่ายชา-กาแฟ ประเทศไทย 2566  เป้าหมายในการขับเคลื่อนและต่อยอดอุตสาหกรรมชาและกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือและจังหวัดเชียงราย  

ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ เชื่อมชัยตระกูล

“ในแง่เศรษฐกิจเราอยากส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจเติบโตผ่านชา และกาแฟ  ทิศทางของเราคือ มุ่งพัฒนาเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชาไทย อย่างเช่นเราได้รางวัลระดับโลกในปี ค.ศ.2020-2022 อย่างชาดอยวาวี ได้รางวัลระดับโลกมาแล้ว  อย่างชาพร้อมดื่มมีมูลค่าทางการตลาดถึง 1.3 หมื่นล้าน และยาวไปจนถึงปี2568 ยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้มากกว่านี้  “

นอกจากนี้ ทีเส็บ ยังเดินหน้าหนุนอุตสาหกรรมชา กาแฟ ภายใต้โครงการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และสินค้าชุมชน หรือ World Tea and Coffee Expo อาทิ การประชุมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจเพื่อพัฒนาช่องทางการลงทุน หรือ The 4th Tea and Coffee International Symposium ในเดือนสิงหาคม 2566 ณ จังหวัดเชียงราย  รวมทั้ง  ยังมีการอบรมพัฒนาศักยภาพและการสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกร และผู้ผลิตนอกพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อต่อยอดความร่วมมือในการผลักดันให้ภาคเหนือตอนบนเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจด้านชาและกาแฟของภูมิภาคอาเซียน โดยพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงชาและกาแฟในภาคเหนือสู่ภาคใต้ กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2566 ณ จังหวัดสงขลา  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

IRPC จับมือ ม.แม่ฟ้าหลวง ร่วมวิจัยพัฒนาวัสดุทางการแพทย์

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 นายอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ ศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา วงศ์เกษมจิตต์

'ทีเส็บ' จับมือ ททท. ภาครัฐและเอกชน สนับสนุน 'Star For You Meeting Concert'

นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ "ทีเส็บ" เสริมทัพร่วมจับมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมภาครัฐและเอกชน เปิดตัวแคมเปญใหญ่ดัน SOFT POWER ไทย ดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน หวังสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้แน่นแฟ้น พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล ด้วย Soft Power Influencer

ทีเส็บผนึกไมซ์ไทยดึง 405 งานประชุมและอินเซนทีฟ ดึงเงินเข้าประเทศ 5,300 ล้านบาท

ทีเส็บพร้อมทัพไมซ์ไทยเตรียมดึง 405 งานที่มีศักยภาพ (lead) ทั้งงานประชุมองค์กร กลุ่ม อินเซนทีฟ และงานประชุมนานาชาติ เข้ามาจัดในประเทศไทย หลังปิดการเจรจาธุรกิจกับกลุ่มลูกค้าในงาน IT&CM Asia and CTW Asia- Pacific 2023 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กันยายนที่ผ่านมา คาดการณ์เม็ดเงินเข้าประเทศ 5,300 ล้านบาท และนักเดินทางไมซ์ต่างประเทศกว่า 80,000 คน