เทคโนโลยีสแกน 3 มิติ ช่วยติดตามอนุรักษ์วัดอรุณฯ

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เป็นโบราณสถานที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแห่งรัตนโกสินทร์ในสายตาโลก   ส่วนสายมู วัดอรุณฯ มีความเชื่อว่า การได้มากราบไหว้บูชา ช่วยในเรื่องสะเดาะเคราะห์ ล้างอาถรรพ์ หนุนดวง แก้ดวงตก และมีชัยชนะเหนือศัตรู

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานต่างๆ และโครงสร้างวัดอรุณฯ ในฐานะโบราณสถานล้ำค่า ด้วยเทคโนโลยีสแกน 3 มิติ เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในงานอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมแห่งนี้ให้มีคุณภาพมากกว่าเดิม  และเป็นข้อมูลที่เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจด้วยการใข้เครื่องสแกนพระปรางค์องค์ใหญ่ ปรางค์ทิศ  มณฑปทิศ   พบว่า มณฑปทิศมีความเอียง เข้าหาปรางค์ประธาน  จำเป็นต้องจับตาตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของโบราณสถานสำคัญแห่งนี้

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรณีนี้เป็นโครงการสำรวจโบราณสถาน โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลมรดกศิลปวัฒนธรรมในระบบดิจิทัล วัดอรุณราชวรารามฯ  เป็นหนึ่งในวัดที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว  จากการตรวจสอบ พบว่า มณฑปมีลักษณะเอียงจริง แต่เป็นการเอียงที่ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า จะเกิดอันตรายกับตัวโบราณสถาน อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจนว่า เกิดการเอียงตั้งแต่เมื่อไร ตรงนี้เป็นจุดน่าสนใจที่จะต้องมีการติดตามผลและเก็บข้อมูลเป็นระยะ เพื่ออนุรักษ์วัดอรุณฯ วัดคู่บ้านคู่เมือง

ด้าน นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ  อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะที่ปรึกษางานอนุรักษ์โบราณสถาน กรมศิลปากร  กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า  ปลายมณฑปทิศมีการเอียงตัวเล็กน้อย แต่ไม่ใช่องค์พระปรางวัดอรุณฯ  ตรงนี้ยังต้องวิเคราะห์ สาเหตุว่าการเอียงดังกล่าว เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ซึ่งสามารถเป็นไปได้ ทั้งเอียงตั้งแต่แรกสร้าง เอียงช่วงการบูรณะ หรือเอียงด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมก็ได้ เกิดการโน้มเอียงในลักษณะของมุมมอง หลายที่มีลักษณะแบบนี้ เช่น ผนังล้ม เสาสอบ   แต่ส่วนฐานพระปรางค์ ไม่พบว่ามีปัญหาเรื่องโครงสร้าง จนถึงขั้นจะทำให้เกิดการพังทลายลงมา จากการสังเกตุด้วยสายตาและการเดินสำรวจโดยรอบ ยังพบไม่เห็นการทรุดตัวหรือมุมใดมุมหนึ่งเป็น ยืนยันว่าโครงสร้างพระปรางค์ไม่ปัญหาใดๆ

“ จากนี้กรมศิลปากรจะมีการตรวจสอบติดตาม โดยใช้เทคโนโลยีสแกนสามมิติและเก็บข้อมูลภาพถ่าย เพื่อจะดูแนวโน้มการเอียง  โดยจะมีกรอบเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ  1 ปี  ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงง่า การทรุดตัวมีแต่เดิมหรือหยุดนิ่งแล้ว  ถ้าเก็บข้อมูลแล้วมีแนวโน้มขยับมากขึ้น จะไปสู่การวางแนวทางบูรณะหรือซ่อมแซม ขณะนี้ยังไม่มีลางบอกเหตุจะนำไปสู่อันตราย แต่จำเป็นต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง  เพราะเดิมเป็นการเก็บข้อมูลเพียงภาพถ่าย แต่ไม่มีการเปรียบเทียบภาพถ่ายในมุมซ้ำมุมเดิม ฉะนั้น จึงไม่เห็นภาพชัดเจน แต่การเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีแสกนครั้งนี้จะทำให้เห็นรายละเอียด แนวโน้มอนาคตข้างหน้า  อัตราการโน้มเอียงหรือการขยับตัวของพระปรางค์ได้ชัดเจนขึ้น  ทั้งนี้ ถ้าสำรวจทุก 3 เดือนหรือ  6 เดือนแล้ว พบมีการเอียงในอัตราที่รวดเร็ว   จะส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง  ส่วนแนวทางบูรณะโบราณสถานเบื้องต้นจะใช้วิธีการเสริมฐานรากหรือปรับปรุงคุณภาพฐานราก เพื่อหยุดการทรุดตัว” นายกิตติพันธ์ กล่าว 

สำหรับวัดอรุณฯ หรือวัดแจ้ง ตั้งริมน้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี มีสถาปัตกรรมโดดเด่นเป็นสง่า  คือ  พระปรางค์วัดอรุณฯ ประกอบด้วยปรางค์ประธานและปรางค์รองอีก 4 ปรางค์ ตั้งอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารตัว พระปรางค์ปัจจุบันนี้ไม่ใช่พระปรางค์เดิมที่สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีความสูงเพียง 16 เมตร

พระปรางค์ปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นแทนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในปี พ.ศ.2363 แต่ได้แค่รื้อพระปรางค์องค์เดิมและขุดดินวางรากก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการสร้างต่อ โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล โดยเสด็จมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 2 ก.ย. พ.ศ. 2385 จนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2394 ใช้เวลารวมกว่า 9 ปี 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ หลายรายการและให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”   วัดอรุณฯ มีพระพุทธรูปสำคัญในพระอุโบสถ พระนามว่า “ พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก”   เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยงดงามศิลปะรัตนโกสินทร์ ที่ฐานพระพุทธ​อาสน์​ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของ ร. 2 ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก

วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย

'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี

กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย 

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม

7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา

คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157

นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า

วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน

13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด