จังหวัดลำพูนมีประเพณีที่โดดเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เชื่อมโยงกับมิติศาสนา อย่างประเพณีตักบาตรผักและผลไม้ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา เดินหน้านโยบาย “นำธรรมะสู่ใจประชาชน” ด้วยการจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมสวนะ “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน” เพื่อส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าวัดทำบุญเป็นประจำทั้งในวันพระและวันธรรมดาเพิ่มมากขึ้น เสริมสร้างความอบอุ่นและความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวผ่านการทำกิจกรรมร่วมกันในวันพระ สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่นำสินค้าวัฒนธรรมของชุมชนมาจัดจำหน่าย อาทิ อาหาร เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
อธิบดี ศน. กล่าวต่อว่า กรมการศาสนาจัดกิจกรรมดังกล่าวนำร่อง ในส่วนกลางช่วงเดือนมกราคมที่ผ่าน ณ วัดบำเพ็ญเหนือ กรุงเทพมหานคร และขยายผลไปยังส่วนภูมิภาค ในวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2566 ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดเครือข่ายศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (ศพอ.) และโครงการพลังบวรในมิติศาสนาของกรมการศาสนา ชุมชนบ้านห้วยต้มเป็นชุมชนที่มีชาวกะเหรี่ยงพักอาศัยอยู่ ซึ่งเรียกตัวเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านห้วยต้ม โดยครูบาชัยวงศาพัฒนา หรือครูบาวงศ์ได้อนุญาตให้มาตั้งถิ่นฐานบริเวณรอบวัดจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ด้วยความศรัทธาในวัตรปฏิบัติของครูบาวงศ์ จึงได้นับถือพระพุทธศาสนาและถือมังสวิรัติตามคำสอนของครูบาวงศ์ สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากชุมชนบ้านห้วยต้มเป็นชุมชนเกษตรกรรมและถือมังสวิรัติ จึงก่อให้เกิดจารีตประเพณีการทำบุญตักบาตรด้วยผักและผลไม้ จนกลายเป็นจารีตประเพณีที่โดดเด่นของจังหวัดลำพูน
” ทุกวันธรรมสวนะ หรือ วันพระ จะถือเป็นวันหยุดของชุมชน คนในชุมชนจะพาครอบครัวเข้าวัดปฏิบัติธรรม ในตอนเช้าจะหุงหาอาหารนำไปถวายเป็นภัตตาหารแด่พระสงฆ์ แล้วจึงกลับบ้านไปทานอาหารพร้อมทั้งเก็บผักและผลไม้ที่ปลูกในสวน ไร่ นา บริเวณบ้าน นำไปตักบาตรผัก ผลไม้ ถวายแด่พระสงฆ์ในช่วงเพล เพื่อให้ทางวัดนำไปปรุงเป็นภัตตาหารถวายแด่พระสงฆ์สามเณรในวันต่อไป และวัตรปฏิบัติของชาวบ้านชุมชนมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า จึงเดินถอดรองเท้า ตั้งแต่ทางเข้าวัด และกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด ทุกวันพระภายในวัดจะมีตลาดชุมชนเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เป็นการสร้างรายได้เสริมให้คนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง ” นายชัยพล กล่าว
วัดพระพุทธบาทห้วยต้มถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนห้วยต้ม แต่เดิมเป็นวัดร้างเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ตามความเชื่อครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับรอยพระบาทไว้เป็นที่จารึก จากนั้นจึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “ห้วยต้มข้าว” แล้วจึงเพี้ยนมาเป็น “ห้วยต้ม” ต่อมาครูบาวงศ์และพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันบูรณะและก่อสร้างศาสนสถานจนกลายเป็นวัดพระพุทธบาทห้วยต้มจนถึงปัจจุบัน
สำหรับโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมสวนะ “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน”นายชัยพลระบุดำเนินการไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์ ทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม ที่วัดและแหล่งศาสนสถานและวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม อาทิ ทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว บริเวณท่าเรือวัดติโลกอาราม ริมกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา แต่งไทยใส่บาตร ปูสาด ริมโขงจังหวัดมุกดาหาร นุ่งผ้าไทย ใส่บาตร ริมโขง จังหวัดหนองคาย เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการทำบุญ ฟังเทศน์ และปฏิบัติเจริญจิตภาวนา ยังเป็นสนับสนุนให้ชุมชนคุณธรรม และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์รอบวัดและแหล่งวัฒนธรรม ได้จัดชุดภัตตาหารสุขภาพใส่บาตรสำหรับพระสงฆ์ เพื่อบริการให้กับนักท่องเที่ยวโดยขอความร่วมมือของผู้ประกอบการโรงแรมที่พัก เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจากทุนทางศาสนาและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศน.ชวนแจ้งความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน 9 พระอาราม
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาตให้กระทรวง กรม หน่วยงานองค์กร คณะบุคคล และเอกชนที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน เพื่อน้อมนำไ
'นวราตรี' พื้นที่ของทุกศาสนา
หนึ่งปีมีครั้งเดียวเทศกาล “นวราตรี” ถือเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮินดูบูชาพระแม่อุมาเทวีจากความเชื่อตามตำนานที่พระแม่อุมาเทวีในร่างอวตารเป็นองค์ “พระแม่ทุรคา“ ปราบอสูรชื่อว่า “มหิษาสูร” ที่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วได้สำเร็จ หลังสู้รบกันมา 9 วัน 9 คืน
สารภีท่วมหนักน้ำเริ่มเน่า! จนท.เร่งเครื่องสูบผันลงแม่น้ำกวง
นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากกรณีน้ำปิงเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่และพื้นที่อำเภอรอบนอกของเมืองเชียงใหม่
รุ่นใหม่วัยเยาว์ 5 ศาสนา ท่อง'กะดีจีน'
ชุมชนกะดีจีนหรือชุมชนกุฎีจีนถือเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความวัฒนธรรมและความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ย่านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกวัยและทุกศาสนา ในพื้นที่มีชุมชนและศาสนสถานแต่ละศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อส่งต่อเรื่องราวพหุวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่จาก 5 ศาสน
เปิดประเพณี'กวนอาซูรอ'ชายแดนใต้
ทุกศาสนาของโลก พุทธ คริสต์ อิสลาม สืบทอดมายาวนานจนทุกวันนี้ เพราะเปิดทางให้ผู้ศรัทธาและผู้สนใจศึกษาได้เรียนรู้และนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ศาสนาอิสลามในคัมภีร์อัลกุลอารหลักคำสอนให้คำนึงถึงการแบ่งปัน โดยมีการส่งต่อวัฒนธรรมทางศาสนา
เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ
หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก