เทศกาลวันวิสาขบูชา 2566

เดือนมิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้ มีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันวิสาขบูชา เป็นวันที่มีความอัศจรรย์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นถึง 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันเดียวกัน คือ วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 อีกทั้งวันวิสาขบูชายังได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติประกาศให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ

วันวิสาขบูชาในปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา กำหนดจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2566 ขึ้น ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยในส่วนกลาง ร่วมกับวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร และองค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2566 ประกอบด้วย พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 19 รูป พิธีเวียนเทียน และอัญเชิญผ้าห่มองค์พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ การสาธิตและสืบสานประเพณีการกวนข้าวทิพย์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยจากเครือข่ายศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การสาธิตและจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของดีชุมชนคุณธรรมและชุมชนโดยรอบวัดสระเกศ จำนวน 30 แห่ง กิจกรรม “ธรรม Talk Walk Rally” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 มงคล ภายในวัดฯ

นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ เชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมตอบปัญหาธรรมะ ผ่านทาง  Facebook กรมการศาสนา ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม ถึงวันที่  3 มิถุนายน 2566 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม “ธรรม Talk Walk Rally” และ “ตอบปัญหาธรรมะ” จะได้รับใบโพธิ์มหามงคลจากสถานที่ตรัสรู้ คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย

สำหรับส่วนภูมิภาค ได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด องค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา และหน่วยงานต่างๆ บูรณาการการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมมาส่งเสริมการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการสืบสานเทศกาล ประเพณี และวัฒนธรรม นำวิถีถิ่น วิถีไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละภูมิภาคมาจัดกิจกรรมบนฐานของการเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา

และในโอกาสวันสำคัญดังกล่าวนี้ กรมการศาสนาได้จัดทำคีตธรรมบทเพลงวันวิสาขบูชาอันสื่อถึงความสำคัญของวันดังกล่าว เพื่อสร้างการรับรู้ เชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่านให้ร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตามแบบวิถีชาวพุทธ นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ด้วยการสวดมนต์ รักษาศีล และเจริญจิตภาวนา ปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยพร้อมเพรียงกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นิพิฏฐ์ จี้ พนักงานสอบสวน - อัยการ ขอขมาพระราชาคณะ ปมคดีเงินทอน

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักกฎหมาย อดีตสส.จังหวัดพัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง อยากให้พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ ขอขมาพระราชาคณะ

ศน.ชวนแจ้งความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน 9 พระอาราม

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาตให้กระทรวง กรม หน่วยงานองค์กร คณะบุคคล และเอกชนที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน เพื่อน้อมนำไ

'นวราตรี' พื้นที่ของทุกศาสนา

หนึ่งปีมีครั้งเดียวเทศกาล “นวราตรี” ถือเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮินดูบูชาพระแม่อุมาเทวีจากความเชื่อตามตำนานที่พระแม่อุมาเทวีในร่างอวตารเป็นองค์ “พระแม่ทุรคา“ ปราบอสูรชื่อว่า “มหิษาสูร” ที่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วได้สำเร็จ หลังสู้รบกันมา 9 วัน 9 คืน

รุ่นใหม่วัยเยาว์ 5 ศาสนา ท่อง'กะดีจีน'

ชุมชนกะดีจีนหรือชุมชนกุฎีจีนถือเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความวัฒนธรรมและความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ย่านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกวัยและทุกศาสนา ในพื้นที่มีชุมชนและศาสนสถานแต่ละศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อส่งต่อเรื่องราวพหุวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่จาก 5 ศาสน

เปิดประเพณี'กวนอาซูรอ'ชายแดนใต้

ทุกศาสนาของโลก พุทธ คริสต์ อิสลาม สืบทอดมายาวนานจนทุกวันนี้ เพราะเปิดทางให้ผู้ศรัทธาและผู้สนใจศึกษาได้เรียนรู้และนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ศาสนาอิสลามในคัมภีร์อัลกุลอารหลักคำสอนให้คำนึงถึงการแบ่งปัน โดยมีการส่งต่อวัฒนธรรมทางศาสนา

เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ

หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก