'ไข้เลือดออก' มาแปลก รูปแบบอาการไม่เหมือนเดิม คล้ายกับโรคอื่น ทำให้วินิจฉัยยาก

10 ก.ค. 2566- ที่โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมทางวิชาการ “Dengue Effective for Treatment and Prevention” การดูแลรักษาและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ นพ.นิติ เหตานุรักษ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารโรงพยาบาลราชวิถี และบุคลากรร่วมประชุมทั้งรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ทั่วประเทศ

นพ.โอภาสกล่าวว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในปีนี้มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ณ ช่วงเวลาเดียวกันเกือบ 3 เท่า รวมทั้งจากข้อมูลการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก พบว่าระยะหลังมีรายงานการป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในผู้ใหญ่ จากเดิมที่พบบ่อยในเด็ก ที่สำคัญ รูปแบบอาการไม่เหมือนกับที่เคยพบมา และมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ทำให้การวินิจฉัยโรค ในระยะแรกค่อนข้างยาก หากไม่ติดตามสังเกตอาการใกล้ชิดจะทำให้การรักษาล่าช้า ส่งผลให้อาจเกิดความรุนแรงและเสียชีวิตได้ ดังนั้น การวินิจฉัยโรคให้ได้ให้เร็วที่สุด ร่วมกับการที่ประชาชนสามารถสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัวได้ จึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยลดการเกิดความรุนแรงของโรค โดยหากมีไข้สูงเฉียบพลันและสูงลอยมากกว่า 2 วัน ห้ามซื้อยากินเอง และควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยทันที

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์ และกรมควบคุมโรค จึงร่วมกับ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย บูรณาการการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในทุกมิติ ตั้งแต่การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการการปรับปรุงแนวทางและสื่อสารประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ใหม่ในการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออกให้กับเครือข่ายบุคลากรทางสาธารณสุข การใช้มาตรการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกเพื่อให้เกิดความร่วมมือดำเนินงานในพื้นที่และลดความสูญเสียจากการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน

นพ. ธงชัยกล่าวว่า ในส่วนกรมการแพทย์นอกจากมีสถานพยาบาลเฉพาะทางดูแลผู้ป่วยที่ซับซ้อน เช่น โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี เป็นต้นยังมีภารกิจในการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะด้านการแพทย์ให้กับบุคลากรทั่วประเทศ ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ ราชวิทยาลัยต่างๆ พัฒนาคู่มือแนวทางการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาโรคไข้เลือดออกทั้งในเด็กและผู้ใหญ่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และจัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้ด้านการดูแลรักษาโรคไข้เลือดออก ภาวะแทรกซ้อน และความรู้ด้านวัคซีนใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพบุคลากรการแพทย์ในการรองรับการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในขณะนี้

ด้านนพ.นิติ เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 28 มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 27,377 ราย มีรายงานผู้เสียชีวิต 33 ราย โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายน พบผู้ป่วยสัปดาห์ละ 1,500 – 2,400 ราย เสียชีวิตสัปดาห์ละ 1-3 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรคได้เพิ่มกลยุทธ์เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศ โดยเร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในชุมชนต่างๆ ในการป้องกันตนเอง การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์โรค ร่วมกับมาตรการการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การประเมินแนวโน้มพื้นที่การระบาดของโรคหรือความชุกชุมของแหล่งโรค เพื่อประกาศเป็นโรคระบาดเฉพาะพื้นที่และวางมาตรการตอบโต้ รวมทั้งเน้นการควบคุมโรคให้เหมาะกับบริบทพื้นที่โดยเฉพาะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สธ. ห่วง ปชช. ช่วงฤดูฝน พร้อมดูแลผู้ป่วยงูพิษกัด ไข้เลือดออกระบาด

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สาธารณสุข

‘หมอยง’ ชี้ไข้เลือดออกปีนี้ การระบาดจะน้อยกว่าปีที่แล้วมาก

ขณะนี้จะเข้าสู่เดือนกรกฎาคมแล้ว การระบาดของไข้เลือดออกยังน้อยกว่าปีก่อนๆมาก และมีแนวโน้มว่าการระบาดจะน้อยลงกว่าปีที่แล้วมาก

สธ.เตรียม 6 มาตรการรับอุทกภัย 35 จังหวัดเสี่ยง เฝ้าระวังกลุ่มเปราะบาง

‘เกณิกา’เผย กระทรวงสาธารณสุข วาง 6 มาตรการ เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย 35 จังหวัดเสี่ยง พร้อมจัดทีมเฝ้าระวังสถานการณ์ ดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง