'มหกรรมวัฒนธรรม'ร่วมผลักดัน'สุพรรณบุรี'สู่เมืองสร้างสรรค์ดนตรี

สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วย ประวัติศาสตร์  หากย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 9  สุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในสมัยอาณาจักรอยุธยา และทำให้เกิดการสู้รบที่สำคัญหลายครั้งในจังหวัดนี้  ด้วยรากฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทำให้สุพรรณบุรี  เป็นจังหวัดที่มีรากฐานวัฒนธรรมทางด้านดนตรีที่มีความเข้มแข็ง และผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น  ทั้งศิลปะ ดนตรีพื้นบ้าน  อย่าง”เพลงอีแซว” ก็เป็นเพลงพื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย สะท้อนให้เห็นว่าชาวสุพรรณ เป็นนักเล่นเพลงพื้นบ้านตัวยง  ด้วยเหตุนี้  เมืองสุพรรณจึงมีเทศกาลเล่นเพลงประจำปี 2 ครั้ง คือ งานไหว้พระเดือนสิบสอง และงานไหว้พระเดือนห้า ณ วัดป่าเลไลยก์ อีกทั้ง ยังภาษาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์

คนในแวดวงนักดนตรี วงการเพลงที่สำคัญของประเทศ ทั้งระดับตำนาน และปูชนียบุคคล ตลอดจนนักร้องยอดนิยม หลายคน  ที่เป็นชาวสุพรรณบุรี  ระดับตำนาน ก็มี ครูมนตรี ตราโมท (คีตกวี 5 แผ่นดิน) ครูแจ้ง คล้ายสีทอง (ช่างขับคำหอม) ผู้มีความเชี่ยวชาญสามารถ และเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการขับเสภา โดยเฉพาะละครเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน
เพลงพื้นบ้านมีเพลงพวงมาลัย เพลงอีแซว และเพลงเรือ บรมครูพ่อเพลง – แม่เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่แม่บัวผัน จันทร์ศรี และพ่อไสว วงษ์งาม “ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน)” ปี2523 รุ่นต่อมาคือ แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์  ตำนานแม่เพลงอีแซว ก็ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน)” ปี 2539

สุพรรณบุรียังได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองผลิตตำนาน  นักร้องลูกทุ่งชั้นนำตั้งแต่ ราชาเพลงลูกทุ่งอย่างสุรพล สมบัติเจริญ ราชินีเพลงลูกทุ่ง หรือพุ่มพวง ดวงจันทร์  และอีกหลายท่าน อาทิ  ก้าน แก้วสุพรรณ (ผู้เปิดตำนานนักร้องจากแดนสุพรรณ) สายัณห์ สัญญา  ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง -นักร้องเพลงลูกทุ่ง ปี 2540 เพลิน พรมแดน ชาย เมืองสิงห์ มาจนถึง  เปาวลี พรพิมล และอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน

ด้านเพลงเพื่อชีวิต สายเลือดสุพรรณนั่นก็คือ “แอ๊ด คาราบาว”  ศิลปินเพลงร็อคอย่าง ตูน บอดี้แสลม (นายอาทิวราห์ คงมาลัย) กันต์ เดอะสตาร์ (นภัทร อินทร์ใจเอื้อ)   แดน ดีทูบี (วรเวช ดานุวงศ์) เรื่อยมาจนถึงเด็กรุ่นใหม่อย่าง แรปเปอร์เด็กเลี้ยงควาย (เทพฤทธิ์ อิ่มสุดสำราญ – รายการเดอะแรปเปอร์) และ วงSunset – The Voice 2019 และกลุ่มผู้เข้าร่วมประกวดวงดนตรี Suphanburi String Contest เป็นต้น

จากจุดเด่นทางด้านดนตรี วงการเพลงนี้เอง ทางจังหวัดสุพรรณบุรี โดยนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้ผลักดันให้ยูเนสโกพิจารณาให้ สุพรรณบุรีให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี (Creative City of Music)

จึงไม่เป็นที่แปลกใจที่ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จึงเลือกจังหวัดสุพรรณบุรี จัดงาน มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “ดนตรี” สานศิลป์ 2 ถิ่นวัฒนธรรม  ที่เป็นงานใหญ่ระดับภาค เพราะมีคนจาก 24 จังหวัดทั้ง ภาคกลาง -ภาคตะวันออก เข้าร่วมงานคับคั่ง   ซึ่งไฮไลต์หลักในช่วงเช้าอยู่ที่”พิธีไหว้ครูตนตรี”ซึ่งมีศิลปินนักร้อง นักดนตรีหลากหลายสาขา ร่วมพิธีจำนวนมากกว่า 1,000 คน โดยมีครูปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) พ.ศ.2563  เป็นเจ้าพิธีการไหว้ครูและครอบครู โดยพิธีจัดขึ้น ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

ในงานดังกล่าว ยังมีการแสดงดนตรีสาขาต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถและมีแรงบันดาลใจพัฒนาทักษะให้เป็นศิลปินในอนาคต  5 เวที ได้แก่ 1.การแสดงเพลงลูกทุ่ง นำโดยศิลปินแห่งชาติ ชัยชนะ บุญนะโชติ คุณสมเศียร พานทอง (ชาย เมืองสิงห์)  สมส่วน พรหมสว่าง (เพลิน พรหมแดน พร้อมคณะ) ศิลปินดาวรุ่ง ปานชีวา มนต์สิริ (น้องป่าน) เป็นต้น  2.การแสดงเพลงพื้นบ้าน นำโดยแม่ขวัญจิตร ศรีประจันต์ (ศิลปินแห่งชาติ) แม่ศรีนวล ขำอาจ (ศิลปินแห่งชาติ) สมหญิง ศรีประจันต์ และชาวคณะ  3.การแสดงดนตรีไทย นำโดยธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (ศิลปินแห่งชาติ) วงปี่พาทย์เสภา เช่น สำนักการสังคีต กรมศิลปากร คณะบ้านบัวหลวง กลุ่มศิลปินถิ่นสุพรรณรวม 30 คณะ และวงปี่พาทย์ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันชาวนาฏศิลปสุพรรณบุรี เป็นต้น  4.การแสดงลิเกรวมดาว นำโดยคุณพงษ์ศักดิ์ สวนศรี และนักแสดงลิเกชื่อดัง และ 5.เวทีการแสดงดนตรีโดยเยาวชน ในจังหวัดสุพรรณบุรีและใกล้เคียง

ช่วงเย็น เป็นพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการวธ. พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดวธ.หลังจากปลัดวธ.การกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน  นายอิทธิพล กล่าวเปิดงานว่า   วธ.คระหนักความมีคุณค่าและความอุดมสมบูรณ์ในวัฒนธรรมของประเทศไทย หลัง สถานการณ์โควิด -19  คลี่คลาย  จึงได้พยายามฟื้นวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ตลอดจนฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชนให้กลับคืนสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด   ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม ในปีนี้จึงได้มีการจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้น ในหัวข้อวิถีถิ่น วิถีไทย ทั้ง 4ภูมิภาค  โดยงานที่จัดขึ้นจังหวัดสุพรรณบุรี ถือว่าเป็นหนึ่งในมหกรรม เพราะมีผู้ร่วมงานจากภาคกลางและภาคตะวันออก 24 จังหวัดเข้าร่วมงาน

การรผลักดันให้สุพรรณบุรี เป็นเมืองสร้างสรรค์ ดนตรีโลก จากยูเนสโก  รมว.วธ. กล่าวว่า จังหวัดสุพรรณบุรี มีจุดน่าสนใจควรค่าแก่การพิจารณาจากยูเนโกหลายด้าน โดยมีความพร้อมทุกด้านทั้งหลักฐานทางด้านศิลปะ มีศิลปินมากมาย  หรืออาจกล่าวได้ว่าจังหวัดสุพรรณบุรี ถือว่าเป็นหนึ่งในเมืองหลวงทางด้านวัฒนธรรมของไทย  เพราะมีพ่อเพลงแม่เพลง และศิลปินแห่งชาติหลายท่านที่มาจากจังหวัดนี้   นอกจากนี้ ยังมีศิลปินรุ่นต่อๆมา สืบสานบทเพลงและวัฒนธรรมดีงามของจังหวัด   เป็นเมืองก่อเกิดอารยธรรมทราวดี มีอารยธรรมยุคอู่ทอง ซึ่งที่นี่มีพิพิธภัณฎ์สถานแห่งชาตอู่ทอง พิพิธภัณฑ์ลูกหลานแดนมังกร  ทั้งหมดล้วนแต่เป็นปัจจัยส่งเสริมเชิงวัฒนธรรมทั้งสิ้น

ด้านนาย โกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ) กล่าวว่าพิธีไหว้ครูดนตรีในครั้งนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมของจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเข้ารับการพิจารณาเข้าสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี  ของยูเนสโก  ก่อนหน้านี้ ยูเนสโก ได้ยกให้  5เมืองของไทย เป็นเมืองสร้างสรรค์ คือ เพชรบุรี สุโขทัย กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่  ด้วยเหตุนี้ การเสนอให้สุพรรณบุรี เป็นสร้างสรรค์ทางดนตรีอีกเมืองจึงมีความเป็นไปได้สูง   ซึ่งหากดูเกณฑ์การพิจารณาที่ยูเนสโกกำหนด ข้อหนึ่งที่ยูเนสโกเน้นมากๆนั้นก็คือ ความร่วมมือของคนในท้องถิ่น นอกจากรากฐานดนตรีเพลง และตัวศิลปินแล้ว จะเห็นได้ว่าสุพรรณบุรีเข้าข่ายเกณฑ์นี้มาก เพราะการผลักดันให้สุพรรณเป็นเมืองสร้างสรรค์ ไม่ได้มาจากนโยบายของรัฐหรือจังหวัดฝ่ายเดียว แต่เป็นความร่วมมือของประชาชนในจังหวัดและหน่วยงานทุกภาคส่วนด้วย

“ดังที่จะเห็นได้จากการจัดงานครั้งนี้ ทั้งพิธีไหว้ครูและมหกรรมทางดนตรี ที่ยิ่งใหญ่มาก และมีคนจาก 24 จังหวัดจากภาคกลางและตะวันออกมาเข้าร่วม    และยังเป็นครั้งแรกที่เป็นการรวมใจของชาวศิลปิน จาก 5 สายธาร ประกอบด้วย ดนตรีไทย เพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง เพลงเพื่อชีวิต และเพลงร่วมสมัย  ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นการร่วมแรงร่วมใจร่วมผลักดันให้สุพรรณบุรีเป็นเมืองสร้างสรรค์ทางดนครี จากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง”อธิบดี สวธ.กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม

5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

ลอยกระทงวิถีไทย สืบสานประเพณีงดงาม

วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จัดเป็นเทศกาลประเพณีสำคัญของคนไทยที่จะได้ร่วมกันสืบสานคุณค่าประเพณีอันดีงาม โดยการทำกระทงสวยงามหลากหลายรูปแบบ นำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ