Home Coming งานศิลป์ฮีลใจคนที่หมดไฟ

“หมดไฟ” เป็นภาวะของการอ่อนล้าทางอารมณ์ ผลจากความเครียดจากงานที่มากเกินไปอย่างต่อเนื่อง คนทำงานส่วนหนึ่งกำลังเผชิญช่วงเวลาที่เลวร้ายนี้ ท้อแท้ หมดไฟ มีความสุขจากการทำงานลดลง และทำงานได้ไม่ดี บางคนรู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน ถ้าปล่อยให้ตกอยู่ในภาวะหมดไฟนานเข้า ทำให้เสียแรงจูงใจในการทำงาน กระทั่งรู้สึกว่า ทำอะไรก็ไม่ได้ดี ลงท้ายรู้สึกว่าไม่สามารถทำอะไรให้ใครได้ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่อยู่ในลิสต์ต้นๆ ของบ้านเรา

การได้ระบายความเครียด มีกิจกรรมนอกงาน มองหาคุณค่าในงานที่ทำ เป็นแนวทางป้องกัน เหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รังสรรค์นิทรรศการ “Home Coming พาใจกลับบ้าน” เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้วัยทำงาน ได้สำรวจอารมณ์และจิตใจให้ดีขึ้นผ่านผลงานศิลปะที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า จากข้อมูล Thaihealth Watch จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2566 พบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ วัยทำงาน มีภาวะหมดไฟ (Burnout) สาเหตุส่วนหนึ่งจากการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่แบบลูกผสม (Hybrid) ทำให้เสียสมดุลชีวิตกับการทำงาน เนื่องจากขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เจอภาวะกดดันจากการทำงาน กลายเป็นความเครียดสะสม นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ที่สำคัญยังพบข้อความที่กล่าวถึงความเครียดจากการทำงานในสื่อโซเชียลมีเดีย ระหว่าง มี.ค. – ก.ย. 2565 ถึง 18,088 ข้อความ ในจำนวนนี้ ต้องการลาออกจากงาน 54% สะท้อนถึงการขาดวิธีการจัดการชีวิตและการทำงานที่สมดุล ตอกย้ำแนวโน้มปัญหาสุขภาพจิตใจของวัยทำงานที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  

 “ สสส. ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ได้เร่งรวบรวมองค์ความรู้ พัฒนาเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบนิทรรศการ “Home Coming พาใจกลับบ้าน” เพื่อสร้างประสบการณ์และทักษะชีวิตให้คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน ได้ตระหนักถึงทางเลือกในการดูแลสุขภาวะด้านจิตใจ ผ่านงานศิลปะที่ออกแบบให้เชื่อมโยงกับความเป็นมนุษย์ (Humanbeing) 5 โซน ประกอบด้วย โซน 1 สำรวจอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเอง โซน  2 ปล่อย ขยับร่างกายไปพร้อมๆ กับจิตใจ โซน 3 กอด สัมผัสแสง เสียงของชิ้นงาน สร้างความมั่นคงในใจ โซน 4  นอน เอนกาย มองแสงประกายน้ำ เพื่อความผ่อนคลาย 5. ฟัง เสียงที่อยู่รอบตัว คลายความโดดเดี่ยว เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมให้ได้สำรวจจิตใจตนเองไปด้วยกัน” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว

ภายในนิทรรศการนอกจากชวนมาฮีลใจกับศิลปะในโซนต่างๆ แล้ว ยังมีการฉายสารคดี “Mentalverse จักรวาลใจ” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตกลุ่มคนที่ต่างวัย 5 คน 5 ภาวะซึมเศร้า สะท้อนให้เห็นทางออกของปัญหาด้านจิตใจที่มีผลกระทบมาจากครอบครัวและสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้าไปมีประสบการณ์ร่วมกับเรื่องราวในจักรวาลใจของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าอีกด้วย

 การเรียนรู้และทำความเข้าใจภาวะหมดไฟ ไม่ได้จำกัด แต่รวมถึงเราเองที่อาจจะมีความเครียดจากการทำงานโดยไม่รู้ตัว อยากชวนมามีส่วนร่วมเพื่อรู้เท่าทันถึงปัญหาเหล่านั้น เพื่อเข้าใจ ปรับตัว และอยู่ร่วมกับผู้ที่เผชิญภาวะสูญเสียความมั่นใจ มาช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจ ให้กำลังให้เขาฮึดสู้  นิทรรศการ “Home Coming พาใจกลับบ้าน” จะจัดขึ้นตลอดเดือน มิถุนายน 2566 ที่บริเวณชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก กรุงเทพฯ แวะวียนไปชมกันได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวานมันเค็มเซาะกร่อนสุขภาพเด็กไทย กระตุกรัฐบาลออกกม.คุมโฆษณาอาหาร

เด็กทั่วโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักเกิน 3 เท่า ถือเป็นปัญหาที่หลายประเทศ อาทิ อังกฤษ, นอร์เวย์ ถึงกับต้องออกกฎหมายคุมเข้มการโฆษณาสินค้าอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ