บพท.ระดมผู้ทรงคุณวุฒิ-เครือข่ายพหุภาคีสัมมนาพิชิตความยากจน เสนอรัฐบาลใหม่-สมาชิกรัฐสภา

26 มิ.ย.2566- ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านวิจัยระดับพื้นที่ (บพท.)เปิดเผยว่างานสัมมนาพหุภาคี “สู้ชนะความจน บนฐานพลังความรู้ พลังภาคี” ซึ่งร่วมจัดกับสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว เป็นงานที่มุ่งบูรณาการความรู้ ประสบการณ์ตลอดจนความร่วมมือจากพหุภาคี เพื่อพาประเทศออกจากหลุมดำของความยากจนและเพื่อตอบโจทย์วาระระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) 17 ประการ ที่มีประเด็นเรื่องกำจัดความยากจน และกำจัดความหิวโหย รวมอยู่ด้วย

“ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาใหญ่ที่กัดกร่อนรากฐานความมั่นคงของสังคมไทยมายาวนานและปัจจุบันนี้ข้อมูลคนจนจากระบบ TPMAP ณ วันที่ 3 ม.ค. 2565 บ่งชี้ว่ามีคนจนกระจายตัวอยู่ใน 77จังหวัดทั่วประเทศ รวมกัน 1,025,782 คน ขณะที่คนจนในระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน (Practical Poverty Provincial Connext-PPPConnext) ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2566 พบว่ามีจำนวนคนจนในพื้นที่ 20 จังหวัดคือแม่ฮ่องสอน ลำปาง พิษณุโลก เลย สกลนคร มุกดาหาร ศรีสะเกษ นครราชสีมา อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยนาท พัทลุง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวมกันจำนวน 1,039,584 คนซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขให้ได้แบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ด้วยการสานพลังความรู้จากงานวิจัยเข้ากับพลังความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ-ชุมชน-เอกชน-สถาบันการศึกษาหรือแม้กระทั่งองค์กรทางศาสนา ภายใต้กลไกกระบวนการที่มีการออกแบบและขับเคลื่อนร่วมกัน”

ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวต่อไปว่าในงานสัมมนาพหุภาคีดังกล่าวมีการนำเสนอชุดข้อมูลสะท้อนปัญหาความยากจน ชุดความรู้โมเดลแก้จนที่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิผลการแก้ปัญหาความยากจนมาแล้วในพื้นที่นำร่อง 20จังหวัดครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศ และชุดประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแก้ปัญหาความยากจนรวมทั้งชุดมาตรการที่จะเป็นแนวทางขยายผลต่อยอดความร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน

“ตลอด 1 วันของงานสัมมนาพหุภาคี จะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่ถึงพร้อมด้วยข้อมูลความรู้และประสบการณ์แก้ปัญหาความยากจน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน อาทิ คุณกอบศักดิ์ ภูตระกูลอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันทำหน้าที่ประธานสภานักธุรกิจตลาดทุนไทยประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และประธานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ คุณเอ็นนู ซื่อสุวรรณ กรรมการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น”


ดร.กิตติ กล่าวถึงความคาดหวังของการจัดสัมมนาพหุภาคีว่า บพท.จะทำหน้าที่ประมวลข้อมูลความรู้ประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนสื่อมวลชน พัฒนาเป็นชุดข้อมูลแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำที่สอดคล้องกับบริบทภูมินิเวศน์ และภูมิสังคม นำเสนอให้รัฐบาล และรัฐสภา สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย และแนวทางมาตรการแก้ปัญหาความยากจนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลสำรวจชี้ คนไทยกระเป๋าฉีกพบมีหนี้สิน 20-50%ของรายได้ แถมเสี่ยงถูกเลิกจ้างสูง

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม

'สมศักดิ์' แนะ 13 จังหวัด รวบรวมโครงการน้ำ เพื่อเสนอของบ 'สทนช.'

“สมศักดิ์” แนะ เขตตรวจราชการ 12,17,18 รวบรวมโครงการน้ำ เสนอ สทนช. จะได้โยกงบไปพัฒนาด้านอื่นแทน ย้ำ จะช่วยแก้จน ด้วยโครงการโคแสนล้าน เชื่อ เลี้ยง 4 ปี จะมีมูลค่า 5 แสนล้านบาท เตรียมดัน สัตวบาลอาสา ตำบลละ 1 คน