รอบเกาะรัตนโกสินทร์มีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งเปิดบริการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาตร์และศิลปวัฒนธรรมสู่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน พิพิธภัณฑ์ย่านพระนครภายในอาคารประวัติศาสตร์ พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย และกิจกรรมอบรม เสวนา เวิร์คชอป เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมใน 6 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ ดนตรีและการแสดง การออกแบบ ภาพยนตร์ นอกจากนี้ พื้นที่แห่งนี้ยังมีนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับประเทศในอาเซียนและการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ด้วย
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม พยายามพัฒนาพื้นที่แห่งการเรียนรู้นี้ให้น่าสนใจ ทันสมัย ตลอดเวลา เพราะนอกจากจะเป็นมิวเซียมให้ดื่มด่ำความสุนทรีย์จากผลงานศิลป์แล้ว ยังเพิ่มศักยภาพในการนำเสนอความรู้ใหม่ๆ สู่สาธารณชนที่สะดวก รวดเร็วอีกด้วย
ประสพ เรียงเงิน ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า สศร. ได้พัฒนาหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยหลากหลายสาขา ตลอดจนเปิดพื้นที่สำหรับจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยระดับชาติและนานาชาติ และให้ศิลปินแขนงต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อใช้พัฒนาผลงาน ตลอดจนเพื่อให้ผู้เข้าชมได้รับประโยชน์และนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดนิทรรศการไปใช้สร้างแรงบันดาลใจหรือต่อยอดการทำงานได้
“ ในช่วงปี 2565 จนถึงปัจจุบัน หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินได้ผลตอบรับจากผู้จัดกิจกรรม ศิลปิน และผู้ชมเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ มาช่วยในการจัดนิทรรศการ ทำให้มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้ชมมากยิ่งขึ้น มีการประชาสัมพันธ์เนื้อหาและรูปแบบการจัดกิจกรรมหลากหลายช่องทาง ทั้งจากทางหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เครือข่ายศิลปร่วมสมัย และจากผู้เข้าชมที่แชร์เรื่องราวความประทับใจต่อไปยังสาธารณะ ยิ่งทำให้มีผู้เข้าชมทั้งชาวไทย และต่างชาติ ใช้บริการหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินเพิ่มมากขึ้น “ ประสพ กล่าวเทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญ
หอศิลป์ที่เคยถูกมองว่าเป็นสถานที่น่าเบื่อสำหรับคนรุ่นใหม่ เมื่อผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ยังไม่ตาย และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่รวมอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้อย่างลงตัว ประสพ ระบุ สศร. เปิดกว้างให้ผู้สนใจเข้าหารือในการใช้พื้นที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และพร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่างๆ เป็นที่มาของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตลอดเดือนมิถุนายนนี้
วันที่ 11 มิ.ย. จะมีกิจกรรมอบรม “บรรณาธิการกิจกับวัฒนธรรมหนังสือ” (open book) เวลา 09.30 – 16.45 น. ที่ห้องออดิทอเรียม หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน มีการบรรยายให้ความรู้จากบุคคลชั้นนำด้านหนังสือ นิตยสาร อาทิ หัวข้อ “บรรณาธิการกิจกับวัฒนธรรมหนังสือ” โดยนายอรรถ บุนนาค บรรณาธิการสำนักพิมพ์ JLit การเสวนา หัวข้อ “บทบาทของบรรณาธิการในโลกสมัยใหม่” โดยบรรณาธิการระดับแนวหน้าของไทย ได้แก่ นายทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการ The Cloud นายวิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการนิตยสาร a day , นายภัทรจักร ปานสมัย บรรณาธิการหลวยสูสำนักพิมพ์ และนายอรรถ บุนนาค บรรณาธิการสำนักพิมพ์ JLit ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
อีกหนึ่งกิจกรรมไฮไลท์ สศร. ได้ร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาทัศนศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดนิทรรศการ “Dystopian” แสดงผลงานวิทยานิพนธ์ของมหาบัณฑิตศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาทัศนศิลป์ ที่ ห้องนิทรรศการ 5 และห้องปฏิบัติการ 1 ชั้น 2 โดยรวบรวมงานศิลปะที่สะท้อนถึงรูปแบบความทุกข์อันหลากหลายของ 8 ศิลปิน จำนวน 16 ผลงาน มาให้ได้รับชมอย่างใกล้ชิด งานศิลปะเป็นการสื่อสารที่สามารถนำไปสู่การสนทนาและถกเถียงกันในประเด็นความทุกข์ของมนุษยชาติ ด้วยรูปแบบที่น่าดึงดูดและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนได้ เชื่อมโยงศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกคน
เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหารูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ ชักชวนให้คนรักศิลปะอยากออกมาหอศิลป์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประติมากรรมเพื่อชุมชน แหล่งรวมคนเมืองแห่งใหม่
ใจกลางกรุงเทพฯ นอกจากสวนสาธารณะพื้นที่สีเขียว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นปอดให้กับคนเมืองแล้ว การมีสวนประติมากรรมให้เที่ยวชมย่านใจกลางเมือง เป็นแหล่งนัดพบชาวเมืองแห่งใหม่ เต็มเต็มความสุขของการใช้ชีวิตในเมืองด้วยผลงานศิลปะที่ชวนให้เราหยุดพัก
ประกาศเกณฑ์รับเงินอุดหนุนงานวัฒนธรรมปี68
28 ก.ย. 2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายทางวัฒนธรรม
7 ศิลปินรางวัล'ศิลปาธร' ต้นแบบคนรุ่นใหม่
ศิลปินศิลปาธรล้วนเป็นศิลปินร่วมสมัยรุ่นกลางที่ทุ่มเทพลังความคิด สติปัญญา และจิตใจมุ่งมั่น สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)ยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล’ศิลปาธร’ จำนวน 7 สาขา
ปักหมุดพิพิธภัณฑ์ใน LA ต้องไปชมสักครั้ง
การเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศให้สนุกสนาน นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่งดงามตระการตาและแหล่งมรดกวัฒนธรรมล้ำค่า พิพิธภัณฑ์ เป็นอีกหนึ่งในเดสติเนชั่นที่เราอยากแนะนำให้ไปเยี่ยมชม เก็บเกี่ยวช่วงเวลาพิเศษควรค่าแก่การจดจำ
ไทยโชว์งานศิลปะร่วมสมัย'ช็องจู คราฟต์ เบียนนาเล่'
12 ก.ย.2567 - นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการจัดนิทรรศการประเทศรับเชิญในงาน 2025 Cheongju Craft Biennale ร่วมกับ Mr. Lee Beom-seok ผู้ว่าการเมืองช็องจู ประธานคณะกรรมการจัดงาน Cheongju Craft Biennale ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันก่อน
'นิรันดร์กัลป์'ธีมศิลปะ ภูเก็ตเบียนนาเล่
มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale , Phuket 2025 เปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ นายอริญชย์ รุ่งแจ้ง และ Mr. David The พร้อมภัณฑารักษ์ นางสาวมาริสา พันธรักษ์ราชเดช และ Ms. Hera Chan ณ HOUSE OF TIN BARON อำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ตอกย้ำความพร้อมจัด Thailand Biennale ครั้งที่ 4