‘คนไร้บ้าน’ เพิ่มโอกาสคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้

คนไร้บ้านหน้าใหม่มีเพิ่มขึ้น ทั้งจากสถานการณ์เศรษฐกิจ การไร้ที่อยู่อาศัย ชุมชนที่ถูกขับไล่จากการพัฒนาที่ดินหรือการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเติบโตของเมือง แม้กระทั่งคนถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง อาชีพไม่มั่นคง รายได้น้อย รวมถึงพอใจอยากมีชีวิตที่อิสระ หลากหลายเหตุผลของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ที่เรียกว่า “คนไร้บ้าน”

เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ มีคนไร้บ้านไม่น้อยกว่า 1,800 คน ขณะที่คนไร้บ้านทั่วประเทศประมาณ 3,500-4,000 คน  แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามแก้ปัญหาให้กลุ่มเปราะบางนี้ด้วยการจัดสถานที่สงเคราะห์ เป็นที่อยู่อาศัยทดแทนบ้าน แต่ด้วยคนไร้บ้านมีจำนวนมากเกินการรองรับ และอาจไม่ได้เป็นหนทางในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน จำเป็นต้องทราบความต้องการที่แท้จริงของคนไร้บ้านคนไร้ที่พึ่ง เพื่อหาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

มีความพยายามผลักดันแก้ปัญหาคนไร้บ้านเชิงรุกผ่าน โครงการแจงนับคนไร้บ้าน (One Night Count) เป็นความร่วมมือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) และภาคีเครือข่าย อาทิ กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย และมูลนิธิอิสรชน เพื่อสำรวจสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มคนเร่ร่อนหรือคนไร้บ้าน 77 จังหวัดทั่วประเทศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  อีกทั้งสำรวจจำนวนคนไร้บ้านสำหรับนำมาใช้คาดการณ์ทางสถิติ ประชากร นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาบริการของรัฐ ตลอดจนนโยบายของรัฐที่เท่าทันสถานการณ์ปัญหา ป้องกันการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านของกลุ่มเปราะบาง  โดยมอบหมายให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 77 จังหวัด และเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ลงพื้นที่แจงนับภายใน 1 คืน

สำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนคนไร้บ้านทั่วประเทศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายที่รับบริการภายในหน่วยงานสังกัด พม. ปัจจุบัน มี 5,083 คน และกลุ่มเป้าหมายคนไร้ที่พึ่งภายนอกหน่วยงานสังกัด พม. ที่ให้บริการอีกกว่า 21,239 ราย ซึ่งเป็นคนไร้บ้านกว่า 2,462 ราย และอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมืองที่เจริญที่สุดกว่า 1,761 ราย

นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัด พม.  กล่าวว่า พม. ให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งหรือคนไร้บ้านอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ แต่ พม. เพียงหน่วยงานเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกมิติ เพราะคนไร้ที่พึ่งหรือคนไร้บ้านเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมและการเสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการนี้มีเป้าหมายร่วมกันในออกแบบระบบการคุ้มครองดูแล และจัดบริการสวัสดิการสังคมอย่างตรงจุด มีศักยภาพในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย และอาชีพ ตลอดจนส่งผลให้คนไร้บ้านสามารถเข้าถึงสวัสดิการและสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างยั่งยืน

ด้าน รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผอ.สถาบันเอเชียศึกษากล่าวว่า การแจงนับคนไร้บ้านครั้งใหม่นี้จะเป็นทั้งการนับจำนวนและเก็บข้อมูลทางประชากรเบื้องต้นของคนไร้บ้านทั้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะและในสถานพักพิงที่รัฐหรือเอกชนจัดให้ป้องกันปัญหาการนับซ้ำ และสามารถกำหนดนิยามคนไร้บ้านให้ครอบคลุมมิติทางวิชาการและมิติทางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับบริบทของคนไร้บ้านในสังคมไทย สู่การพัฒนารูปแบบบริการ นวัตกรรมที่ตรงความต้องการคนเร่ร่อนไร้บ้าน

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ความเปราะบางที่นำมาสู่การเป็นคนไร้บ้าน คือ เศรษฐกิจและครอบครัว จากการศึกษาโอกาสเกิดคนไร้บ้านหน้าใหม่เกี่ยวข้องทั้งรายได้ รัฐสวัสดิการ พฤติกรรมการดื่ม ความพิการ การอยู่ในภาวะไร้บ้านเป็นเวลานาน ส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาวะทางจิต

“ สถานการณ์สุขภาพคนไร้บ้าน พบสูบบุหรี่สูงถึง 55% ดื่มสุรา 41% แต่ผู้เข้ารับบริการศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน กลับมีอายุเฉลี่ยสูงกว่าคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ แสดงให้เห็นว่า นโยบายที่อยู่อาศัยมีความสำคัญ  สสส. ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย พัฒนาโครงการ “ที่อยู่อาศัยคนละครึ่ง” สสส. สนับสนุน 60 % คนไร้บ้านสมทบ 60 %  ในอัตราค่าเช่า 1,700 – 2,200 บาท/เดือน โมเดลนี้ต่อยอดโครงการนำร่อง “บ้านสวัสดิการที่อยู่อาศัยคนจนเมือง” ปรับพื้นที่ตึกร้าง ให้เป็นที่อยู่อาศัยราคาถูก โดย พม. และกทม. อยู่ระหว่างการศึกษาให้คนไร้บ้าน หรือคนที่อยู่ในภาวะก้ำกึ่งต่อการไร้บ้าน สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเสี่ยงจากภาวะไร้บ้านถาวร คนไร้บ้านต้องตั้งหลักชีวิตได้ “ ดร.สุปรีดา เผย

จากการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผศ.ดร.พีระ ตั้งธรรมรักษ์ และ ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์  พบว่า โอกาสในการกลายมาเป็นคนไร้บ้านของกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มเสี่ยง เกิดคนไร้บ้านหน้าใหม่ นั้น  ผู้หญิงมีโอกาสกลายมาเป็นคนไร้บ้านน้อยกว่าผู้ชาย 1.79 % ถ้ามีรายได้เพิ่มขึ้น 1,000 บาทต่อเดือน โอกาสในการกลายมาเป็นคนไร้บ้านลดลง 4%   หากดื่มเหล้าจะมีโอกาสกลายมาเป็นคนไร้บ้านโอกาสเพิ่มขึ้น 1.08 %

 ถ้ามีความพิการจะมีโอกาสกลายมาเป็นคนไร้บ้านโอกาสเพิ่มขึ้น 1.82 %   หากได้รับเบี้ยยังชีพคนชราหรือคนพิการโอกาสในการกลายมาเป็นคนไร้บ้านลดลง 1.41 % หากมีสิทธิในการรักษาพยาบาล เช่น สิทธิบัตรทอง โอกาสในการกลายมาเป็นคนไร้บ้านลดลง 4.86 %

ความพยายามบรรเทาปัญหาคนไร้บ้าน มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ภาคีเครือข่าย และ สสส. ผลักดันผ่าน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงทางอาหาร จัดทำครัวกลาง จำหน่ายอาหารราคาถูก ,ด้านที่อยู่อาศัย พัฒนาศูนย์พักคนไร้บ้านใน 4 พื้นที่ กรุงเทพฯ ปทุมธานี เชียงใหม่ และขอนแก่น ให้มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพรายบุคคลให้ตั้งหลักชีวิตได้ มีความสามารถในการอยู่ร่วมกับคนอื่น และประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ ได้ 

ด้านบริการสาธารณสุข สนับสนุนเวชภัณฑ์ที่จำเป็นการรับรองสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ , การจัดตั้งจุดประสานงานเพื่อช่วยเหลือคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบาง ดำเนินการติดตามคนไร้บ้านและช่วยเหลือให้ข้อมูลข่าวสารกับคนไร้บ้านในพื้นที่สาธารณะ และด้านการประกอบอาชีพเพื่อให้คนไร้บ้านสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และกลับคืนสู่ครอบครัวและชุมชน 

ถือเป็นการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไร้บ้านไม่ถดถอยลง อยู่ข้างถนนก็ยังอยู่ได้ด้วยการมีงานทำ มีมาตรการรองรับ หรือเพื่อให้โอกาสที่จะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน