ทำไม “ความยากจน” ไม่หมดจากประเทศไทยไปสักที…คำถามนี้พอได้ยินแล้วคงต้องมองกับไปที่โครงสร้างของประเทศ ว่ารวยกระจุก จนกระจายนี่จริงไหม เพราะความยากจนไม่ใช่เพียงแค่ความขัดสนทางเศรษฐกิจหรือรายได้น้อย แต่โครงสร้างความยากจน เกิดจากความขัดสนในหลายๆด้าน อาทิ การขาดโอกาสทางด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล การขาดที่ดินทำกิน มีภาระพึ่งพาสูง หรือไม่สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ศสช.) รายงานว่า ในปี 2564 ครัวเรือนยากจนมีจํานวนทั้งสิ้น 1.24 ล้านครัวเรือน คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 4.79 ของครัวเรือนทั้งหมด ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีจํานวนครัวเรือนยากจน ประมาณ 1.40 ล้านครัวเรือน โดยในประชากรเกือบ 70 ล้านคนในปัจจุบัน ศสช. รายงานว่า ประชากรไทยมีรายได้ต่อหัวคนไทย อยู่ที่ 266,113 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งรายได้ประชากรไทยกลุ่มฐานรากจำนวนยังคงต่ำกว่าที่ประเมิน
แต่ตัวเลขจากศสช. อาจยังไม่ตอบโจทย์ ให้เห็นภาพแท้จริง ประเทศไทย มีคนจนเท่าไหร่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จึงได้ทำวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ เมื่อปี 2563-2564 ที่ผ่านมา เพื่อค้นหาคนจนในประเทศไทย 20 จังหวัด ต่อมาในปี 2566 จึงขยายต่อยอดจากฐานข้อมูลเดิม 20 จังหวัดนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อจะสร้าง 7 จังหวัดต้นแบบพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคม ได้แก่ ภาคเหนือ จ.ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ จ.มุกดาหาร จ.ร้อยเอ็ด และภาคใต้ จ.พัทลุง จ.ปัตตานี และจ.ยะลา
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า เป้าหมายที่สำคัญของ บพท. การขจัดความยากจน และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยต้องหากลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนจนจริงๆว่าอยู่ที่ไหน และอยู่ในสถานะแบบไหน ซึ่งพบครัวเรือนยากจนในปี 2562 ประมาณ 980,000 คน และในปี 2565 มีคนจนเพิ่มขึ้นประมาณกว่า 1 ล้านคน ซึ่งเป็นเกณฑ์การวัดจากรายได้เพียงอย่างเดียว ซึ่งพบว่ามีความผิดพลาดสูงมาก เพราะมีจำนวนประชากรที่ไม่กรอกรายได้มีจำนวนมาก ทำให้พบคนจนไม่จริง แต่มีคุณสมบัติที่จะรับบัตรคนจน ดังนั้นทางบพท.จึงได้ เก็บข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ที่นอกจากดูเกณฑ์รายได้ ยังต้องใช้ดูเกณฑ์ชีวิตความเป็นอยู่ ด้วย เมื่อตั้งเกณฑ์สำรวจใหม่ ข้อมูลที่ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการพบคนจนเพิ่มขึ้นถึง 8 ล้านคน
การค้นหาคนจนที่ทางบพท. ทำ มีมหาวิทยาลัยเป็นแกนกลางในการทำงานร่วมกับกลไกรัฐ คือ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ได้มีการเชื่อมโยงกับข้อมูลจาก TPMAP พบว่ามีคนจนเพิ่มมากกว่าที่ทงการระบุไว้ว่ามีจำนวน 5,800 คน แต่พอสำรวจแล้วเข้าจริง พบว่ายังมีคนจนตกสำรวจกว่า 6,000 ครัวเรือน หรือเฉลี่ยประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้เป็นตัวเลขสำคัญที่อาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์จึงได้เข้าวิจัยเพื่อวิเคราะห์ฐานทุน และช่วยเหลือทั้งการสร้างอาชีพ การให้องค์ความรู้ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องรอเพียงงบจากภาครัฐอย่างเดียว
สำหรับ จ.กาฬสินธุ์ เป็น 1 ใน 7 จังหวัดเป้าหมายจะเป็นพื้นที่นำร่อง จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการวิเคราะห์ระดับครัวเรือนยากจน และการพัฒนา Application บูรณาการข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระดับจังหวัด ให้เป็นระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนกลางของจังหวัด ที่ใช้ร่วมกันจำนวน 18 อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 15 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 2 อำเภอนำร่อง เพื่อบริหารข้อมูลความยากจนเชิงพื้นที่แบบร่วมมืออย่างครบวงจร
ต่อมาจึงเข้าแก้ปัญหาความยากจน เป็นทำให้กาฬสินธุ์ เป็นโมเดลนำร่องแก้จน ของ 7 จังหวัด ดร.กิตติ กล่าวว่า พื้นที่จ.กาฬสินธุ์ ที่มีม.กาฬสินธุ์ ช่วยชับเคลื่อนเรื่องข้อมูล โดยสอบทานข้อมูล และประเมินบริบทพื้นที่ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับคนจนที่เป็นกลุ่ม เป้าหมาย เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้คนจน ดำเนินการนำร่องไปแล้ว 2 อำเภอ ที่ 958 ครัวเรือน ได้แก่ 1. อำเภอสหัสขันธ์ คือ โมเดลเห็ดฟาง เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านแนวคิด BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 2.อำเภอนามน ได้แก่ โมเดลปลูกผัก ที่มุ่งเน้นการปลูกผักแบบแปลงรวม โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.กาฬสินธุ์ สนับสนุนการตรวจรับรองมาตรฐาน ซึ่งทั้ง 2 โมเดล สามารถช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ให้มีรายได้ที่ดี และมีงาน มีอาชีพ
ยังมีอีกหนึ่งกลไกที่สำคัญและมีบทบาทในการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจ.กาฬสินธุ์ คือ ศูนย์ปฏิบัติการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งเป็นกลไกเชิงนโยบายที่ใช้ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกันของจังหวัด มีการบูรณาการการทำงานช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ ที่สำคัญคือ อปท.ภาคเอกชน และสถาบันทางศาสนา ภาคประชาสังคมในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด
นพมาศ อาษาภา ผู้ใหญ่บ้านม.15 ต.นามน อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในโครงการปลูกผัก GAP แก้จน ได้ร่วมกับทางม.กาฬสินธุ์ เข้ามาสำรวจครัวเรือนยากจนในหมู่บ้าน โดยจะมีการประเมินเกณฑ์รายได้ของแต่ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 40,000 บาทต่อปี และสมาชิกในครอบครัว 6-7 คนมีรายได้รวมกันไม่ถึง 30,000 บาทต่อปีว่าเป็นคนจน รวมแล้วพบครัวเรือนยากจนประมาณ 80 ครัวเรือน ปัจจุบันมีครัวเรือนยากจนเข้าร่วมโครงการนี้แล้วประมาณ 30 ครัวเรือน โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แบ่งเป็นแปลงปลูกผักในเชิงเกษตรผสมผสานให้คนละ 2 แปลง ขนาดแปลงละประมาณ 50 เมตร ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะเข้ามาให้ความรู้ และหาตลาดให้ ส่วนครัวเรือนที่เหลือก็จะปลูกผักที่บ้าน หรือเลี้ยงไก่ที่เป็นโครงการของทางมหาลัยอยู่ด้วย
สุนันทา เทียมพรม ชาวบ้านม.15 ต.นามน อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ ที่ได้เข้าร่วมโครงการปลูกผัก GAP แก้จน เล่าว่า เมื่อก่อนรายได้ค่อนข้างน้อย ไม่มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน ก็จะให้หยุดเรียน ซึ่งตนเป็นเสาหลักในการหารายได้เลี้ยงคนในครอบครัว 7 คน เพราะปกติก็จะรับจ้างทั่วไป ต่อมาทางผู้ใหญ่บ้านได้แนะนำให้รู้จักโครงการฯ จะมีปลูกผักบุ้งผักคะน้า ผักชี ทางมหาวิทยาลัยก็ได้ให้ความรู้ในการปลูกผัก การบริหารจัดการเงิน หลังจากที่เข้าร่วมโครงการได้ 1 ปี มีรายได้จากการผัก 500 บาทต่อวัน โซึ่งก็จะจำหน่ายให้กับขาประจำที่ไปขายในตลาดสด และมีลูกค้าขาจรที่มาซื้อด้วย ทำให้ทุกวันนี้มีรายได้ที่จะให้ลูกไปโรงเรียนและดูแลคนในครอบครัว .
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
'หมอประเวศ' ออกบทความ 'บูรณาการฐานแผ่นดินไทยปลอดภัยจากพิบัติ ความยากจน-ฝนแล้ง-น้ำท่วม'
ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี ออกบทความเรื่อง “บูรณาการฐานแผ่นดินไทย ปลอดภัยจากภัยพิบัติ 3 ความยากจน ฝนแล้ง น้ำท่วม”
ผลสำรวจชี้ คนไทยกระเป๋าฉีกพบมีหนี้สิน 20-50%ของรายได้ แถมเสี่ยงถูกเลิกจ้างสูง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม