สองหมอแผนไทย'พ่อหมอวิทย์ - หมอบุญมา' คว้าหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2566

29 มิ.ย.2566-กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จัดงาน มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 20 ภายใต้แนวคิด “สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจไทย” (Thai Herbs &Medical Cannabis for Health & Wealth) คาดหวังจะได้เห็นสมุนไพรไทยได้รับการพัฒนาตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ในโอกาสนี้ยังได้มอบ”รางวัลหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ 2566″ ได้แก่ “นายประวิทย์ แก้วทอง หรือ พ่อหมอวิทย์” จากสงขลา หมอพื้นบ้านจากแดนใต้ ความชำนาญในการรักษาโรคอัมพฤกษ์-อัมพาตแบบผสมผสานระหว่างการนวด การใช้ยาสมุนไพร และการใช้เวทมนตร์คาถาร่วมกัน และ “หมอบุญมา มุงเพีย” จากสกลนคร ที่คลุกคลีอยู่กับผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการรักษาผู้ป่วยมาตั้งแต่อายุ 7 ปี ใช้ยาตำรับประเภทยาต้มสมุนไพรเป็นศาสตร์การรักษาผู้ป่วย

นายประวิทย์ แก้วทอง หรือ “พ่อหมอวิทย์” เป็นหมอพื้นบ้านต้องเผชิญอาการปวดข้อทุกข้อ เข่าบวมจนไม่สามารถเดินได้ ช่วง พ.ศ. 2523 ได้รับการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันมานานกว่า 1 ปี แต่ไม่มีทีท่าจะหายจากโรคไวรัสลงข้อ พ่อหมอวิทย์ จึงตัดสินใจไปรักษากับหมอพื้นบ้านหลายคน ทั้งนวด กินยาสมุนไพร ใช้เวทมนต์คาถา และไสยศาสตร์แต่ก็ไม่หายจนมาพบกับ หมอเพื้อม ศรีแก้วเขียว หมอพื้นบ้าน ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ทำการรักษาพ่อหมอวิทย์โดยการนวดและกินยา สมุนไพรต้ม จนหายเป็นปกติ

นายประวิทย์ แก้วทอง หรือพ่อหมอวิทย์ รับรางวัล

จากจุดหักเหนั้นทำให้พ่อหมอวิทย์เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อที่จะเรียนวิชาความรู้ด้านการตรวจวินิจฉัยโรค การนวด การใช้ยาสมุนไพรและคาถาเวทมนตร์ต่างๆ หลังจากนั้นพ่อหมอวิทย์ได้ศึกษาเพิ่มเติมจากหมอสีนวล หมอพื้นบ้านชาวทุ่งค้อที่ชำนาญโรคโลหิตสตรี และการใช้เวทมนต์คาถาต่างๆ รวมถึงได้ศึกษาเพิ่มเติมจากตำราหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตำราอาจารย์ทอง วัดคลองแห

พ่อหมอวิทย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนเอว คอ โรคอัมพฤกษ์ -อัมพาต โรคเกี่ยวกับเส้น โรคโลหิตระดูสตรี วัยทอง โรคไข้ต่างๆ โดยการรักษาโรคส่วนใหญ่รักษาแบบผสมผสานระหว่าง การนวด การใช้ยาสมุนไพร และการใช้เวทมนตร์คาถาร่วมกัน

พ่อหมอวิทย์ เปิดเผยว่า สำหรับขั้นตอนในการตรวจรักษาโรค คือ การจับชีพจร การซักประวัติเบื้องต้น การตรวจร่างกาย และ ท้ายสุดคือการทำการรักษาโดยการนวด ใช้ยาสมุนไพร และใช้เวทมนตร์คาถา แล้วแต่ชนิดของโรคและอาการ ผู้ป่วยในแต่ละรายและเลือกใช้ตำรับยาสมุนไพรร่วมกับการตรวจวินิจฉัยและจ่ายยา ซึ่งตำรับยาที่ใช้การรักษาผู้ป่วยในกลุ่มโรคต่างๆ มักจะเป็นสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน

การรักษาของพ่อหมอวิทย์ให้ความสำคัญกับศาสตร์หมอพื้นบ้านแล้ว พ่อหมอประวิทย์เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติ ใช้ตำรับยาสมุนไพรที่เหมาะสมกับโรคและการใช้คาถาดำรงตนความเป็นหมอพื้นบ้านอย่างเคร่งครัด

พ่อหมอบุญมา


ทางด้าน หมอบุญมา มุงเพีย ฉายา “หมอ 10 บาท รักษาทุกโรค”คลุกคลีอยู่กับผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการรักษาผู้ป่วยมาตั้งแต่อายุ 7 ปี และได้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูบาอาจารย์ในการรักษาโรค โดยใช้วิธีการรักษาในรูปแบบต่างๆ จนกระทั่ง เมื่อท่านอายุได้ 14 ปี มีความสนใจที่จะศึกษาการรักษาผู้ป่วยอย่างจริงจังเริ่มเรียนรู้วิชาแบบตัวต่อตัว อาศัยการสังเกต และการจดจำเท่านั้น โดยมีตำราจากอาจารย์ถึง 7 ท่าน แต่ละท่านจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ ที่แตกต่างกัน
หมอบุญมามีประสบการณ์และความรู้ความชำนาญในการรักษาโรคเป็นเวลานานหลายปีด้วยการใช้สมุนไพรเป็น “ยาตำรับประเภทยาต้ม ด้วยการเก็บสมุนไพรใหม่ทุกสัปดาห์ ตากให้แห้งและมัดเป็นกำเพื่อเตรียมยาใหม่ให้ผู้ป่วยทุกวันก่อนที่จะจ่ายยา ให้ผู้ป่วยต้มยาดื่มเอง แต่ก่อนจะนำจ่ายจะนำยาใส่พานทำพิธีกำกับยาต่อเทพก่อน ซึ่งหมอบุญมาจะจ่ายยาให้ผู้ป่วยด้วยตนเอง ทีละคนและบอกวิธีการรับยา
โดยตัวยาหลักที่ใส่ในทุกตำรับ ได้แก่ ประดง ปีบ กำแพงเจ็ดชั้น หมอยสาวแก่ และบวบลม ส่วนตัวยาเสริม ได้แก่ เครือเขาแกลบ ตำรับยาของหมอบุญมาที่มีความโดดเด่นและใช้รักษา อาทิ ตำรับยารักษาเบาหวาน ตำรับยารักษาโรคความดันโลหิต ตำรับยารักษาโรคมะเร็งตับ และตำรับยารักษาโรคฝี
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีหลักเกณฑ์และแนวทางการคัดเลือก หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2566 ดังนี้ 1.เป็นผู้มีสัญชาติไทย 2.เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ 3.ปฏิบัติงานดีเด่นที่เป็นแบบอย่างที่ดีได้ (ไม่น้อยกว่า 10 ปี) 4.เป็นคนดี มีจริยธรรม เมตตาธรรม ตามหลักศาสนา และ 5.เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการดูแลผู้เจ็บป่วยและถ่ายทอดความรู้
สำหรับการคัดเลือก เริ่มการคัดเลือกจากหมอไทยดีเด่นระดับจังหวัด เพื่อคัดเลือกตัวแทนหมอไทยดีเด่นระดับภาคประจำปี 2566 ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จะคัดเลือกผู้ที่มีคะแนนดีที่สุดจากหมอไทยดีเด่นระดับภาคทั้ง 4 ภาค เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติพิจารณาตัดสิน


ทั้งนี้ประชาชนที่สนใจสามารถร่วมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ฮอลล์11-12 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พบกับกิจกรรมต่างๆในงาน อาทิ งานสัมมนาวิชาการนานาชาติเรื่องกัญชากัญชง , การประชุมวิชาการประจำปี ในหัวข้อต่างๆ ,การประกวดผลงานวิชาการประจำปีฯ , ตลาดความรู้ 15 หลักสูตรฟรี พร้อม มีโซนจัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยที่มีมาตรฐานกว่า 300 บูธ แจกกล้าไม้สมุนไพร กล้าไม้ยืนต้น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และลุ้นรางวัลฟรีมากมายในงาน สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook Fanpage มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ หรือ Website: https://natherbexpo.dtam.moph.go.th และ โทรศัพท์ 0-2149-5649

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันกีฬาแห่งชาติ'2566 กกท.จัดใหญ่มอบ41รางวัล เชิดชูคนกีฬาไทย16ธ.ค.นี้

การกีฬาแห่งประเทศไทย เตรียมเดินหน้าจัดงานประกาศเกียรติคุณนักกีฬาดีเด่น เนื่องในวันกีฬาแห่งชาติประจำปี พ.ศ.2566 โดยจะจัดงานดังกล่าวในวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ณ ลานพลาซ่า ทางขึ้นราชมังคลากีฬาสถาน (โซน E) การกีฬาแห่งประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งในงาน นายอารัญ บุญชัย ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีปีนี้ ซึ่งการจัดงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Supporter Spirit Soft Power"

ศักดิ์สยาม หัวโต๊ะ เร่งรัดติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2566 ร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมเร่งรัดติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2566 ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม

"ศักดิ์สยาม"สั่งการ หน่วยงานที่เกี่ยวของใน กระทรวงคมนาคมเตรียมความพร้อมหน่วยงานในสังกัดอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับ การเดินทาง ช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าช่วงเทศกาลปีใหม่มีวันหยุดราชการ ติดต่อหลายวัน จึงคาดการณ์ว่าจะมีพี่น้องประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนา ท่องเที่ยว หรือทำบุญด้วยรถยนต์ ส่วนบุคคลและใช้บริการขนส่งสาธารณะ จึงมอบหมายให้ สนข.