'หัวเว่ย' ผลักดัน'หญิงไทย' ไปให้สุด'ทักษะไอซีที'

เมื่อช่วงปี  2565 หัวเว่ยได้ประกาศการผนึกกำลังกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union - ITU)เป็นครั้งแรกในงาน ‘Walk into ICT Industry’ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจแนวโน้มเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันล่าสุด โดยมีนักศึกษากว่า 20 คนจากทั่วประเทศได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ (Customer Solution Innovation & Integration Experience Center หรือ CSIC) ของหัวเว่ยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และเข้าฝึกอบรมทักษะดิจิทัลจากสถาบันหัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี่ (Huawei ASEAN Academy) นอกจากนี้ หัวเว่ยและ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ยังจัดกิจกรรม ‘Seeds for the Future’ Asia Pacific ซึ่งยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาไทย 10 คนเข้าค่ายเทคโนโลยีและร่วมการแข่งขัน tech4good ในระดับนานาชาติอีกด้วย  นอกจากนั้น ในครั้งนั้น หัวเว่ย ได้เปิดตัวโครงการ "Women in Tech"  ซึ่งเป็นรถบัสดิจิทัลสำหรับสาธารณชนเป็นครั้งแรก เพื่อนำเสนอ ให้สังคมเห็นว่าเทคโนโลยีจะช่วยส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างไร

ล่าสุด  หัวเว่ย เทคโนโลยี่  ประเทศไทย ยังร่วมมือกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ  ITU ผลักดัน การบ่มเพาะบุคลากรไอซีทีและหนุนศักยภาพเยาวชนไทยผ่านโครงการ ‘Girls in ICT Day’ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลักดันให้เยาวชนสตรีในประเทศไทย ได้ยกระดับทักษะดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุ่งเน้นความด้านเทคโนโลยี 5G ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และคลาวด์ โดยโครงการนี้จะได้รับการต่อยอดเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการ ‘Seeds for the Future’ ที่มีเป้าหมายเพื่อบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัลจำนวนกว่า 20,000 คนในประเทศไทยภายในช่วงเวลา 3 ปี นับเป็นความมุ่งมั่นของหัวเว่ย ที่ต้องการปลูกฝังทักษะบุคลากรดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย

นางสาว ซีลีน เฉา ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ย ได้กล่าวถึง ความสำคัญของโครงการ ‘Girls in ICT Day’ ว่า หัวเว่ย ประเทศไทย ได้ผนึกกำลังร่วมกับหลากหลายหน่วยงาน รวมถึงสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานไอซีทีสู่ตลาด และเสริมศักยภาพเยาวชนสตรีในอุตสาหกรรมไอซีที โดยจะสามารถนำไปสู่การยุติความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในประเทศไทยในอนาคต

"ความร่วมมือในครั้งนี้มุ่งเน้นการฝึกอบรม ที่จะช่วยจุดประกายให้เยาวชนสตรีหันมาสนใจศึกษาต่อในสาขา STEM, 5G, ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเทคโนโลยีคลาวด์ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้จากบุคลากรหญิงผู้คร่ำหวอดในวงการไอซีที ตามแนวคิด “เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยสตรี เทคโนโลยีสำหรับสตรี และเทคโนโลยีที่อยู่คู่สตรี (‘Tech by her, tech for her, tech with her’)” โดยในยุคดิจิทัล การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมุมมองของผู้หญิงจะเป็นกุญแจปลดล็อกสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ แก่ทุกคน และหัวเว่ยจะมุ่งเน้นบทบาทในการเป็นผู้สนับสนุนหลัก เพื่อยกระดับทักษะบุคลากรดิจิทัลและปลูกฝังทักษะไอซีทีในกลุ่มเยาวชนทั่วประเทศ"ซีลีน เฉา กล่าว

สำหรับโครงการนี้ หัวเว่ยจัดกิจกรรมและการฝึกอบรมหลากหลาย ทั้งด้านความรู้องค์รวมของเครือข่าย 5G, ความรู้พื้นฐานเครือข่ายโทรคมนาคม, คลาวด์ คอมพิวติ้ง และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ตลอดจนได้จัดนิทรรศการในการแสดงผลงานดิจิทัล, การสัมมนาเกี่ยวกับสาขาวิชาชีพในอุตสาหกรรมไอซีที, การประกาศรางวัลโครงการ ‘Seeds for The Future’ และเปิดโอกาสให้เยี่ยมชมสำนักงานของหัวเว่ย

"โครงการนี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ให้หัวเว่ย ในไทย  ผลิตบุคลากรดิจิทัลในประเทศ ได้ตามเป้าหมาย โดยแบ่งเป็นการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีคลาวด์ 10,000 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลพาวเวอร์ 10,000 คน ภายใน 3 ปี นอกจากนี้ หัวเว่ยมุ่งฝึกอบรมคนไทย 2,000 คน ผ่านโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) เพื่อสังคมและเสริมศักยภาพเยาวชนรุ่นใหม่ผ่านโครงการเรือธงอย่าง ‘Seeds for The Future’ ที่จัดขึ้นทุกปีนางสาวซีลิน เฉากล่าว

สำหรับ การฝึกอบรม ‘Girls in ICT Day’  มีนักเรียน ทั้งเยาวชนหญิงและชายที่อยู่ในกรุงเทพฯ รวมถึงจังหวัดสมุทรปราการและอุทัยธานีจำนวน 42 คน ที่ได้เข้าร่วมในการฝึกอบรมออนไลน์  โดยการฝึกอบรมจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจะถูกพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘Seeds for The Future’ ในปี พ.ศ. 2566 ในลำดับต่อไป

นางปิยะธิดา อิทธิระวิวงศ์ ประธานบริหารกลุ่มธุรกิจคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวว่า   ในปัจจุบันผู้หญิงมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในวงการเทคโนโลยี รวมถึงทุกวงการ เราจะเห็นได้ว่าผู้หญิง ได้เข้ามาในวงการเทคโนโลยีค่อนข้างมาก เนื่องด้วยโอกาสการเข้าถึงด้านการศึกษา และความเข้าใจ/การเข้าถึงเทคโนโลยีในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Blockchain, AI, Machine Learning  (ML), Cloud Computing หรือ Data Platform  และจำนวน CIOs, CTOs, Directors ผู้หญิงหลายคน ที่มีบทบาทสำคัญ รวมถึง Chief Digital Officer ที่เป็นผู้หญิงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งในภาคส่วน Banking, Finance, Manufacturing

" หัวเว่ยเปิดโอกาสให้สุภาพสตรีได้มีบทบาททัดเทียมกับสุภาพบุรุษอย่างแน่นอน นั่นคือเหตุผลที่ดิฉันได้มีบทบาทในการเป็นประธานบริหารกลุ่มธุรกิจคลาวด์ ของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี ในประเทศไทย) จำกัด ส่วนการที่ดิฉัน  เข้ามาอยู่ในวงการเทคโนโลยีและก้าวขึ้นมาในตำแหน่งระดับผู้บริหารนี้ได้  เพราะคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้หญิงนั่น คือ ความละเอียด ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับลูกค้ามากกว่าผู้ชาย ตรงนี้จะเป็นจุดได้เปรียบของเรา นอกจากนั้น ผู้หญิงยังมีความอดทนค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด "นางปิยะธิดากล่าว

ซีอีโอหญิงรายนี้ ทิ้งท้ายอีกว่า   อยากฝากไว้สำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ไม่ควรหยุดที่จะเรียนรู้ การหยุดเรียนรู้คือการก้าวถอยหลัง ควรที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ อย่างเช่น อีก 3-5 ปี นับจากนี้ จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา อาทิ AI, Machine Learning, Blockchain, Cloud Computing, Data Platform และ Robotics ดังนั้นแล้ว บุคคลากรในองค์กรต่างๆ ควรมีการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อยกระดับตัวเองให้ก้าวทันเทคโนโลยีเหล่านี้ที่ก้าวไป เพราะถ้าเราไม่ก้าวไป เราจะย่ำอยู่กับที่และตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ใหม่ ดาวิกา' นำทีมจิตอาสาร่วมโครงการ 'รถดิจิทัล'

นางเอกมากความสามารถ ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่ นำทีมจิตอาสา ร่วมกันสานต่อโครงการ รถดิจิทัล หรือ Digital Bus: Enrich your life with digital ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่รวมพลังกันเดินหน้าจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อส่งมอบความรู้และเร่งสร้างความเท่าเทียมด้านทักษะดิจิทัลให้กับน้องๆ เยาวชนไทยในพื้นที่ห่างไกล