การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล และเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทำให้โลกหมุนเร็วอย่างฉุดรั้งไม่อยู่ ความรู้ ที่เคยเรียนรู้กันมา อาจไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายมิติ ที่รวมถึงการใช้ชีวิต และการทำงาน คนจำนวนมากจึงต้องกระตุ้นพัฒนาความรู้ และทักษะในการทำงานและการใช้ชีวิตให้ขยับเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งการเข้าอบรมหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญตามสถาบันต่างๆ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการสอนที่เน้นหลักทฤษฎีนั้น อาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนได้อย่างแท้จริง ทำให้กว่า 88% ของผู้เรียนไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ นำไปสู่การสูญสิ้นความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเอง จนกลายเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
เมื่อเร็วๆนี้ ซีแอค (SEAC) สถาบันพัฒนาบุคลากร จึงได้ผุดหลักสูตร SEAC’s Smart Learning นวัตกรรมเพื่อการเรียนในโลกยุคใหม่ เน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับสถานการณ์ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวถือว่าเป็นการแก้ Pain Point ปัญหาการฝึกอบรมแล้วไม่สามารถนำความรู้ไปใช้งานได้จริง
ดร. สิรยา คงสมพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส ซีแอค (SEAC) กล่าวว่า ปัจจุบัน ภาพรวมตลาดธุรกิจด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร (Corporate Training) ของประเทศไทย มีมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังโควิด-19 ที่ผู้คนพยายาม Reskill ใหม่ๆ ให้กับตัวเอง แต่จากงานวิจัยพบว่ากว่า 75% ของผู้เรียนไม่ได้รู้สึกว่าการเข้าฝึกอบรมมีประสิทธิภาพจริง และกว่า 88% ของผู้เข้าเรียนไม่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการทำงานได้ ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มาก หากเทียบกับตัวเลขผู้เข้าเรียนและเม็ดเงินที่ผู้คนได้ใช้จ่ายให้กับอุตสาหกรรมนี้
SEAC จึงได้คิดค้นนวัตกรรม “SEAC’s Smart Learning” เอกสิทธิ์เฉพาะของเรา เพื่อประกาศความพร้อมที่เป็นผู้นำในตลาดธุรกิจการพัฒนาตนเองและองค์กร โดยการเรียนรู้แบบ SEAC’s Smart Learning ประกอบไปด้วย 4Line Learning, 5Phase Development และ 6 Learning Labs ซึ่งจุดเด่นของโปรแกรมนี้คือการจับทุก Pain Point ของการเรียนรูปแบบเก่ามาปรับใหม่ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เน้นผลลัพธ์ที่นำไปปรับใช้ได้จริง ด้วยวิธีการเรียนที่ยืดหยุ่นสำหรับแต่ละบุคคล เน้นการเชื่อมโยงให้ผู้เรียนเห็นว่าจะนำความรู้ไปใช้พัฒนางานต่อได้อย่างไร เห็นคุณค่าของการเรียนและการปรับใช้ ตลอดจนสามารถติดตาม และวัดผลการพัฒนาเชิงพฤติกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเครื่องมือ นวัตกรรม แนวทางการเรียนรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Community) ที่สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ต่อยอดและแบ่งปันความคิดของกันและกัน ที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุก มีส่วนร่วม เรียนได้อย่างต่อเนื่อง และนำไปใช้ได้จริง”
ด้านอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง ซีแอค (SEAC) เผยว่า SEAC เชื่อว่าการลงพื้นที่ปฏิบัติจริงตั้งแต่อยู่ในหลักสูตรคือหนทางหนึ่งที่จะทำให้จุดมุ่งหมายดังกล่าวเกิดขึ้นจริงได้ จึงได้พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า ‘6 Learning Labs’ ซึ่งหมายถึงพื้นที่แห่งการลงมือปฏิบัติจริง ร่วมกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ประกอบไปด้วย Unpacking – แล็บที่จะช่วยให้ผู้เรียนทบทวนและเข้าใจเนื้อหา เครื่องมือ และโมเดลที่เรียนมาในเชิงลึกและประยุกต์ใช้ได้ S.T.A.R.2 Application & Reflection – การตั้งเป้าหมาย กำหนดวิธีการลงมือ และเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ โดยใช้โมเดล S.T.A.R.2 (Situation, Try, Actions, Result & Reflect) Skills Practice – สนามฝึกซ้อมทักษะ สร้างความมั่นใจก่อนลงมือใช้จริง เน้นการฝึกฝนเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อหรือการใช้เครื่องมือต่างๆ Coaching – ผู้เชี่ยวชาญให้เครื่องมือ และสนับสนุนผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายที่โค้ชและผู้เรียนตั้งไว้ร่วมกัน Impact Presentations – แล็บที่จะให้ประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนกับงานจริงผ่านโปรเจ็กต์การเรียนรู้ แล้วกลับมานำเสนอผลลัพธ์ที่ดีที่เกิดขึ้น รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ เป็นการสะท้อนถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ และการลงมือทำจริงของผู้เรียน Communities of Practice – การแลกเปลี่ยนความรู้ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนร่วมกันในชุมชนแห่งการเรียนรู้
“ในโลกยุคใหม่ การตั้งโจทย์เพื่อออกแบบหลักสูตรให้คนสามารถนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้จริง จะไมใช่แค่ ‘ใคร – เรียนอะไร – ได้ข้อสรุปอย่างไร’ แต่จะเป็นการเริ่มต้นจาก ‘เรียนอะไร – เรียนอย่างไร – แล้วจะนำไปใช้ได้อย่างไร’ ผู้เรียนจะต้องเข้าใจมีความเชื่อมั่นว่าการเข้าเรียนจะทำให้ตนเองได้รับผลลัพธ์ที่ดี มีการสำรวจพฤติกรรม เพื่อตั้งเป้าที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับ ผ่านการแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกันใน Community นำไปสู่การสร้างกรอบความคิดและทักษะที่เชื่อมโยงเนื้อหาต่าง ๆ เข้ากับบริบทของตัวผู้เรียน ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม”อริญญากล่าว
‘4 Lines’เป็นเครื่องมือสำคัญที่ SEAC นำมาใช้เพื่อสร้างผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเรียนรู้เมื่อไร อย่างไร และที่ไหนก็ตาม ได้แก่ OnLine – เรียนรู้ทฤษฎีได้ทุกที่ทุกเวลาบนแพลตฟอร์มออนไลน์, InLine – เรียนจริง ปฏิบัติจริงกับโค้ชตัวจริง ร่วมกับเพื่อน ๆ คนอื่น เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาที่ได้รับเข้ากับสถานการณ์จริง, FrontLine – เรียนรู้ผ่านเครื่องมือ และคอมมูนิตี้เพื่อการประยุกต์ในชีวิตจริง, BeeLine – คอมมูนิตี้ต่อยอดการเรียนรู้ หรือพื้นที่สำหรับมาแชร์ประสบการณ์ และผลลัพธ์จากการนำสิ่งที่เรียนไปต่อยอดการเรียนรู้ให้กันและกัน
“เรากำลัง Reframe เครื่องมือและกระบวนทัศน์ต่าง ๆ ร่วมกับ Partners เพื่อมุ่งสู่เป็นแหล่งรวมการเรียนรู้อันชาญฉลาด หรือ “SMART LEARNING RESOURCES” ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียนได้อย่างสมบูรณ์”ผู้ก่อตั้ง SEACกล่าว
ด้านมิสเตอร์ เจมส์ เอนเกล (James R. Engel) Chief Learning Architect, SEAC ได้เน้นย้ำหัวใจในการออกแบบ และสร้างการเรียนรู้ที่นำไปสู่ผลลัพธ์การปรับใช้ได้จริงว่า ที่ผ่านมา SEAC มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 2 ล้านคนสร้างอัตราความสำเร็จหลักสูตรได้ถึง 77% และ 95% ของผู้เรียนกล่าวว่าสามารถนำความรู้ และทักษะออกไปใช้สร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง ทั้งนี้ SEAC ยังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านการเรียนรู้ที่นำไปปรับใช้ได้จริง (Empower Lives Through Learning) โดย SEAC’s Smart Learning จะเป็นโซลูชั่นที่อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกตั้งแต่ฐานรากของชีวิต ไปจนถึงระดับองค์กรได้ โดยมีตัวชี้วัดเป็น 6 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
1.บริบท: ดังคำกล่าวของแกรี่ เวเนอร์ชัก นักธุรกิจชื่อดัง “หากเนื้อหาคือราชา บริบทก็คือพระเจ้า”,2การประยุกต์ใช้ เน้นช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเนื้อหากับบริบทของตนและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 3.ความยืดหยุ่นและความมุ่งมั่น มีวิธีการเรียนรู้และช่องทางเพิ่มพูนทักษะที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีตัวเลือก 4.เน้นการแบ่งปันความคิดอย่างแท้จริงใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อผู้เรียน แบ่งปัน และฝึกปฏิบัติไปด้วยกัน 5.ให้การสนับสนุน: มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และ6.เริ่มต้นที่ตัวตนของแต่ละคน: ช่วยให้ผู้เรียนเห็นว่า พวกเขาอยู่จุดไหนและต้องการอะไรจากการเรียน
“เราต่างรู้กันดีว่าการเรียนรู้รูปแบบเดิมนั้นอาจไม่สามารถนำไปสู่การปรับใช้ได้อย่างแท้จริง และในอนาคตอันใกล้เป็นไปได้สูงที่ AI จะมีบทบาทในการเป็นผู้ช่วยใช้ชีวิตของพวกเราทุกคนมากยิ่งขึ้น เราจะต้องพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมพร้อมรับมือและคว้าโอกาสใหม่ ๆ อย่างชาญฉลาด หรือจะปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ พาให้เราถอยหลังไม่ทันโลก หัวใจสำคัญในการพัฒนาคนและองค์กรสำหรับโลกยุคนี้ คือ รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนนำไปปรับใช้ได้จริง และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับการทำงานและการใช้ชีวิตได้อย่างยั่งยืน” มิสเตอร์เจมส์ กล่าวทิ้งท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หักเหลี่ยมธรณีสงฆ์ | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568
เผยเล่ห์...กม.กาสิโน | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568
ทรัมป์มาแล้ว เศรษฐกิจโลกป่วน I เศรษฐกิจ in focus
เศรษฐกิจ in focus : วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2568
นับหนึ่ง..กาสิโน | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2568