คุก หรือ เรือนจำ สถานที่จองจำผู้ที่กระทำผิด ที่มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ โดยลักษณะของคุกมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จากสถานที่หดหู่ มาเป็นสถานที่จองจำที่ทันสมัยอย่างที่เห็นในต่างประเทศ ในประเทศไทยเองก็มีคุกผ่านหลายยุคหลายสมัย ทำให้กรมราชทัณฑ์ ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ขึ้น เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์ความเป็นมาวิวัฒนาการของการก่อตั้งเรือนจำ ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการลงโทษ รวมไปถึงการดำรงชีวิตในคุก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนเป็นเครื่องเตือนใจให้คนที่เข้าชมไม่อยากทำผิด จะได้ไม่ถูกจองจำ และมีชีวิตอย่างหดหู่
หากยังจำกันได้ประเทศไทยเคยมีการจัดแสดงวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์เกี่ยวกับการลงทัณฑ์ของประเทศไทยตั้งแต่โบราณมาเก็บรวมไว้ในที่แห่งเดียวกันเพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์และมีการเคลื่อนย้ายสถานที่ในการจัดแสดงถึง 3 ยุค โดยยุคแรก ที่เกิดการสร้างพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ครั้งแรกขึ้นที่เรือนจากลางบางขวาง จ.นนทบุรี เมื่อปีพ.ศ.2482 โดยนายพันตำรวจโทขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีศรากร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้เริ่มรวบรวมวัตถุเกี่ยวกับการลงโทษและวัตถุโบราณที่พบภายในบริเวณเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ สมัย 50 ปีก่อนมาเก็บรวมไว้จำนวน 41 ชิ้น
ต่อมาในยุคที่ 2 ปี พ.ศ.2515 ได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ อาคารศูนย์ฝึกศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ ปัจจุบันคืออาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการ ราชทัณฑ์ ซึ่งมีการจัดหาโบราณวัตถุเพิ่มเติมได้มากขึ้นถึง 334 รายการ อาทิ เครื่องมือจารีตนครบาล อุปกรณ์การประหารชีวิตด้วยดาบ การประหารชีวิต ด้วยปืน ภาพวาดสีน้ำมันเกี่ยวกับโทษทวะดึงษ์กรรมกรณ์ (การลงโทษ 32 ประการ) อาวุธปืนโบราณ ภาพถ่ายการประหารชีวิต หุ่นรูปปั้น สิ่งของต้องห้าม และเครื่องมือในการกระทำผิด หรือสิ่งของที่ผู้ต้องขังลักลอบนำเข้าเรือนจำ เป็นต้น
และในยุคที่ 3 ได้ย้ายไปจัดแสดงภายในสวนรมณีนาถ ด้านถนนมหาไชย เขตพระนคร ซึ่งเคยเป็นเรือนจาพิเศษกรุงเทพมหานครเดิม ซึ่งกรมศิลปากรได้อนุรักษ์และขึ้นทะเบียนเป็นอาคารโบราณสถานไว้แล้ว กระทั่งในปี พ.ศ.2558 พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ที่สวนรมณีนาถได้ปิดทำการ เนื่องด้วยกระทรวงยุติธรรมโดยสถาบันการยุติธรรมแห่งประเทศไทย จะมีการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระหว่างประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม
ทำให้ในปีพ.ศ.2565 กรมราชทัณฑ์ ได้เล็งเห็นความสาคัญ จึงได้ทำการการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์แห่งใหม่ขึ้น ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการ ราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์ จ.นนทบุรี โดยได้มีการเคลื่อนย้ายวัตถุจัดแสดงมายังกรมราชทัณฑ์ พร้อมมีการจัดสรรค์พื้นที่ภายในอาคาร 3 หลัง เพื่อทำการจัดแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์เกี่ยวกับการลงทัณฑ์
ล่าสุดในปีนี้ผู้สนใจสามารถเข้าชม พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ แห่งใหม่กันได้แล้ว โดยรูปแบบของอาคารออกแนวสไตล์ลอฟท์ถูกฉาบด้วยสีเทาเข้มให้อารมณ์ความรู้สึกที่หม่นหมอง ความทุกข์และเศร้า แต่ในอีกมุมก็ให้ความรู้สึกที่สุขุมและมั่นคง นี่อาจจะสะท้อนความหมายของเรือนจำในฐานะสถานที่จองจำนักโทษ
โดยอาคารการจัดแสดงหลักมีทั้งหมด 3 หลัง ภายในอาคาร 1 ชั้น 1 เป็นจุดเริ่มต้นในทุกเรื่องราวของประวัติศาสตร์ เป็นห้องแห่งคำถามว่าคุก…มีไว้ทาไม ตลอดจนไทม์ไลน์ของการจัดทำพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ในแต่ละยุค ซึ่งภายในชั้นนี้จะได้เห็นเครื่องใช้บางส่วนในเรือนจำ อาทิ กลองที่ผู้คุมใช้ตีบอกเวลาเข้าเวรยามสันนิษฐานว่า ถูกใช้ในปี ร.ศ.126 และใบที่สอง ซึ่งได้มาจากเรือนจำกำแพงเพชร มีความเชื่อว่า ถ้าตีกลอง 1 ครั้ง จะมีนักโทษเสียชีวิต 1 คน จึงได้มีการยกเลิกใช้ หันมาใช้ระฆังแทน หรือตู้เก็บเงินของเรือนจำ ที่คาดว่ามาจากเรือนจำหัวเมืองเพื่อใช้เก็บส่วย และถังดับเพลิงที่ผ่านการใช้งานจริงมาแล้ว
เดินเชื่อมมายังอาคาร 2 ชั้น 1 จะเป็นโซนการจัดแสดงวิธีและเครื่องมือการลงทัณฑ์ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยในอดีตจะมุ่งเน้นการลงโทษด้วยเครื่องลงทัณฑ์ ด้วยวิธีการรุนแรงให้เข็ดหลาบ หวาดกลัว การลงทัณฑ์แบบจารีต ที่เน้นการทรมานเพื่อให้นักโทษรับสารภาพ ที่เราเองดูแล้วก็รับรู้ได้ถึงความทรมาน อาทิ ตะกร้อ จากเรือนจำกลางนครราชสีมา เครื่องลงโทษที่ทำด้วยหวายขนาดใหญ่ พอให้ใส่คนเข้าไปด้านในได้และมีเหล็กปลายแหลมโผล่ด้านในเป็นระยะๆ โดยใช้ช้างเตะตะกร้อให้กลิ้งไปมา ทำให้นักโทษเจ็บปวดจากการถูกเหล็กตำ เบ็ดเหล็ก ซึ่งจะใช้เบ็ดเหล็กเกี่ยวเข้าไปที่ใต้คางของนักโทษ แล้วชักรอกให้เท้าลอยพ้นพื้น และหลายบทลงโทษ ถัดมาก็จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พันธนาการนักโทษ เช่น ตรวนขานกยาง ตรวนขาถ่าง ตรวนข้อเท้า เหล็กครอบสะเอว
ถัดมาก็จะวิธีการประหารชีวิตที่มีวิวัฒนาการการใช้ตั้งแต่ด้วบดาบ โดยได้มีการจำลองอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบไม่ว่าจะเป็น มีดตัดส้นเท้า มีดตัดสายมงคล ขันทำน้ำมนต์ และดาบของนายเหรียญ เพิ่มกำลัง เพชฌฆาตดาบคนสุดท้าย เป็นต้น ต่อมาก็เป็นการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า โดยเราจะได้เห็นหลักประหารชีวิตอันแรก ปืนที่ใช้ในการประหารชีวิตของจริง เครื่อแบบเพชฌฆาตประหารชีวิตคนสุดท้ายที่นายเชาวเรศน์ จารุบุณย์ ได้สวมใส่ และการประหารชีวิตในปัจจุบันที่ใช้การฉีดยา
ขึ้นไปบนชั้น 2 พบกับการจัดแสดงพระหัตถเลขาในหมายปล่อยตัวนักโทษในรัชกาลที่5 และ รัชกาลที่ 6 ที่หาดูได้ยาก ผ่านหับเผยจำลอง คือประตูระหว่างทางเข้าเรือนจำไปสู่คุก ด้านในจะเป็นบรรยากาศการจำลองการใช้ชีวิตประจำวันในเรือนจำโรงเลี้ยง โรงครัว โรงฝึกวิชาชีพ ห้องนอน ห้องขัง ห้องพยาบาล เครื่องหมาย-เครื่องแบบข้าราชการราชทัณฑ์ในยุคต่างๆ ภาพเรือนจำต่างจังหวัดในอดีต ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบุรี สระบุรี ลพบุรี ปืนของผู้คุมในอดีต ในโซนนี้มีการจัดแสดงโครงกระดูกของนักโทษชายที่อุทิศร่างกายให้สถานพยาบาลเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อปี 2480 รวมถึงโครงการในพระราชดาริฯ ยุคปัจจุบัน
ส่วนอาคาร 3 ติดแม่น้าเจ้าพระยา เป็นร้านหับเผย ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ต้องขังที่ได้จากการเรียนรู้ภายในเรือนจำทั้งกระเป๋า รองเท้า ของที่ระลึก ที่ล้วนเป็นงานฝีมือ ส่วนด้านบนก็จะเป็นคาเฟ่อาหารและเครื่องดื่มจากฝีมือผู้ต้องขัง รวมไปถึงการแสดง ความสามารถและทักษะพิเศษของผู้ต้องขังด้านนาฎศิลป์ ดนตรี ศิลปะ เป็นต้น
การมาเยือนพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ถึงจะไม่ได้จรรโลงใจ แต่เราได้เข้าใจถึงกระบวนการยุติธรรมที่วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ ตามหลักสิทธิมนุษยชน จะดีแค่ไหนหากไม่มีใครทำผิดกฎหมาย เคารพกฎสังคม และไม่ต้องถูกลงโทษหรือจองจำเพราะสุดท้ายบั้นปลายชีวิตก็ต้องจบลงด้วยกระบวนการยุติธรรม สำหรับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์เปิดบริการทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) เวลา 09.00-17.00 น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘เทพไท’ แนะก่อนจะทำเรื่อง ‘จำคุกนอกเรือนจำ’ ทำเรื่องที่คุมขัง ‘ผู้กำลังสู้คดี’ ดีกว่า
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กว่า ก่อนจะทำเรื่อง“จ
'พุทธะอิสระ' ย้ำให้ผ่อนคลายเมื่อคนใช้บริการคนพาลย่อมเตรียมรับมือไว้แล้ว!
นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือพุทธะอิสระ ผู้ก่อตั้งวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม
'สันธนะ' ซดแห้ว! 'ทวี' ยัน 'สุนทร' ไม่สามารถออกเรือนจำ มาแถลงข่าวปม 'สจ.โต้ง' ได้
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (รมว.ยธ.) เปิดเผยกรณี นายสันธนะ ประยูรรัตน์ อดีตตำรวจสันติบาล จะยื่นหนังสือถึงกระทรวงยุติธรรมขอให้ นายสุนทร วิลาวัลย์ หรือ โกทร ผู้ต้องหาในคดีการเสียชีวิตของ นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ หรือ สจ.โต้ง
'ทวี' ยันเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่สะท้านปมถูกสอบเอื้อป่วยทิพย์ชั้น14
'ทวี' เผย จนท.ราชทัณฑ์ทุกคนไม่หวั่นไหวปมเอื้อ 'ทักษิณ'ป่วยทิพย์ ยังไม่ตั้งกรรมการสอบต้องรอ ป.ป.ช.ชี้มูลก่อน
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
'ทวี' เผยเงื่อนไข 'คุมขังนอกเรือนจำ' ต้องไม่หลบหนี-ได้รับอภิสิทธิ์อย่างอื่น
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงการรับฟังความเห็นระเบียบว่าด้วยการคุมขังนอกเรือนจำที่แล้วเสร็จไปเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ว่า ต้องดูว่าหลังจากนี้มีคนเห็นด้วยหรือเ