ปั้นบุคลากรรุ่นใหม่อนุรักษ์โบราณคดีใต้น้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรี ศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอสปาฟา) กรมศิลปากร ยูเนสโก และศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดี ใต้น้ำ ณ เมืองซาดาร์ (ICUA) ประกาศความร่วมมือจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรใหม่ เน้นสร้างความแข็งแกร่ง ด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การฝึกอบรมครั้งนี้ มีกำหนดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในหัวข้อ “South-East Asian Sub-regional Introductory Course on Conservation and Restoration of Underwater Archaeological Finds” (หลักสูตรเบื้องต้นด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ระหว่างวันที่ 19 – 29 มิถุนายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดจันทบุรี นับเป็นการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุครั้งแรกในภูมิภาคที่ครอบคลุมวัสดุหลากหลายประเภท ซึ่งมักพบในแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ

ฟรังกา โคล นักโบราณคดี นักอนุรักษ์ด้านโบราณคดี และวิทยากรร่วมบรรยายจากพิพิธภัณฑ์ซาราวัค (Sarawak Museum – JMS) กล่าวว่า ประเทศมาเลเซียงานโบราณคดีใต้น้ำมีความท้าทายอย่างมากต่อกิจกรรมโลจิสติกส์ แต่สภาพแวดล้อมใต้น้ำกลับช่วยรักษาวัสดุอินทรีย์และโบราณวัตถุในระดับที่พบได้น้อยมากหรือไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย หากอยู่บนบก การฝึกอบรมฯ ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงอย่างครอบคลุมตามหลักการและเทคนิคการอนุรักษ์และบูรณะวัสดุประเภทเครื่องดินเผาหรือเซรามิก แก้ว โลหะ ไม้ และวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะสำคัญอันจะนำไปสู่การปกป้องและสงวนรักษาโบราณวัตถุล้ำค่าเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป

ฟรังกา โคล กล่าวอีกว่า การวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อการอนุรักษ์เชิงคัดเลือกเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพียงวิธีเดียวที่จะช่วยปรับเปลี่ยนเป้าหมายการวิจัยและการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมให้สมดุลกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถที่มีอยู่

การฝึกอบรมครั้งนี้ ซีมีโอสปาฟา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และยูเนสโก จะพัฒนาการอนุรักษ์และบูรณะ มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ โดยบูรณาการความรู้ความชำนาญและทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์ด้านองค์ความรู้และทรัพยากรจำเป็นอื่น ๆ จากศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดีใต้น้ำ (ศูนย์นานาชาติประเภท 2 ที่จัดตั้งขึ้นด้วยความอุปถัมภ์จากยูเนสโก) ณ เมืองซาดาร์ สาธารณรัฐโครเอเชีย หน่วยงานสำคัญทั้ง 4 แห่งนี้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงพัฒนาศักยภาพของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้พร้อมต่อการดำเนินงานเพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป

“เราตั้งความหวังไว้ว่าการฝึกอบรมนี้จะช่วยสร้างบุคลากรรุ่นใหม่จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความรู้ความชำนาญวิชาชีพด้านโบราณคดีใต้น้ำและด้านอนุรักษ์” นายเขมชาติ เทพไชย ผู้อำนวยการศูนย์ซีมีโอสปาฟากล่าว

การฝึกอบรมครั้งนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ ค.ศ. 2001 ซึ่งรับรองในเดือนพฤศจิกายน 2544 ให้กำหนดกรอบกฎหมายร่วมและแนวปฏิบัติเพื่อให้แต่ละประเทศ สามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งการบ่งชี้มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ การวิจัย มาตรการปกป้อง และการอนุรักษ์มรดก วัฒนธรรมใต้น้ำ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นางสาวชิฮิโระ นิชิกาวะ ผู้เชี่ยวชาญโครงการของ ยูเนสโก ได้กล่าวว่า ยูเนสโกยินดีมากที่ได้กลับมาเปิดหลักสูตรฝึกอบรมด้านมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำในประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากเคยจัดฝึกอบรมในประเทศไทยมาแล้วหลายครั้งระหว่างปี 2552 ถึง 2554 นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญ โครงการของยูเนสโกยังมองภาพในอนาคตไว้ว่า อีกสิบปีข้างหน้า ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีใต้น้ำและมีทักษะด้านการอนุรักษ์เพียงพอที่จะปกป้องและบริหารจัดการมรดกทาง วัฒนธรรมใต้น้ำได้อย่างยั่งยืนตามอนุสัญญายูเนสโก ปี ค.ศ. 2001

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พระเจ้าตอง' กลับพะเยา หลังโดนขโมย 36 ปีก่อน ค้นพบที่สวิต กรมศิลป์พิสูจน์แล้วของจริง

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้ประสานงานและติดตามนำ “พระเจ้าตอง” กลับจังหวัดพะเยา รับส่งมอบพระเจ้าตอง จากนางสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 

ชาวบาบ๋าอันดามันเตรียมฉลอง 'เคบายา' ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ในเวทีประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จะมีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ณ นครอซุนซิออน ประเทศปารากวัย หรือตรงวันที่ 4 ธ.ค.นี้ ของไทย

ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้วธ.จัดฉลองยิ่งใหญ่ 6-8 ธ.ค.ที่เอ็มควอเทียร์

4 ธ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The nineteenth session of the Intergovernmental Committee for the

ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ Night at The Museum

กลับมาอีกครั้งสำหรับบิ๊กอีเว้นท์ของคนรักพิพิธภัณฑ์ เมื่อกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัดกิจกรรม "ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ" Night at the Museum ในเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน