ในอดีตถ้าไปเที่ยวภาคใต้ ไปฝั่งอ่าวไทย ก็จะมุ่งไปสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช หรือ หาดใหญ่ สงขลา จังหวัดพัทลุง ที่คั่นระหว่างสองจังหวัด เป็นแค่เมืองผ่านเท่านั้น ทั้งๆที่พัทลุง เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่แพ้เมืองอื่นๆในภาคใต้ และยังเป็นเมืองต้นกำเนิดหนังโนราและหนังตะลุง มีธรรมชาติเนินเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเล
ในวันนี้ พัทลุง ไม่เหงาอีกแล้ว เพราะได้รับการโปรโมทด้านการท่องเที่ยวอย่างดี ทำให้มีนักท่องเที่ยวอยากไปเที่ยวพัทลุงกันเป็นแถว แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ที่ถือว่าเป็นแรงดึงดูดของจังหวัดนั้นก็คือ ‘ทะเลน้อย” หากใครได้ไปสักครั้งจะประทับใจไม่ลืมแน่นอน ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าพัทลุง ไม่ได้น่าเที่ยวเพราะแรงโปรโมท แต่เป็นเพราะเนื้อแท้ธรรมชาติของจังหวัดอย่างแท้จริง
ทะเลน้อย-คลองปากประ อยู่ใน อ.ควนขนุน โดยคลองปากประเป็นคลองที่มีการไหลมาบรรจบกันของแม่น้ำหลายสาย แล้วไหลออกไปยังทะเลสาบสงขลา แหล่งน้ำแห่งนี้จึงมีความสำคัญกับคนในชุมชน ทั้งใช้ในการเกษตรและการประมง โดยบริเวณปากน้ำปากประยังชุกชุมไปด้วยปลานานาชนิด โดยเฉพาะปลาลูกแบร่ เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน จึงไม่แปลกที่ในปัจจุบัน จะยังพบเห็นชาวบ้านยังคงดำรงวิถีประมงพื้นบ้าน อย่าง การยกยอ เครื่องมือที่ใช้ในการจับปลาลูกแบร่ขนาดใหญ่ตั้งอยู่โดดเด่นริมคลองปากประ
จากคลองปากประ ยังสามารถล่องเรือเชื่อมไปยังทะเลน้อยได้ โดยทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืดมีเนื้อที่ผืนน้ำกว่า 17,000 ไร่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือ แรมซาร์ไซต์ (Ramsar site) แห่งแรกของประเทศไทย ที่นี่จึงมีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ ทั้งนาข้าว ป่าพรุ ทุ่งหญ้า ผักตบชวา กง กระจูดหนู และยังเป็นแหล่งบัวแดง หรือสัตว์ป่าที่อาศัย อย่าง นกน้ำกว่า 280 ชนิด มีทั้งนกที่ประจำถิ่นและนกอพยพมาจากที่อื่นตามฤดูกาล เช่น นกกาบบัว นกกุลา นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกาเล็กน้ำ นกแขวก นกเป็ดน้ำ นกกระทุง นกนางนวล นกกระเด็น นกกระสาแดง ฯลฯ จึงเป็นอีกแหล่งในการชมนกที่อยากแนะนำเลย
ไม่รอช้าเช้ามืดของวัน เราจึงหอบหิ้วความหวังที่จะไปชมความสวยงามที่ได้เกริ่นไปนั้นอย่างใจจดใจจ่อทีเดียว มาถึงที่ท่าลงเรือบ้านต้นลำพู ปากประ ส่วมใส่เสื้อชูชีพให้เรียบก็ลงเรือ ลุงกัปตันก็สตาร์ทเครื่องพาเรือมุ่งหน้าออกจากซอกเล็กๆ เมื่อเข้าสู่เวิ้งน้ำปากประสายตาเราเบิกกว้างทันที เพราะแสงแรกของวันค่อยฉาบลงบนพื้นน้ำและท้องฟ้าสีครามที่มืดครึ้มอยู่ครู่กลายเป็นสีทองส้มๆเปล่งประกายซ้อนแสงอยู่ในกลุ่มเมฆก้อนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้บดบังเอกลักษณ์ของยอกขนาดยักษ์ที่ตั้งเรียงรายโดดเด่นอยู่เหนือผิวน้ำ
ยอถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการจับปลา มีลักษณะการใช้ไม้ไผ่ผ่าเป็นซัก หรือไผ่ลำต้นเล็กๆ นำมาไขว้กันเป็นกากบาท ปลายทั้งสีผูกติดกับมุมของปลายแห่ ตรงกลางจะผูกติดกับคานไม้กยาวเพื่อใช้ในการยกยอขึ้นจากน้ำ หากเป็นยอขนาดใหญ่ก็จะมีการทำคันยอขึ้นเพื่อถ่วงน้ำหนักในการนำยอขึ้น อย่างที่เราได้เห็นชาวบ้านที่พายเรือมายกยอขึ้นก็จะเดินขึ้นไปบนคันยอเพื่อถ่วงน้ำหนักยอขึ้นมาดูว่ามีปลามาติดแหบ้างไหม ซึ่งบนยอก็มีการทำซุ้มเล็กๆไว้เป็นที่สำหรับนั่งพักด้วย
จากจุดชมยอเราแล่นจากคลองปากประไปต่อที่ทะเลน้อย ระหว่างสองข้างทางเราก็ได้สัมผัสต้นไม้น้อยใหญ่ในป่าพรุ เนินทุ่งหญ้าที่มีเหล่านกอีโก้ง เดินเล่นเฉิดฉายท่ามกลางแสงแดด นกกาบบัวที่ยืนอาบแดดบนตอไม้ นกกระสาแดง หรือเหยี่ยวแดงที่บินโฉบเฉี่ยวไปมา ไม่นานนักเรือก็แล่นเข้าสู่ทุ่งบัวแดงที่กำลังเบ่งบานทั่วผืนน้ำเปลี่ยนสีทะเลน้อยเป็นสีชมพูเข้ม ตัดกับสีเขียวของทุ่งหน้า และทิวเขาบรรทัดและเขาอกทะลุที่ซ้อนทับกันอยู่ไกลๆอีก เป็นวิวที่ธรรมชาติรังสรรค์ได้อย่างสวยงามทีเดียว โดยช่วงเวลาบัวบานจะเริ่มตั้งแต่ปลายมีนาคม-พฤศจิกายน แต่ถ้าให้ดีมีช่วงต้นเมษายน-พฤษภาคม กำลังดีนะเพราะเป็นช่วงที่บัวกำลังเบ่งบานใหม่เลย จากมุมบนเรือเรายังเห็นสะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ฯ หรือ สะพานเอกชัย สะพานข้ามทะเลสาบที่ยาวที่สุดในไทยจากทะเลน้อย อ.ควนขนุน ไปสู่อ.ระโนด จ.สงขลา ไฮไลท์จากจุดชมวิวบนสะพานคือทิวทัศน์ของทะเลน้อย และควายน้ำ ที่ออกมาหากินหญ้าด้วย
ผ่อนคลายทำกิจกรรมเบาๆที่ ป่าสาคู ฟังดูแล้วเหมือนจะพาไปลุยในป่า จริงๆก็ก้ำกึ่ง แต่ที่นี่คือพื้นที่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ร้านอาหารและคาเฟ่ ซึ่งเป็นบ้านของปพิชญย นาคะวิโรจน์ เจ้าของป่าสาคู ด้วยพื้นที่ของบ้านที่มีป่าสาคูเดิมอยู่จึงได้นำสิ่งที่มีอยู่รอบตัวมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะ และเป็นพื้นที่ในการทำกิจกรรมของนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมย้อมผ้าจากคราม มะม่วง หรือมังคุด ซึ่งต้นสาคูนอกจากจะมีประโยชน์ในการนำไปทำแป้งสาคูแล้ว นำที่เหลือทิ้งจากกระบวนการทำแป้งสาคูยังสามารถนำมาหมักผ้า เพื่อให้ผ้าเปลี่ยนโทนสีได้อีกด้วย
ใครที่ชื่นชอบงานคราฟต์ ไม่ลืมแวะที่ศูนย์หัตถกรรมกระจูดวรรณี ที่ต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นเพียงเสือกระจูด นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าเกิดเป็นวิสาหกิจชุมชน ใส่ลวดลายการดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์ดั้งเดิม ผสมผสานความร่วมสมัย อย่างลายพระราชทานตัวขอ ลายตัวขอประยุกต์ ลายลูกแก้วประยุกต์ ลายลูกแก้วโบราณ ลายมโนราห์ ที่ได้นำสีสันลูกปัดของเครื่องแต่งกายมโนราห์มาทำเป็นลายกราฟิก เป็นต้น กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋า หรือเฟอร์นิเจอร์ ก็ได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างประเทศ
จุดหมายต่อไปมุ่งหน้าเข้าสู่อ.เมือง ชมวังเจ้าเมืองพัทลุง ก่อนเข้าวังมีตลาดน้ำลำปำ ให้แวะช้อป-ทานอาหารเช้า หรือจะเลือกซื้อผักท้องถิ่น ขนมชาวบ้านก็มีนะ ด้านในซอยก็จะมีร้านอาหารบ้านริมคลองติดกับริมน้ำลำปำ ที่มีอาหารให้เลือกทั้งตามสั่งและท้องถิ่น ทีเด็ดเลยคือขนมจีนน้ำแกง ทั้งแกงเผ็ด แกงกะทิ และแกงเขียวหวาน บอกเลยว่ารสถึงเครื่องแกงจัดจ้านมาก
จัดหนักทั้งอาหารคาวหวาน มีเรี่ยวแรงมาชมวังเจ้าเมืองพัทลุงกันต่อ โดยในบริเวณของวังเจ้าเมืองแบ่งเป็นวังเก่า และวังใหม่ โดยด้านหน้าจะเป็นที่ตั้งของวังเก่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 สถานที่ว่าราชการและบ้านพักของพระยาอภัยบริรักษ์(น้อย จันทโรจวงศ์) เจ้าเมืองพัทลุง ตั้งแต่ปี 2412-2431 ต่อมาเป็นมรดกตกทอดต่อไปยังหลวงศรีวรวัตร(พิณ จันทโรจวงศ์) เมื่อหมดยุคการปกครองด้วยระบบเจ้าเมือง ทางตระกูลจันทโรจวงศ์ จึงได้มอบให้แก่กรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล ซึ่งปัจจุบันวังเก่ามีการบูรณะเนื่องจากมีสภาพที่ทรุดโทรม แต่ยังคงรูปโครงสร้างเดิมไว้คือ เรือนไทยไม้ทั้งหลังมีลักษณะแฝดสามหลัง ยกใต้ถุนสูง จั่วขวางตะวัน ตัวเรือนหลังที่ 1 และหลังที่ 2 จะเป็นห้องนอน มีการตกแต่งให้สภาพคล้ายเดิม ผนังของบ้านรูปครอบครัวของพระยาอภัยบริรักษ์ และสภาพวังเก่าในอดีตให้ได้ชม ส่วนชานด้านนอกจัดเป็นที่ว่าราชการ เชื่อมจากตัวชานคือเรือนครัว
ส่วนด้านหลังวังเก่าคือ วังใหม่ตั้งอยู่ติดกับคลองลำปำ สร้างขึ้นภายหลังจากจาหที่หลวงจักรานุชิต(เนตร จันทโรจวงศ์) บุตรชายของพระยาอภัยบริรักษ์ ได้เป็นเจ้าเมืองพัทลุงต่อจากบิดา และได้เลื่อนขึ้นเป็นจางวางที่ปรึกษาราชการเมืองพัทลุง จึงได้มีการสร้างวังใหม่แห่งนี้ขึ้น โดยรูปแบบวังยังคงเป็นลักษณะเรือนไทย แต่ต่างจากวังเก่าด้วยลักษณะตัวเรือนเป็นก่ออิฐถือปูน ยกพื้นสูงล้อมรอบชานบ้านที่อยู่ตรงกลางเป็นลานทรายก่อด้วยกำแพงอิฐกั้นทรายไว้เพื่อยกระดับลานทรายให้สูงกว่าพื้นธรรมดา ประกอบด้วย 5 หลัง มีเรือนที่พักเจ้าเมือง พร้อมภรรยาเอกและบุตร ลักษณะเป็นเรือนแฝด 2 หลัง ภายในเรือนแฝดมีห้องนอนหลายห้อง ล้อมรอบลานบ้านมีเรือนอีก 3 หลัง ขนาดเล็กใช้เป็นที่อยู่ของอนุภรรยาและบุตร ริมน้ำจัดเป็นสวนและศาลาร่มรื่น มีเรือพัทลุงเก่าที่เคยใช้อดีตจอดเทียบท่าอยู่ สันนิษฐานว่าใช้เป็นเรือในการส่งเอกสารและติดต่อราชการ ตัวเรือมีลักษณะท้องแบน เป็นเก๋งชั้นครึ่ง มีชั้นดาดฟ้า และพักในเรือ 1 ห้อง ว่าแล้วก็นั่งรับลมที่ศาลาริมน้ำสักพัก ได้มองวิวฝั่งคลองไปเพลินๆ
ใครที่กำลังเลว่าจะมาเที่ยวที่พัทลุงนั้นจะคุ้มไหม ส่วนตัวบอกเลยว่าเกินคำว่าคุ้ม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองความชื่นชอบและสไตล์การเที่ยวของอต่ละคนด้วย แต่หากอยากหาประสบการณ์เที่ยใหม่ๆ พัทลุงก็เป็นตัวเลือกที่ดีเลย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โจรลักข้าวสาร' หน้ามืดเป็นลมหลังถูกตำรวจตามจับถึงบ้าน
พ.ต.ท.ยศพณศ์ รุ่งสวัสดิ์ ผบ.ร้อย ตชด.434 พัทลุง ชุดช้างศึกสองเล กองร้อย ตชด.434 พัทลุง นำหมายจับของศาลจังหวัดพัทลุง ซึ่งออก
พัทลุงผวาน้ำมาอีกระลอก 'ท้องถิ่น' เร่งดูแลชาวบ้าน
เทศบาลเบตงอาคารทรุด รถยนต์เสียหาย 7 คันรวด ขณะที่ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่พัทลุง เร่งช่วยเหลือชาวบ้านแจากจ่ายข้าวสาร - อาหารอุปโภค ทุกครอบครัว
พัทลุงผุดศูนย์ฉุกเฉินป้องกันวาตภัย อุทกภัยและดินถล่ม จับตาพื้นที่ 'เทือกเขาบรรทัด'
ทหารพัฒนาภาค 4 ร่วม จ.พัทลุง รับมืออุทกภัยซ้ำซาก วาตภัย ดินถล่ม เริ่มปลายเดือนตุลาคม-มกราคม จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม พร้อมเฝ้าระวังพื้นที่ติดเทือกเขาบรรทัด
TED FUND กระทรวง อว.ลงพื้นที่ติดตามภารกิจผู้ประกอบการที่ขอรับทุน TED Youth Startup โชว์ผลงานบริหารจัดการน้ำผ่านโครงการ 'H.A.G System ระบบควบคุมประตูน้ำไฮดรอลิก' ที่โครงการชลประทานฝายพญาโฮ้ง ต.ชะรัด อ.กงกรา จ.พัทลุง เผยควบคุมระบบผ่าน Smart Phone พร้อมแจ้งเตือนสถานะแบบ Real time ผ่าน LINE เมื่อมีกรณีฉุกเฉิน
น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation-Based Enterprise Development Fund) หรือ TED FUND กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ลงพื้นที่โครงการชลประทานฝายพญาโฮ้ง ต.ชะรัด อ.กงกรา จ.พัทลุง